การดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาสำหรับหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

ผู้แต่ง

  • สุจิรา อุ่นศิริ นิสิตหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การจัดการศึกษา, คุณภาพการจัดการศึกษา, การดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาสำหรับหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ประชากรที่ศึกษาเป็นผู้บริหารและอาจารย์พยาบาลของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 5 แห่ง จำนวน 224 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถามซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .80 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .91 วิเคราะห์ข้อมูลวิจัยด้วยสถิติความถี่ และร้อยละ

          ผลการวิจัย พบว่ามีการดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาสำหรับหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตจำแนกตามองค์ประกอบ ดังนี้ (1) ด้านการกำกับมาตรฐาน ส่วนใหญ่พัฒนาการจัดการศึกษา โดยการรับสมัครอาจารย์พยาบาลวุฒิปริญญาเอกที่ตรงสาขาวิชาชีพ มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 98.6 (2) ด้านบัณฑิตมีการจัดโครงการติวพิเศษทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติก่อนที่บัณฑิตจะสำเร็จการศึกษา โดยอาจารย์จากทุกภาควิชามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 97.8 (3) ด้านนักศึกษา มีการดำเนินการแก้ไขปัญหา ผลการประเมินเกี่ยวกับนักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนความรู้ของรายวิชาให้นักศึกษาก่อนสอบมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 97.1 และ (4) ด้านอาจารย์ มีการพัฒนาการจัดการศึกษาโดยการปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์หรือแผนปฏิบัติการประจำปี และนำผลการประเมินความพึงพอใจและข้อเสนอแนะของอาจารย์ที่มีต่อการบริหารหลักสูตรไปใช้ปรับปรุงการบริหารจัดการหลักสูตรอย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 97.1

References

คัชนรินทร์ ตยาคี. (2559). ความพร้อมของพยาบาลสู่ความเป็นเลิศระดับสากลในองค์การพยาบาลโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลตำรวจ, 8 (2),114-115.

จินตนา ยูนิพันธุ์. (2527). การเรียนการสอนทางพยาบาลศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาพยาบาลศาสตร์คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงนภัทร รุ่งเนย. (2559). ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนาความรู้ของนักศึกษาพยาบาลเพื่อสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาล. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 26(3), 170-181.

บุญญาภา โพธิ์เกษม. (2558). อาจารย์พยาบาลกับความสุขในการทำงาน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(1), 13-24.

ปิยวัฒน์ ตันถา. (2559). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียนเอกชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา,ชลบุรี.

เพชรรุ่ง เพชรประดับ, วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล และ มุกดา หนุ่ยศรี. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการจัดการภาวะขาดแคลนพยาบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลของรัฐ เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 15. ใน สิริวรรณ ศรีพหล (บ.ก.) การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช ครั้งที่ 4 (หน้า 1-10). กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย

มณีรัตน์ ภาคธูป (2561). การขาดแคลนและการคงอยู่ของอาจารย์พยาบาลในสถาบันการศึกษา.วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 11(3), 1-9.

ยุวดี วัฒนานนท์. (2557). ปัจจัยทำนายผลการสอบความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์ของบัณฑิตประจำปี พ.ศ. 2555-2556, วารสารพยาบาลศาสตร์, 32(4), 63-69.

วิจิตร ศรีสุพรรณ. (2554). ข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาการขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย. วารสารการพยาบาล, 27(1), 5-12.

วิภาดา คุณาวิกติกุล เรมวล นันท์ศุภวัฒน์ กิ่งแก้ว แก้วเจริญ และอนงค์ วนากมล (2542). การพัฒนาระบบการจัดการด้านคุณภาพการพยาบาล. (รายงานผลการวิจัย).เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศุภิสรา สุวรรณชาติ. (2555). ปัญหาและความต้องการด้านการเรียนของนักศึกษาโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 18(2), 20-31.

สถาพร ถาวรอธิวาสน์. (2556). การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

สภาการพยาบาล. (2561). สถาบันการศึกษาและหลักสูตรที่ทำการสอนวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ที่ได้รับการรับรองสถาบันจากสภาการพยาบาล ผู้สำเร็จการศึกษามีสิทธิ์สมัครสอบเพื่อขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (สถาบันที่มีผู้สำเร็จการศึกษาแล้ว). สืบค้นจาก https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/1_1(10).pdf

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

อรุณรัตน์ คันธา. (2557). ผลกระทบและทางออกของการขาดแคลนกำลังคนทางการพยาบาลในประเทศไทย. วารสารพยาบาลศาสตร์, 32(1), 81-90.

Bessie LM, Carol JH. (2012). Leadership roles and management functions in nursing theory and application. 7th ed.Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins;2012. p.402-19.

Ellis, R., & Whittington, D. (1993) Quality Assurance in Health Care : a Handbook. London : Edward Arnold.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-16