ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของแบบจำลองการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ในจังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • รัตติยา พรมกัลป์ นิสิตหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, แบบจำลองการจัดการท่องเที่ยว, ชุมชนเชิงสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของแบบจำลองการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ในจังหวัดนครสวรรค์ และ 2. วิเคราะห์และตรวจสอบความสอดคล้องของแบบจำลองการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดนครสวรรค์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามแนวคิดของ Hair และคณะ จำนวน 470 คน จากประชาชนในหมู่บ้านเป้าหมายการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.981 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์
           ผลการวิจัยพบว่า
           1. ค่าสถิติ Bartlett's Test of Sphericity มีค่าทดสอบเท่ากับ 12093.43 (p = .000) แสดงว่า เมทริกซ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้ทั้งหมดของกลุ่มตัวอย่างแตกต่างจากเมทริกซ์เอกลักษณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และค่าดัชนีไกเซอร์-ไมเยอร์-ออลคิน (Kaiser-Meyer-Olkin Measure of Sampling Adequacy : KMO) มีค่าเท่ากับ .88 แสดงว่า ตัวแปรในข้อมูลชุดนี้มีความสัมพันธ์กันเหมาะสมที่จะนำไปวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง
           2. โมเดลแบบจำลองการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดนครสวรรค์ที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าไค-สแควร์ มีค่าเท่ากับ 47.86 องศาอิสระเท่ากับ 37 ความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ 0.109 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ 0.99 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) มีค่าเท่ากับ 0.95 ค่าดัชนีรากของกำลังสองเฉลี่ยของส่วนที่เหลือ (RMR) มีค่าเท่ากับ 0.013 ดังนั้นปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม ทรัพยากรการท่องเที่ยว การตลาด การบริหารจัดการตามหลักอิทธิบาท 4 มีความสัมพันธ์และส่งผลต่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์

References

กฤติยา สมศิลา และกนกกานต์ แก้วนุช. (2561). ปัจจัยการมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(1), 103-123.

เจนจิรา อักษรพิมพ์. (2560). กลยุทธ์การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบยั่งยืนในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(3) : 141-154.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2552). วิจัยและสถิติ: คำถามชวนตอบ. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นราวดี บัวขวัญ. (2556). รูปแบบการจัดการตลาดน้ำเพื่อการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม กรณีศึกษา ตลาดน้ำคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต) มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์, สงขลา.

ประพันธ์พงษ์ ชิณพงษ์. (2560). การศึกษารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่ส่งผลต่อการพัฒนามาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของจังหวัดในเขตภาคกลาง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(2), 100-114.

ผดุง วรรณทอง. อนันต์ ธรรมชาลัย และสานิต ศิริวิศิษฐ์กุล. (2561). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารองค์กรเอกชนในจังหวัดนนทบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(2), 99-110.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร และคณะ. (2557). เศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนา การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของถนนคนเดิน จังหวัดเชียงใหม่. (รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ.

วันชัย พวงเงิน และคณะ. (2560). การศึกษาทางเลือกที่เหมาะสมในการพัฒนาการท่องเที่ยว โดยเครือข่ายชุมชนริมยม ด้วยคุณค่าของมรดกวัฒนธรรมชุมชน ตำบลกงและตำบลบ้านกร่าง อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. (รายงานผลการวิจัย). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย: เทศบาลตำบลกงไกรลาศ อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย.

ศุภมาส แหวนวิเศษ และเจริญชัย เอกมาไพศาล. (2560). ปัจจัยแห่งความสำเร็จในกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชนต้นแบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาตำบลน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด. วารสารธรรมศาสตร์, 36(1), 69-95.

สำนักสถิติเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). การสำรวจพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของชาวไทย พ.ศ. 2560 ในรอบปี 2559. กรุงเทพมหานคร : สำนักสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สุดแดน วิสุทธิลักษณ์. (2558). องค์ความรู้ว่าด้วยการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: คู่มือและแนวทางปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อานนท์ สีดาเพ็ง. (2559). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬากอล์ฟโดยการประยุกต์ทฤษฎีการแลกเปลี่ยนทางสังคม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

Cochran. W. G. (1977). Sampling Techniques. (3th ed.). New York : John Wiley & Sons. Inc.

Hair. J. F., Black. W. C., Babin. B. J. & Anderson. R. E. (2010). Multivariate data analysis : A global perspective. (7th ed.). New Jersey: Pearson Education Inc.

Likert. Rensis. (1970). The Method of Constructing and Attitude Scale. Reading in Attitude Theory and Measurement. Fishbeic. Matin. (Ed). New York: Wiley & Son.

Pelasol. J. (2012). Igcabugao: A Potential Tourist Destination in the Southern Part of Iloilo. Philippines International. JPAIR Multidisciplinry Research is being certified for QMS ISO 9001, 8(March), 90-97. (Mimeographed).

Pike. Steven D. (2008). Destination Marketing : an integrated marketing communication approach. Massachusetts United States : Butterworth-Heinemann. Burlington.

Richards. G. (2011). Creativity and Tourism: The State of the Art. Annals of Tourism Research, 35(4), 1225-1253.

Ronna CT & Laurie C. (2003). Indexes of item-objective congruence for multidimensional items. Int J Test. 3(2): 163-171.

Tourism Western Australia. (2009). Five A’s of tourism. Australia : Tourism Western Australia.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-05