การรับรู้ประโยชน์ และอุปสรรค การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการกินเพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการและปลอดภัยของสตรีที่ อาศัยอยู่ในเมืองและนอกเมือง

ผู้แต่ง

  • อุมาพร ปุญญโสพรรณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

การรับรู้ประโยชน์, การรับรู้อุปสรรค, การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, การสนับสนุนทางสังคม, พฤติกรรมการกิน

บทคัดย่อ

         การวิจัยแบบพรรณนาเชิงเปรียบเทียบครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การสนับสนุนทางสังคมเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ และพฤติกรรมการกินเพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการและปลอดภัยในสตรีที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่หรือในเมืองและที่อำเภอหางดงหรือนอกเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 803 ราย อาศัยอยู่ในเมืองจำนวน 419 ราย และนอกเมืองจำนวน 384 ราย การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และการทดสอบทีแบบสองกลุ่มอิสระ ผลการวิจัยนี้พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่อาศัยในเขตเมือง รับรู้ประโยชน์ รับรู้อุปสรรคของพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ และมีพฤติกรรมการกินเพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการและปลอดภัยต่ำกว่ากลุ่มตัวอย่างนอกเมืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05  แต่ทั้งสองกลุ่มรับรู้สมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนทางสังคมเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการไม่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างส่วนมากทั้งที่อาศัยอยู่ในเมืองและนอกเมืองรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 64.9 และ 74.5  รับรู้สมรรถนะแห่งตนเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการระดับต่ำร้อยละ 75.2 และ 71.6 และมีพฤติกรรมการกินเพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการและปลอดภัยอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 69.9 และ 71.1 ตามลำดับ เกือบครึ่งของกลุ่มตัวอย่างทั้งกลุ่มที่อาศัยอยู่ในเมืองและนอกเมือง รับรู้อุปสรรคของพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 49.6 และ 47.7 และมีการสนับสนุนทางสังคมเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 55.4 และ 54.9 ตามลำดับ ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมการกินเพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการและปลอดภัยในสตรีที่อาศัยอยู่ในเมืองและนอกเมือง โดยส่งเสริมให้สตรีมีความเชื่อมั่นในการกินเพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการและปลอดภัยร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2561) สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2559. Retrived from http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/health_strategy2559.pdf.

น้ำเพชร หล่อตระกูล. (2543). การสนับสนุนทางสังคมเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). สืบค้นจาก http://search.lib.cmu.ac.th/search/?searchtype=.&searcharg=b1270521.

สุพัตรา ศรีวณิชชากร (2560). สถานการณ์การป่วยและการตายด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรคเบาหวานชนิดที่.2 และโรคหัวใจและหลอดเลือด) ในประเทศไทย ในระยะ 5 ปี (2553-2557). วารสารควบคุมโรค, 43(4), 379-390.

สุวรรณี โลนุช, มยุรี นิรัตธราดร, และศิริพร ขัมภลิขิต. (2554). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ด้านโภชนาการของสตรีตั้งครรภ์ อายุมากกว่า 35 ปี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 4(2), 79-93.

Aree, Tanphaichitr, Sutharangsri, & Kavanagh, (2004). Eating behaviors of elderly persons with hyperlipidemia in urban Chiang Mai. Nursing and Health Science, (6), 51-57.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H.Freeman. USA.

Hassan, H.C, & Poddar, S. (2017). Effect of self-efficacy and behavior changes in diet on health related quality of life among middle-aged women. Journal of Nutrition and Health, 3(1), 1-5.

House, J.S. (1981). Work, Stress and Social Support. Reading, MA: Addison-Wesley.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, (30), 607-610.

Pender, N. J. Murdaugh, C.L. & Parsons MA. (2006). Health Promotion in Nursing Practice.6th ed. Upper Saddle River (NJ): Pearson Education.

Reed, J. Reed, J., Yates, B., Houfek, J., Briner, W., Schmid, K.K., & Pullen, C. (2016). A Review of Barriers to Healthy Eating in Rural and Urban Adults. Online Journal of Rural Nursing and Health Care, 16(1), 122-153.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-03