การสำรวจการตรวจเต้านมด้วยตนเองในบุคลากรสตรีมหาวิทยาลัยพะเยา

ผู้แต่ง

  • ลินยา เทสมุทร อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

การตรวจเต้านมด้วยตนเอง, บุคลากรสตรี

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการตรวจเต้านมด้วยตนเอง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การสนับสนุนทางสังคม และความสัมพันธ์ของการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการสนับสนุนทางสังคมกับการตรวจเต้านมด้วยตนเองในบุคลากรสตรีมหาวิทยาลัยพะเยาจำนวน 282 ราย โดยการสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามพฤติกรรมการตรวจเต้านม  ด้วยตนเอง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการสนับสนุนทางสังคมของการตรวจเต้านมด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วย ตนเอง (gif.latex?\bar{X}=19.12, S.D.=5.29) การรับรู้สมรรถนะแห่งตน ( gif.latex?\bar{X}=28.11, S.D.=6.25) และการสนับสนุนทางสังคม (gif.latex?\bar{X}=23.69, S.D.=6.31) อยู่ในระดับปานกลางการรับรู้ประโยชน์อยู่ในระดับสูง (gif.latex?\bar{X}=25.59,S.D.=4.37) และการรับรู้อุปสรรคอยู่ในระดับต่ำ (gif.latex?\bar{X}=20.00,S.D.=5.54) การรับรู้อุปสรรคมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง (r=-.265, p<.01) การรับรู้สมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.358, r=.311) ส่วนการรับรู้ประโยชน์ไม่มีความสัมพันธ์กับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ดังนั้นควรมีการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน การสนับสนุนทางสังคม และลดการรับรู้อุปสรรคในการตรวจเต้านมด้วยตนเองในสตรีทุกคน

References

ชื่น เตชามหาชัย. (2556). แนวทางการดำเนินงานโครงการดูแลและเฝ้าระวังมะเร็งเต้านมในสตรีไทยปี 2556.กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

ดาริน โต๊ะกานิ, บุญยิ่ง ทองคุปต์, และประดังพร ทุมมาลา. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีที่มารับบริการในคลินิกวัยทองของโรงพยาบาลในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้.วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 1(1), 12-25.

นภาวรรณ นนทสุวรรณ์. (2555). ความรู้ ความเชื่อกับพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองในตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

บงกช เก่งเขตกิจ, เพ็ญศรี ระเบียบ, และสุพรรณี เอี่ยมรักษา. (2542). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตรวจเต้านมด้วยตนเองในสตรีไทย. วารสารสภาการพยาบาล, 14(3), 24-36.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรางกูร. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย.

ปิยะนุช จิตตนูนท์, สุมาลี วังธนากร, และวรรณี จันทร์สว่าง. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีในเทศบาลตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.สงขลานครินทร์เวชสาร, 27(2), 153-165.

มยุรี บุญวรรณ, ขนิษฐา นาคะ, และวิภาวี คงอินทร์. (2554). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อทักษะและความยั่งยืนในการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีกลุ่มเสี่ยง. ศรีนครินทร์เวชสาร,26(1), 17-24.

มาสินี ไพบูลย์, คณิตา ชาดี, สุนัน เลขวรรณวิเศษ, สุมาลี พงศ์ผกาทิพย์, และพจน์ชวิทย์ อภินิเวศ. (2556). การส่งเสริมพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของบุคลากรสตรีแผนกการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีนครินทร์.ศรีนครินทร์เวชสาร, 28(1), 115-119.

วนิดา ทองดีนอก. (2550). การประยุกต์รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์เพื่อส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของแกนนำสตรีและการสร้างเครือข่ายในกลุ่มสตรีอายุ 30 ปีขึ้นไป ตำบลตลาดไทร อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา.วิทยานิพนธ์ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2556). แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ พ.ศ. 2556-2560. กรุงเทพฯ:กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2559). ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข.

สิริรัตน์ ฉัตรชัยสุชา, คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล, กุลชลี พิมพา, และ สุพัตรา พรสุขสว่าง. (2554). ประสิทธิผลของโปรแกรมการอบรมความรู้และทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองต่อความเชื่อด้านสุขภาพและการตรวจเต้านมด้วยตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุขสตรีในชุมชน. วารสารพยาบาลศาสตร์, 29(3), 64-74.

สุธารัตน์ ชำนาญช่าง, ปนัดดา ปริยทฤฆ, และกนกพร หมู่พยัคฆ์. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีวัยแรงงาน. วารสารพยาบาลศาสตร์, 32(3), 42-51.

สุภาภรณ์ ตันตินันทตระกูล. (2549). พฤติกรรมป้องกันโรคมะเร็งเต้านมของพยาบลโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อิโอนา โคอิเกะ, จิราพร ชมพิกุล, บังอร เทพเทียน, และนฤมล ไม้แก่น. (2661). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตรวจเต้นมด้วยตนเองในหญิงไทย จังหวัดสมุทรสงคราม ประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา,16(1), 29-43.

เอมอร ชินพัฒนะพงศา และกนกวรรณ สุวรรณปฏิกรณ์. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค และการรับรู้ความสามารถกับพฤติกรรมการตรวจเต้านมตนเองของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 28(3), 14-29.

Aker, S., Oz, H., & Tuncel, E.K. (2015). Practice of breast cancer early diagnosis methods among women living in Samsum, and factors associated with this practice. Journal Breast Health, 11(3), 115-122.

Akhtari-Zavare, M., Juni, M.H., Said,S.M., & Ismail, I.Z. (2013). Beliefs and behavior of Malaysia undergraduate female students in a public University toward breast self-examination practice. Asian Pacific Journal of Cancer Prevention, 14(1), 57-61.

Akhtari-Zavare, M., Juni, M.H., Said, S.M., Ismail, I.Z., Latiff, L.A., & Eshkoor, S.A. (2016). Result of randomized control trial to increase breast health awareness among young females in Malaysia. BioMed Central Public Health, 16(738), 1-11.

American Cancer Society. (2015). Cancer prevention & early detection facts & figures 2015-2016. [Online]. Retrieved January 31, 2016, from http://www.cancer.org.

American Cancer Society. (2018). Cancer facts & figures 2018. [Online]. Retrieved June 12,2018, from http://www.cancer.org.

Amoran, O.E. & Toyobo, O.O. (2015). Predictings of breast self-examination as cancer prevention practice among women of reproductive age-group in rural town in Nigeria. Nigerian Medical Journal, 56(3), 185-189.

Katapodi, M.C., Facione, N.C., Miaskowski, C., Dodd, M.J., & Waters, C. (2002). The influence of social support on breast cancer screening in a multicultural community sample. Oncology Nursing Forum, 29(5), 845-852.

Pender, N.J., Murdaugh, C.L., & Parsons, M.A. (2006). Health promotion in nursing practice (5 ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Silva, I.T., Griep, R.H., & Rotenberg, L. (2009). Social support and cervical and breast cancer screening practices among nurses. Revista Latino-Americana de Enfermagem,17(4): 514-521.

Umeh, K. & Rogan-Gibson, J. (2001). Perceptions of treat, benefits and barriers in breast self-examination amongst young asymptomatic women. British Journal of Health Psychology, 6(4), 361-372.

Veena, K.S., Rupavani, K., & Rekha, R. (2015). The knowledge and attitude of breast self- examination and mammography among rural women. International Journal of Reproduction, Contraception, Obstetrics and Gynecology, 4(5), 1511-1516.

World Health Organization. (2015). Breast Cancer Awareness Month. [Online]. Retrieved January 30, 2016, from http://www.who.int/cancer/en/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-31