ความสัมพันธ์ระหว่างค่าคะแนนความเสี่ยงต่อการหกล้มด้วยแบบสอบถาม แบบประเมิน Time up and Go ต่อค่าความสมดุลของการลงน้ำหนักรยางค์ล่างในผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • นงนุช ล่วงพ้น คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

แบบประเมิน Morse Fall Scale, แบบประเมิน Fall Risk Assessment Tool, แบบประเมิน Time up and Go Test, ความสมดุลของการลงน้ำหนัก

บทคัดย่อ

        ปัจจุบันการประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้สูงอายุมีอยู่ 2 กลุ่มคือ เครื่องมือที่เป็นแบบสอบถาม และเครื่องมือที่วัดการทำงานหรือกิจกรรมการทำงาน ซึ่งสามารถนำมาประเมินระดับความเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้สูงอายุได้ในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่เคยมีการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างค่าความเสี่ยงต่อการหกล้มจากเครื่องมือที่เป็นแบบสอบถามและเครื่องมือที่วัดการทำงานหรือกิจกรรมการทำงาน รวมถึงการวัด ความสมดุลของลงน้ำหนักขาทั้งสองข้าง การศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าคะแนนความเสี่ยงต่อการหกล้มด้วยแบบประเมิน Morse Fall Scale (MFS) และแบบประเมิน Fall Risk Assessment Tool (FRAT) ต่อความสมดุลการลงน้ำหนักรยางค์ล่างในผู้สูงอายุในท่ายืนและ การวัดความเสี่ยงต่อการหกล้ม ที่วัดการทำงานด้วยแบบประเมิน Time up and Go Test (TUG) ผู้สูงอายุจำนวน 51 คน ได้เข้าร่วมการศึกษาในครั้งนี้ โดยทุกคนจะถูกประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้มด้วยแบบสอบถาม ประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้มด้วยแบบประเมิน TUG  หลังจากนั้นจะถูกประเมินความสมดุลการลงน้ำหนักขาทั้งสองข้างโดยเครื่องตรวจประเมินการทรงตัวและฝึกการทรงตัว ที่มีแผ่นวัดแรงปฏิกิริยาแบบคู่ (Dual forceplate) ที่อยู่ใต้ฐานสําหรับยืน (Platform) เพื่อบันทึกค่าจุดศูนย์กลางแรงกดที่เท่าและการกระจายการลงน้ำหนักของร่างกาย (Center of pressure; COP) ในวินาทีที่ 5, 10 และ 15 ผลการศึกษาพบว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างค่าคะแนนความเสี่ยงต่อการหกล้มเมื่อวัดด้วยแบบประเมิน MFS และแบบประเมิน FRAT กับ TUG ระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001, p < 0.001; ตามลำดับ) แต่ไม่พบความสัมพันธ์กับความสมดุลของการลงน้ำหนักรยางค์ในผู้สูงอายุ สรุปได้ว่าแบบประเมิน MFS และแบบประเมิน FRAT สามารถนำมาใช้ทดแทนแบบประเมิน TUG ได้ในระดับปานกลาง ดังนั้นการนำไปใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติควรใช้ร่วมกันทั้งแบบประเมินและ TUG เพื่อให้ครอบคลุมถึงกิจวัตรประจำวันด้านอื่นๆ ของผู้สูงอายุร่วมด้วย

References

แดนเนาวรัตน์ จามรจนทร์, จิตอนงค์ ก้าวกสิกรรม, สุจิตรา บุญหยง. (2548). โครงการการศึกษา เรื่อง การทรงตัวและหกล้มในผู้สูงอายุไทย (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

เพ็ญศรี เลาสวัสดิ์ชัยกุล, ยุพาพิน ศิริโพธิ์งาม, พรรณวดี พธวุฒนะ. (2543). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและผลจากการหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. 1(1), 16-23.

วิลาวรรณ สมตน. (2555). ผลของโปรแกรมป้องกันการหกล้มสำหรับผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม.

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. (2551). แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันประเมินภาะวหกล้มในผู้สูงอายุ. นนทบุรี: บริษัท ซีจี ทูล จำกัด.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2558). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

Cheng, P.T., Liaw, M.Y., Wong, M.K., Tang, F.T., Lee, M.Y. & Lin, P.S. (2001). Symmetrical body weight distribution training in stroke patients and its effect on fall prevention. Archives of Physical Medicine and Rehabilitation. 82(12), 1650-1654.

Dianne P., Sandra R., (1991). The timed "Up & Go": a test of basic functional mobility for frail elderly persons. Journal of the American Geriatrics Society. 39(2), 142-148.

Gehlsen, G.M. & Whaley M.H., (1990). Falls in the elderly: Part II, balance, strength and flexibility. Archives of Physical Medicine and Rehabilitation. 71(10), 739-741.

Hendrich, A. (2013). Fall Risk Assessment for Older Adults: The Hendrich II Fall Risk Model. The American Journal of Nursing. 107(11), 1-2.

Jitapunkul, S., Kunanusont, C., Phoolcharoen, W., & Suriyawongpaisal, P. (2001). Prevalence estimation of dementia among Thai elderly: a national survey. Journal of the Medical Association of Thailand. 84(4), 461-467.

Kisner, C. & Colby, L.A. (1990). Therapeutic exercise. United States of American: F.A. Davis Company.

Lord, S.R., Sherrington, C., Menz, H.B. & Close, J.C.T. (2007). Falls in older people: Risk factors and strategies for prevention 2. Cambridge: Cambridge University Press.

Morse, J.M. (2006). The modified Morse Fall Scale. International Journal of Nursing Practice. 12(3), 174-175.

Perell, K.L., Nelson, A., Goldman, R.L., Luther, S.L., Prieto-Lewis, N. & Rubenstein, L.Z. (2001). Fall risk assessment measures: An analytic review. The journals of gerontology. Series A, Biological Sciences and Medical Sciences. 56(12), 761-766.

Podsiadlo, D. & Richardson, S. (1991). The timed “Up & Go”: a test of basic functional mobility for frail elderly persons. Journal of the American Geriatrics Society. 39(2), 142-148.

Rubenstein, L.Z. (2006). Falls in older people: Epidemiology, risk factors and strategies for prevention. Age and Aging. 35(Suppl 2), 37-41.

Sardo, P.M., Simões, C.S., Alvarelhão, J.J., Simões, J.F. & Melo, E.M. (2016). Fall risk assessment: retrospective analysis of Morse Fall Scores in Portuguese hospitalized adult patient. Applied Nursing Research. 31(3), 34-40.

Susan, K.Y.C., Claudia, K.Y.L., Thomas, K.S.W., Lorna, K.P.S., Sarah, K.F.K., Chi, K.C. and Ivan, Y.C.W, (2007). Evaluation of the Morse Fall Scale: Application ability in Chinese hospital populations. International Journal of Nursing Sciences. 44(4), 556-565.

Todd, C. & Skelton, D. (2004). What are the main risk factors for falls among older people and what are the most effective interventions to prevent these falls? Copenhagen, WHO Regional Office for Europe. Health Evidence Network report; [cited 2018 October 2]. Retived from: http://www.euro.who.int/document/E82552.pdf

Tremblay, J. & Barber, C. (2005). Preventing falls in the elderly. Human Development Family Studies. 10(242), 54-60.

Wannaporn Boonpleng, Wadeerat Sriwongwan, Pattana Sattawatcharawanij, (2015). Rate and Associated Factors for Falls among Elderly People: Chaopraya Waterfront Community in Nonthaburi Province. Journal of Nursing Sciences. 33(3): 74-86.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-04