แนวการสอนการเปิดทางหายใจโดยหน้ากากช่วยหายใจ

ผู้แต่ง

  • สุภิญญา ติวิรัช วิสัญญีพยาบาลชำนาญการพิเศษ สังกัดภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

แนวการสอน, การเปิดทางหายใจ, การช่วยหายใจ โดยหน้ากากช่วยหายใจ

บทคัดย่อ

          การเปิดทางหายใจและช่วยหายใจถือเป็นขั้นตอนการปฏิบัติที่สำคัญในการปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (Basic life support) และปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นสูง   (Advanced cardiovascular life support)

          การพัฒนาการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติด้านนี้ โดยใช้งานวิจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง เริ่มจากมีการสร้างแบบวัดทักษะปฏิบัติการเปิดทางหายใจ และการช่วยการหายใจที่มีมาตรฐาน และนำแบบประเมินที่พัฒนาขึ้นมาใช้เป็นแนวทางในการสอนทักษะปฏิบัตินี้แก่นักศึกษาวิสัญญีพยาบาล  ในการศึกษาพบว่านักศึกษาสามารถทำหัตถการนี้ได้ดีและมีความมั่นใจเมื่อขึ้นปฏิบัติงานจริงกับผู้ป่วย รวมทั้งในบุคลากรที่เกี่ยวข้องที่ไม่ได้มีประสบการณ์จริงในการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาทางหายใจอุดกั้น หายใจไม่เพียงพอ หรือหยุดหายใจบ่อยครั้ง ก็ควรจัดให้มีการฝึกปฏิบัติเสมือนจริง กับหุ่นจำลองเป็นระยะๆ เพื่อเพิ่มทักษะความชำนาญได้เช่นกัน โดยอาจดัดแปลงการฝึกอบรมจากแบบวัดทักษะปฏิบัติการเปิดทางหายใจและช่วยหายใจของนักศึกษาวิสัญญีพยาบาลที่จัดทำขึ้น ซึ่งมีหัวข้อในการจัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเปิดทางหายใจและช่วยหายใจ 10 ข้อ และวิธีการเปิดทางหายใจและช่วยหายใจโดยหน้ากาก   ช่วยหายใจ 5 ข้อ มาเป็นแนวทางการสอนแบบง่ายได้ด้วย และในส่วนของบุคลากรทางวิสัญญีต้องปฏิบัติได้เป็น   อย่างดี รวมถึงสามารถนำความรู้ความสามารถที่มีอยู่ทางด้านนี้ไปแนะนำ ถ่ายทอดให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้นำไปฝึกฝนและปฏิบัติให้เกิดความชำนาญและมั่นใจมากขึ้น

References

กัญจนา ลินทรัตนศิริกุล. (2552). แบบวัดทักษะปฏิบัติ. ใน บัณฑิตศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์, ประมวลสาระชุดวิชาการพัฒนาเครื่องมือสำหรับการประเมินการศึกษา, 4(361-366). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ธวัช ชาญชญานนท์, ปิยวรรณ สุวรรณวงศ์ และศศิกานต์ นิมมานรัตน์. (2554). ผลของการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพและปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร, 9(1), 39-49.

พงษ์ธารา วิจิตรเวชไพศาล. (2539). การใส่ท่อช่วยหายใจ. กรุงเทพฯ : บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่งจำกัด.

ภูริพงศ์ ทรงอาจ. (2560). Adult Basic Life Support. ใน ACLS NEW GUIDELINE 2015 (น.1-7).กรุงเทพฯ. โครงการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝึกทักษะระบบจำลอง (SIMSET) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล.

ศรัทธา ริยาพันธ์. (2560). การจัดการเรียนการสอนการช่วยชีวิตฉุกเฉิน. ใน ACLS NEW GUIDELINE 2015. (น.177-185). กรุงเทพฯ. โครงการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝึกทักษะระบบจำลอง (SIMSET) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2546). นโยบายการประเมินผลการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ. ในสุวิมล ว่องวานิช (บรรณาธิการ), การประเมินการเรียนรู้แนวใหม่. (น.3-24). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมชาย รัตนทองคำ. (2556). เอกสารประกอบการสอน 475788 ทางกายภาพบำบัด 4 ภาคต้นปีการศึกษา 2556. (ม.ป.ท.).

สุพรรณนา ครองแถว, สุภามาศ ผาติประจักษ์ และอรุณวรรณ อุดมเกษมทรัพย์. (2560). ผลของโปรแกรมฝึกอบรมการจัดการทางหายใจ และการช่วยหายใจสำหรับนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาตรี.รามาธิบดีพยาบาลสาร, 22(1), 93-110.

สุภิญญา ติวิรัช. (2555). การพัฒนาแบบวัดทักษะปฏิบัติการเปิดทางเดินหายใจและช่วยหายใจของนักศึกษาวิสัญญีพยาบาล. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุภิญญา ติวิรัช และพัชรียา นิวัฒน์ภูมินทร์. (2560). การประเมินโครงการฝึกอบรมการปฏิบัติการเปิดทางเดินหาย และช่วยหายใจโดยหน้ากากช่วยหายใจ. วิสัญญีสาร, 43(4), 298-306.

สุภิญญา ติวิรัช, สังวรณ์ งัดกระโทก และฐิติมา ชินะโชติ. (2556). การพัฒนาแบบวัดทักษะปฏิบัติการเปิดทางเดินหายใจและช่วยหายใจของนักศึกษาวิสัญญีพยาบาล. วิสัญญีสาร, 39(4), 284-290.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-31