หลักธรรมาภิบาลกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตามรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ.2560

ผู้แต่ง

  • ธัญลักษณ์ กาวิชา คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข

คำสำคัญ:

ธรรมาภิบาล, การมีส่วนร่วมของประชาชน, การจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อ

           การวางกรอบกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดีต้องมีความสอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อคุ้มครองและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม แต่ในช่วงเวลาที่ผ่านมาการทำงานเกี่ยวกับเรื่องนี้มีลักษณะที่แยกส่วน จึงทำให้การจัดการขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ไม่สามารถตอบสนองตรงตามความต้องการที่แท้จริงของประชาชนได้ ทั้งที่การจัดการสิ่งแวดล้อมควรเป็นการทำงานร่วมกันทั้งภาครัฐและภาคประชาชน ดังนั้นการที่รัฐธรรมนูญไทย พ.ศ.2560 ระบุให้การจัดการสิ่งแวดล้อมโดยใช้หลักธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วมของประชาชนให้เหมาะสมได้อย่างบูรณาการ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ความสามารถในการตรวจสอบได้ ผนวกเข้ากับความมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกขั้นตอน เช่น การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การวางแผน การออกแบบการจัดการ การประชาพิจารณ์ การลงทุน การตัดสินใจโดยมีส่วนร่วม เป็นต้น ทำให้เกิดการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการรับผิดชอบร่วมกันเฉพาะในท้องถิ่นของชุมชนนั้นๆ ในที่สุดการดำเนินการตามที่ระบุนี้จะทำให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกันอย่างสมดุลและยั่งยืนได้

References

เครือข่ายธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมประเทศไทย.หลักธรรมาภิบาลในการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม.[ออนไลน์].สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2560, จาก http://www.tei.or.th/tai/contact.html.

จุฑารัตน์ ชมพันธุ์. (2556). ธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการตัดสินใจในโครงการพัฒนา. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 9(1), 85-106.

เจมส์ แอล. เครย์ตัน. (2551). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน การตัดสินใจที่ดีกว่าโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม.(วันชัย วัฒนศัพท์, ถวิลวดี บุรีกุล และเมธิศา พงษ์ศักดิ์ศรี, ผู้แปล) ขอนแก่น: ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2552). พลวัตรการมีส่วนร่วมของประชาชน: จากอดีตจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ: เอ.พี.กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และถวิลวดี บุรีกุล. (2548). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy).กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

ปธาน สุวรรณมงคล. (2558). การบริหารงานภาครัฐกับการสร้างธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า. กรุงเทพฯ : แก่นจันทร์การพิมพ์ จำกัด.

ไพรัตน์ เดชะรินทร์. (2525). ทบทวนการพัฒนาชนบทไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ดีแอนด์เอส.

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). ว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 ความหมายของธรรมาภิบาล. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2560 จาก https://sites.google.com/site/khwayvthaymdtanxy/chiwit-kab-sangkhm-thiy.

ราชกิจจานุเบกษา.(2560).รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย.[ออนไลน์].สืบค้นเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2560, จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF.

ศูนย์ประสานงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ. (2558). คู่มือฉบับประชาชน เพื่อประสานงานการบังคับใช้ กฎหมายสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2545). รัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) . (2552). คู่มือการจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐ ตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance Rating). กรุงเทพฯ : พรีเมียร์โปร จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(กพร.). (2552). คู่มือคำอธิบายและแนวทางปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพฯ: สิรบุตรการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2560, จาก http://www.nesdb.go.th/main.php?filename=develop_issue.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและ สังคมที่ดี พ.ศ.2542 ความหมายของธรรมาภิบาล. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2560, จาก htpps://sites.google.com/sit/khwayvthaymdtanxy/chiwit-kab-sangkhm-thiy.

อรทัย ก๊กผล.(2552). คู่คิด คู่มือ การมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับผู้บริหารท้องถิ่น.กรุงเทพฯ: ส.เจริญ การพิมพ์.

Arnstein, S. R. (1969). Ladder of citizen participation. Journal of American Institute of Planners, (35), 216-224.

Cohen,J.M. and Uphoff, N.T. (1980). Rural Development Participation: Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies, Cornell University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-29