รูปแบบการสร้างแรงจูงใจของครูต่อการปฏิบัติงานในโรงเรียน สังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • แสงจันทร์ มิตรกูล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, รูปแบบการสร้างแรงจูงใจ, การปฏิบัติงานของครู

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างรูปแบบการสร้างแรงจูงใจของครูต่อการปฏิบัติงานในโรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย โดยใช้วิธีวิจัยการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอนได้แก่ (1) ศึกษาองค์ประกอบการสร้างแรงจูงใจ (2) สร้างรูปแบบการสร้างแรงจูงใจ (3) ประเมินรูปแบบการสร้างแรงจูงใจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย จำนวน 356 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ (1) แบบสอบถามความคิดเห็นและแบบสัมภาษณ์ เรื่องรูปแบบการสร้างแรงจูงใจของครูต่อการปฏิบัติงานในโรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย (2) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการสร้างแรงจูงใจของครูต่อการปฏิบัติงานในโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ค่าร้อยละและค่าดัชนีความต้องการจำเป็น  (PNI)

                        ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการสร้างแรงจูงใจของครูต่อการปฏิบัติงานในโรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย คือ รูปแบบ 2 (PAOR) Model ประกอบด้วย (1) บริบทของการสร้างแรงจูงใจของครูต่อการปฏิบัติงานในโรงเรียน (2) แนวทางการสร้างแรงจูงใจของครูต่อการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย (1) ขั้นวางแผน ประกอบด้วย Plan and Policy (2) ขั้นปฏิบัติการ ประกอบด้วย Action and Apply (3) ขั้นสังเกตการณ์ ประกอบด้วย Observe and Opportunity และ (4) ขั้นสะท้อนผล ประกอบด้วย Reflect and Reward ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการสร้างแรงจูงใจของครูต่อการปฏิบัติงานในโรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย โดยภาพรวมพบว่า มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ อยู่ที่ระดับ มากที่สุด  

References

วรรณพร พุทธภูมิพิทักษ์และกัญญามน อินหว่าง. (2558). การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหมู่บ้านไทย จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (1), 42-51.

วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สภาคริสตจักรในประเทศ. (2561). ยุทธศาสตร์สภาคริสตจักรในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สภาคริสตจักรในประเทศไทย.

สภาคริสตจักรในประเทศ. (2561). รายงานพันธกิจการศึกษา. กรุงเทพฯ: สภาคริสตจักรในประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุรพงศ์ มิตรกูล. (2560). สรุปรายงานพันธกิจของสภาคริสตจักรในประเทศไทยระหว่างพฤษภาคม ค.ศ. 2016 เมษายน ค.ศ. 2017. ในการประชุมคณะกรรมการอํานวยการสภาคริสตจักร ในประเทศไทยสมัยสามัญ ครั้งที่ 2/2017 วันที่ 14-15 กันยายน พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ : สภาคริสตจักรในประเทศไทย

สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยการประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุกฤษฏ์ เฉลิมแสน. (ม.ป.ป.) สังคมวิทยาการศึกษา. Retrieved from https://islidedoc.org/view-doc.html? utm_source=document-8cXeh8W.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-26