บทบาทพยาบาลเวชปฏิบัติเพื่อลดอาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม โดยการใช้โปรแกรมการบริหารกล้ามเนื้อต้นขา

ผู้แต่ง

  • ศิวานันท์ ฐิติกุลพัฒนาวดี อาจารย์ประจำ สาขาวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

ข้อเข่าเสื่อม, พยาบาลเวชปฏิบัติ, กล้ามเนื้อต้นขา

บทคัดย่อ

       โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่พบได้มากที่สุดของโรคข้ออักเสบ และนำมาซึ่งความพิการในผู้สูงอายุและมักพบอุบัติการณ์เพิ่มมากขึ้นตามอายุ ซึ่งโรคข้อเข่าเสื่อมมีลักษณะสำคัญทางคลินิกคือปวดข้อเข่า ข้อเข่าฝืด มีปุ่มกระดูกงอกบริเวณข้อเข่า การเคลื่อนไหวของข้อเข่าลดลงทำให้การทำงานของข้อเข่าเสียไปหากกระบวนการดำเนินต่อไปจะมีผลทำให้เกิดข้อเข่าผิดรูปและพิการในที่สุด การรักษามีทั้งการใช้ยาและไม่ใช้ยาการรักษาโดยการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์นั้นพบว่ามีประสิทธิภาพบรรเทาอาการปวดได้ดีกว่าแก้ปวดลดไข้ดังนั้นยาในกลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์จึงเป็นทางเลือกหลักในการบรรเทาอาการปวดเรื้อรังจากโรคข้อเสื่อม จากการศึกษาในอดีตให้ผลการศึกษาที่สอดคล้องกันว่ายาในกลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการข้างเคียงในระบบทางเดินอาหารทั้งนี้ พยาบาลเวชปฏิบัติซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ เป็นผู้มีบทบาทหลักในการสร้างเสริมสุขภาพสามารถซักประวัติสุขภาพและตรวจร่างกายเบื้องต้นในระบบกล้ามเนื้อและกระดูก และสามารถให้บำบัดรักษาแบบไม่ใช้ยาในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมได้โดยการใช้โปรแกรมการบริหารเพื่อเพิ่มความแข็งแรงทนทานของกล้ามเนื้อต้นขาซึ่งจากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าการใช้โปรแกรมการออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขาทำให้การเดินและการทรงตัวดีขึ้น นับเป็นทางเลือกหนึ่งที่ปลอดภัยจากอาการข้างเคียงของการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ และเป็นการพัฒนาศักยภาพของพยาบาลเวชปฏิบัติในการจัดบริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมอย่างถูกต้องเหมาะสม

References

ชนนิษฏ์ ลิ่มสกุล, วิภาวรรณ ลีลาสำราญ, ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล, อลันเฟรเดอริกกีเตอร์, และปิยาวัฒน์ ศรีสวัสดิ์นุภาพ.(2560). การศึกษาเปรียบเทียบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดเข่าหลังออกกำลังกายแบบไอโซคิเนติกด้วยโต๊ะ NK ดัดแปลง และ CON-TREX ไดนาโมมิเตอร์. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร, 27(1), 4-10.

ทัศนา บุญทอง, สุปราณี อัทธเสรี และนัทธมน ศิริกุล. (2550). บทบาทของพยาบาลเวชปฏิบัติต่อการรักษาโรคเบื้องต้น ในการให้บริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิ. สภาการพยาบาล, 22(4), 24-37.

นงพิมล นิมิตรอานันท์. (2557). สถานการณ์ทางระบาดวิทยาและการประเมินความเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อมในคนไทย.วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 185-194.

ภัทรินทร์ กิตติบุญญาคุณ และปวิช พากฏิพัทธ์. (2558). รูปแบบการสั่งใช้ยาและปัญหาการใช้ยาบรรเทาอาการปวดและยาเสริมบรรเทาปวดในผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม. วารสารเภสัชกรรมไทย, 7(2), 15-30.

วัลยา ธรรมพนิชวัฒน์, ศรีสุดา คล้ายคล่องจิตร, และณัฐา วงศ์วุฒิสาโรช. (2559). การปฏิบัติบทบาทของพยาบาลวิชาชีพในการสร้างเสริมสุขภาพในเขตพื้นที่ภาคกลาง. วารสารพยาบาลทหารบก, 17(1), 54-62.

วิโรจน์ กวินวงศ์โกวิท. (2558). โรคข้อเสื่อม. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อง 10 มกราคม 2561,จาก https://med.mahidol.ac.th/atrama/issue021/health-station.

สมาคมรูมาติซั่มแห่งประเทศไทย. (2553). แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม (Guideline for the treatment of osteoarthritis of knee). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2561,จาก http://thairheumatology.org/attachfle/guidelineforthetreatment.pdf.

สุระเพ็ญ สุวรรณสว่าง. (2551). ผลของการใช้โปรแกรมการออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขาต่อระดับความปวดของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมตามวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

แสงอรุณ ดังก้อง. (2560). กายภาพบำบัดในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม. เวชบันทึกศิริราช, 10(2), 115-121.

Anwer, S. & Alghadir, A. (2014). Effect of Isometric Quadriceps Exercise on Muscle Strength, Pain, and Function in Patients with Knee Osteoarthritis: A Randomized Controlled Study. Journal of Physical Therapy Science. 26(5).

Olagbegi, O. M., Adegoke, B. O. & Odole, A. C. (2017). Effectiveness of three modes of kinetic-chain exercise on quadriceps muscle strength and thigh girth among individuals with knee osteoarthritis. Arch Physiother, 7(9).

Sorour, A. S., Ayoub, A. S., & Abd El Aziz, E. M. (2014). Effectiveness of acupressure versus isometric exercise on pain, stiffness, and physical function in knee osteoarthritis female patients. Journal of Advanced Research. (5), 193-200.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-09