ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่มวัยทำงานที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ในชุมชนแห่งหนึ่งเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ, กลุ่มวัยทำงาน, ความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของของกลุ่มวัยทำงานที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ในชุมชนแห่งหนึ่งเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรีและหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ ปัจจัยด้านการรับรู้อุปสรรค ปัจจัยด้านการรับรู้ความสามารถตนเองปัจจัยด้านอิทธิพลสถานการณ์และปัจจัยด้านอิทธิพลความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มวัยทำงานที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ในชุมชนหนึ่งเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 333 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล แบบสอบถามปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ปัจจัยด้านการรับรู้อุปสรรคปัจจัยด้านการรับรู้ความสามารถตนเอง ปัจจัยด้านอิทธิพลสถานการณ์ ปัจจัยด้านอิทธิพลความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และแบบสอบถามพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์ (Item-Congruence Index : IOC) อยู่ในช่วง 0.6-1.0วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบหาค่าความสัมพันธ์ โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนกลุ่มวัยทำงานที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ อยู่ในระดับปานกลาง (x̄ =2.40, S.D.=0.31) และ 2) ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ ปัจจัยด้านการรับรู้อุปสรรคปัจจัยด้านการรับรู้ความสามารถของตนเอง และปัจจัยด้านอิทธิพลสถานการณ์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 (r = 0.592, 0.238, 0.637 และ 0.666 ตามลำดับ) และยังพบว่า ปัจจัยด้านอิทธิพลความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ จากผลการศึกษาหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในชุมชนควรนำผลการศึกษาครั้งเข้าเป็นข้อมูลในการทำแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2555). สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข.รายงานผลสำเร็จของการดำเนินงานด้าน สุขภาพตามนโยบายสำคัญและยุทธศาสตร์ประจำปีงบประมาณ. นนทบุรี.สืบค้นจากhttp://www. ops.moph.go.th/ops/oic/data
กระทรวงสาธารณสุข. (2560). สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12. นนทบุรี. สืบค้นจาก http://www.ops.moph.go.th/ops/oic/data
กระทรวงสาธารณสุข. (2561). สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรคข้อมูล สถิติการตาย/ป่วย 2559-2561 (เบาหวาน).นนทบุรี. สืบค้นจาก http://www.thaincd.com › mission › documents
จักรกฤษณ์ สาราญใจ. (2551).การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย. สืบค้นจาก http://www.jakkrit.lpru.ac.th/pdf/27_11_44/9.pdf
ชัชลิต รัตรสาร. (2556). การระบาดของโรคเบาหวานและผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย.กรุงเทพมหานคร Novo Nordisk Pharma (Thailand) Ltd.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. นนทบุรี. ไทเนรมิตกิจอินเตอร์โปรแกรสซิฟ.
นฤมล หิรัญวัฒนะ. (2550). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพนายทหารประทวน สังกัดกองบัญชาการกองทัพบก.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,กรุงเทพฯ.
วิชัย เอกพลากร. (2557).รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557 สืบค้นจาก http://www.gearmag.info/record_ aug03.php
สมใจ จางวาง เทพกร พิทยภินัน และนิรชร ชูติพัฒนะ. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการ ดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยง วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(1),110-128.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยและคณะ. (2557). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน กรุงเทพฯ:ศรีเมืองการพิมพ์.
สายทิพย์ สารี. (2554). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ที่มีอาชีพค้าขายในมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
สุภาภรณ์ ตันตินันทตระกูล. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการสร้างเสริมสุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนของประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ: กรุงเทพฯ.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี. (2562). แบบรายงานการตรวจราชการระดับจังหวัด ปีงบประมาณ 2562 จังหวัดชลบุรี.ชลบุรี : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. (2561). ทะเบียนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานปีงบประมาณ 2560-2556.ชลบุรี :สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี.
Cronbach, LJ.(1951).Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests.Psychometrika, 16(3); 297-298.
National diabetes statistics report. (2017). Atlanta (GA): US Centers for Disease Control and Prevention. Department of Health and Human Services.
Pender, N, J. Murdaugh, C, L. & Parsons. (2006). Health Promotion in Nursing Practice. (4th ed.) New Jersey: Pearson Education.
Yamane, Taro. (1967). Statistics, An Introductory Analysis, 2nd Ed., New York: Harper and Row.886.