แบบประเมินพัฒนาการในเด็กปฐมวัย: เครื่องมือในการพยาบาล เพื่อสร้างเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย
คำสำคัญ:
แบบประเมินพัฒนาการเด็ก, เด็กปฐมวัย, การพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพบทคัดย่อ
แบบประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย เป็นเครื่องมือทางจิตวิทยาพัฒนาการที่ช่วยให้พยาบาลทำความเข้าใจถึงพัฒนาการเด็กโดยมีมาตรวัดความสามารถในแต่ละด้านของพัฒนาการ เพื่อให้การสร้างเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยมีคุณภาพ พยาบาลควรตระหนักถึงคุณค่าการพัฒนาแบบประเมินพัฒนาการและแนวทางพื้นฐานการใช้แบบประเมินพัฒนาการให้ถูกต้อง พยาบาลมีโอกาสได้ใช้แบบประเมินพัฒนาการหลายชนิดที่ถูกพัฒนาปรับปรุง พยาบาลในฐานะผู้ริเริ่มการนำแบบประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย DDST มาใช้ในประเทศไทย ต่อมาแบบประเมิน DDST ได้พัฒนาเป็น DENVER II ในต่างประเทศและนักวิชาการไทยได้นำแบบประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย DENVER II มาใช้ในไทย จนกระทั่งถูกนำมาเป็นต้นแบบการพัฒนาและจัดทำแบบประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยสำหรับเด็กไทยโดยกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ แบบประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยอนามัย 49 และแบบประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยอนามัย 55 จนกระทั่งในปี 2558 กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำคู่มือประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กกลุ่มเสี่ยง Developmental Assessment for Intervention Manual (DAIM) และ คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย Developmental Surveillance and Promotion Manual (DSPM) คู่มือดังกล่าวเป็นการใช้แบบประเมินพัฒนาการเพื่อคัดกรองร่วมกับคำแนะนำเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการ ตลอดจนแนวทางการส่งต่อเพื่อการตรวจวินิจฉัย คำแนะนำเป็นระบบต่อเนื่อง มอบให้ผู้ปกครองได้ใช้ร่วมกับบุคลากรสาธารณสุขฉบับแรก คู่มือประเมินพัฒนาการและส่งเสริมพัฒนาการทั้งสอง เป็นเครื่องมือในการพยาบาลเพื่อสร้างเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยที่ดี เพราะผ่านการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง
References
นิตยา คชภักดี และอรพิณ เลิสอวัสดาตระกูล. (2556). คู่มือการฝึกอบรม การทดสอบพัฒนาการเด็กปฐมวัย ฉบับแก้ไขปรับปรุง (ครั้งที่ 4). นครปฐม : โรงพิมพ์ Graphic One.
ลดาวัลย์ ประทีปชัยกูร. (2546). การพยาบาลเพื่อส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : บริษัทสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด.
พูลสุข สริยาภรณ์ วราภรณ์ ตั้งตรงไพโรจน์ และวัชราภรณ์ ภัสสาสุนทร. (2532). พัฒนาการเด็กของเดนเวอร์ (แปล). กรุงเทพฯ : เอช-เอนกการพิมพิ์.
ศิริพร กัญชนะ นิตยา คชภัคดี และคณะ. (2558). คู่มือประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กกลุ่มเสี่ยง. ราชบุรี : บริษัทจินดาสาส์น การพิมพิ์ จำกัด.
ศิริพร กัญชนะ นิตยา คชภัคดี และคณะ. (2558). คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย.ราชบุรี : บริษัทจินดาสาส์น การพิมพิ์ จำกัด.
สินศักดิ์ชนม์ อุ่นพรมมี. (2556). พัฒนาการสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ. โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก. นนทบุรี : สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
สุสารี ประดับกิจ และประภาพร แซ่เตียว. (2558). เอกสารประกอบการสอน เรื่อง พัฒนาการมนุษย์และการสร้างเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสยาม.
Eileen, M. (1989). Infant MSEL Manual. Hawai: T.O.T.L. Child, Inc.
Frankenburg, WK., Dodds, J., Archer, P., et al.(1990). Denver II screening manual. Denver : Denver Developmental Materials Incorperated.
Wu, T. and Pender, N.L. (2002). Determinants of physical activity among Taiwaness adolesecents : An application of the Health Promotion Model. Research in Nursing and Health. 25(1), 25-36.