ผลการฝึก Brain Gym ต่อการทรงตัว การประสานสัมพันธ์ การรับรู้ และคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม

ผู้แต่ง

  • ชนันท์วัลย์ วุฒิธนโภคิน คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม, การบริหารสมอง, การรับรู้, การทรงตัว, การประสานสัมพันธ์

บทคัดย่อ

          ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม มีความผิดปกติในการทำงานของสมองด้านการเรียนรู้ สติปัญญา การตัดสินใจและมีความบกพร่องด้านการรับรู้ ขาดการเคลื่อนไหวที่ประสานสัมพันธ์กันและมีความบกพร่องด้านการทรงตัว ทำให้ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันลดลง ส่งผลให้คุณภาพชีวิตลดลงตามมา โปรแกรมการบริหารสมองช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองทั้งสองซีกทำงานร่วมกัน ส่งเสริมให้เกิดการทำงานของระบบประสาทและกระตุ้นการเรียนรู้ของสมอง รูปแบบการเคลื่อนไหวที่หลากหลาย ทำให้ร่างกายส่วนต่างๆ มีการทำงานที่ประสานสัมพันธ์กัน เพิ่มความสามารถด้านการรับรู้ ความคิด ความจำ เพิ่มความแข็งแรงและเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อ กระตุ้นการรับความรู้สึกการมองเห็น เวสติบูลาร์ และกายสัมผัส ส่งผลให้เพิ่มประสิทธิภาพในการทรงตัว การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึก Brain Gym ต่อการทรงตัว การประสานสัมพันธ์ การรับรู้ และคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม อาสาสมัครเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม จำนวน 12 คน อาสาสมัครทุกคนได้รับการฝึก Brain Gym 30 นาทีต่อครั้ง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลาทั้งหมด 8 สัปดาห์ การทรงตัว การประสานสัมพันธ์ การรับรู้ และคุณภาพชีวิต นำมาเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการฝึก พบว่าหลังฝึก Brain Gym 8 สัปดาห์ การทรงตัวดีขึ้น (p = 0.003) การประสานสัมพันธ์ดีขึ้น (p = 0.000) การรับรู้ดีขึ้น (p = 0.000) และคุณภาพชีวิตดีขึ้น (p = 0.000) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นการฝึก Brain Gym เป็นระยะเวลาทั้งหมด 8 สัปดาห์ มีประโยชน์ช่วยส่งเสริมการทรงตัว การประสานสัมพันธ์ การรับรู้ และส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม

References

เฉง นิลบุหงา. (2561). ระบบประสาทและการทำงาน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฏฐพรรณ เรืองศิรินุสรณ์. (บ.ก.), (2559). คู่มือการดูแลผู้สูงวัย: เดินดีไม่มีล้ม. กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์.

ทัศนีย์ ตันติฤทธิศักดิ์. (บ.ก.), (2557). แนวทางเวชปฏิบัติภาวะสมองเสื่อม. กรุงเทพฯ : สถาบันประสาทวิทยา.

บังอร ฉางทรัพย์. (2550). กายวิภาคศาสตร์ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปวีณา นพโสตร และ รังสิมันต์ สุนทรไชยา. (2558). ผลของ โปรแกรมเสริมสร้างความหวังแบบครอบครัวมีส่วนร่วม ต่อภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุ. วารสารพยาบาลตำรวจ, 7(1), 84-94.

พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์, นุชจรีรัตน์ ชูทองรัตน์ และปัญจภรณ์ ยะเกษม. (2559). ปัจจัยที่เป็นตัวทำนายภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในชุมชน. Retrieved from https://www.stic.ac.th.

มีชัย ศรีใส. (2530). ประสาทกายวิภาคศาสตร์. กรุงเทพฯ : ลินประสิทธิ์การพิมพ์.

รัชนี นามจันทา. (2553). การฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม. วารสาร มฉก.วิชาการ, 14(27), 137-150.

วัลลภา อันดารา, อุบลรัตน์ สิงหเสนี และปัทมา วงค์นิธิกุล. (2559). การศึกษาภาวะสมองเสื่อม ความรู้เรื่องโรคและการป้องกันโรคสมองเสื่อม และข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุวิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ. วารสารพยาบาลตำรวจ, 8(1), 23-33.

ศินาท แขนอก. (2559). ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ (Dementia). Retrieved from https://www.dmh.go.th/ downloadportal/morbidity/dementia.pdf.

สมนึก กุลสถิตพร. (2549). กายภาพบำบัดในผู้สูงอายุ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ออฟเซ็ท เพรส.

สมพร สังขรัตน์. (2556). การควบคุมการทรงท่า. ใน สมพร สังขรัตน์ (บ.ก.), การฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพสมอง ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. (น. 35-48). เชียงใหม่ : สยามพิมพ์นานา.

สุภัจฉรา นพจินดา. (2561). เติมพลังสมอง เสริมพลังกาย พร้อมลุยงานได้อย่างสนุกทุกวัน. Retrieved from https://goodlifeupdate.com/healthy-body/61119.html.

Ann-Kathrin R., Brigitte, R., Astrid, Z., Volker, N., Karsten, H., Klaus-Michael, B and Kirsten, H. (2017). Balance training improves memory and spatial cognition in healthy aduts. Sci. Rep, 7, 5661.

Dennison, P.E. & Dennison, G.E. (2007). Brain Gym101: Balance for Daily Life. Ventura, CA: Edu-Kinesthetics, Inc.

Gotink, R. A., Meijboom, R., Vernooij, M. W., Smits, M., & Hunink, M. G. (2016). 8-week Mindfulness Based Stress Reduction induces brain changes similar to traditional long-term meditation practice - A systematic review. Brain Cogn, 108, 32-41.

Hyatt, K. J. (2007). Brain Gym: Building stronger brains or wishful thinking? RASE, 28(2), 117-124.

Jeffrey, A. K., & Theresa, A. J. (2008). Principles of Experience-Dependent Neural Plasticity: Implications for Rehabilitation After Brain Damage. JSLHR, 51, 225–239.

MA, Q. (2008). Beneficial effects of moderate voluntary physical exercise and its biological mechanisms on brain health. Neurosci Bull, 24(4), 265-270.

Ratey, J. J. (2008). Spark:The Revolutionary New Science of Exercise and the Brain. Boston London of New York: Little, Brown and company.

Szuhany, K. L., Bugatti, M., & Otto, M. W. (2015). A meta-analytic review of the effects of exercise on brain-derived neurotrophic factor. J Psychiatr Res. 60, 56-64.

Terry M. (2016). Exercise-cognition interaction. UK: Elsevier.

Timothy, C. Y, Kwok., K. C, Lam., P. S, Wong., W. W, Chau., Kenneth, S. L, Yuen., K. T. T,… Florence, K. Y, H. O. (2011). Effectiveness of coordination exercise in improving cognitive function in older adults: a prospective study. Clin Interv Aging, 6, 261–267.

Yaguez, L., Shaw, K. N., Morris, R., & Matthews, D. (2011). The effects on cognitive functions of a movement-based intervention in patients with Alzheimer's type dementia: A pilot study. Int. J. Geriatr. Psychiatry, 26(2), 173-81.

YouTube. (2009, March 6). Introducing Brain Gym and More [Video file]. Retrieved from https://www.youtube.com/watch?v=kWzW5XSmgKw.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-13