การศึกษาความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเรื่องพลังงานและโมเมนตัม โดยใช้แบบทดสอบความเข้าใจเรื่องพลังงานและโมเมนตัม

ผู้แต่ง

  • ชาญวิทย์ คำเจริญ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน, พลังงานและโมเมนตัม, แบบทดสอบมโนมติเรื่องพลังงาน, โมเมนตัม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเรื่องพลังงานและโมเมนตัมของ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งสิ้น 129 คน โดยใช้แบบทดสอบความเข้าใจเรื่องพลังงานและโมเมนตัม (Energy and Momentum Conceptual Survey; EMCS) ซึ่งแบบทดสอบ EMCS เป็นแบบทดสอบที่มีมาตรฐานและได้รับการยอมรับในวงกว้างในงานวิจัยทางฟิสิกส์ศึกษา (Physics Education Research; PER) ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเคยผ่านการเรียนวิชาฟิสิกส์พื้นฐานเรื่อง งาน พลังงาน และโมเมนตัม มาแล้ว การวิเคราะห์ผล ได้วิเคราะห์จากตัวเลือกของข้อคำถามที่นักเรียนตอบ โดยแบ่งกลุ่มคำถามออกเป็น 7 กลุ่มตามบริบทของเนื้อหาเรื่องพลังงานและโมเมนตัมคือ หลักการอนุรักษ์พลังงาน งานเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก งานที่เกิดจากแรงไม่อนุรักษ์ กฏอนุรักษ์โมเมนตัมของการชน การชนกันของวัตถุแบบยืดหยุ่นและไม่ยืดหยุ่น การเปลี่ยนแปลงโมเมนตัม และ โมเมนตัมเชิงเส้น จากการวิจัยพบว่ากลุ่มเป้าหมาย มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อขนาดของงานที่กระทำต่อวัตถุ  กฎการอนุรักษ์พลังงาน กฎการอนุรักษ์โมเมนตัมสำหรับการชนในแบบต่างๆ

References

นํ้าค้าง จันเสริม. (2551). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องงานและพลังงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 บนพื้นฐานของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ โดยใช้วิธี PREDICT-OBSERVE-EXPLAIN (POE). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ลลิตา สารสุวรรณและวิมล สำราญวานิช. (2557). ตัวแทนความคิดเรื่องงานและพลังงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย-สังเกต-อธิบาย. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 8(3), 155-163.

Bekele Gashe Dega. (2019). Cognitive Diagnostic Assessment of Students’ responses: An example from energy and momentum concepts. European J of Physics Education. 10(1), 13-23.

Diyanahesa, N.E., Kusairi, S. & Latifah E. (2017). Development of Misconception Diagnostic Test in Momentum and Impulse Using Isomorphic Problem. Journal of Physics: Theories and Applications. 1(2), 145-156.

Hammer, D. (1994). Epistemological beliefs in introductory physics. Cognition and Instruction. 12 (2), 151-183.

Mehmet, S. (2010). The impact of problem-based learning on engineering students’ beliefs about physics and conceptual understanding of energy and momentum. European Journal of Engineering Education. 35 (5), 519-537.

Redish, E.F., Saul, J.M. & Steinberg, R.N. (1998). Student expectation in introductory physics. American Journal of Physics. 66(3), 212-224.

Semih, D., Neşet D. & AyşeGül, S. (2015). Eleven grade students’ difficulties and misconception about energy and momentum concepts. International Journal on New Trends in Education and Their Implications. 6(1), 13-21.

Singh, C. & Rosengrant, D. (2003). Multiple-choice test of energy and momentum concepts. American journal of Physics. 71(6), 607-619.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-10-07