โมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของภาวะผู้นำกลยุทธ์ ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กรและประสิทธิผลของงานการพยาบาลผู้คลอดในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • นงนภัส วงษ์จันทร นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, งานการพยาบาลผู้คลอด, ภาวะผู้นำกลยุทธ์, ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กร

บทคัดย่อ

           การวิจัยเชิงปริมาณนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของภาวะผู้นำกลยุทธ์ ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กร และประสิทธิผลของงานการพยาบาลผู้คลอดในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้างานการพยาบาลผู้คลอด และรอง/ผู้ช่วยหัวหน้างานการพยาบาลผู้คลอด หรือพยาบาลอาวุโส จำนวน 226 คน จาก 115  โรงพยาบาล (ร้อยละ 98.26) สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิและสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 3 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามประสิทธิผลของงานการพยาบาลผู้คลอดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแบบสอบถามภาวะผู้นำกลยุทธ์ และความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กรที่นำมาปรับใช้โดยมีค่าความตรงตามเนื้อหา (CVI) เท่ากับ .88, .85 และ 1.00 ตามลำดับ ตรวจสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามพบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาคอนบราคเท่ากับ .94, .97 และ .84 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และโมเดลสมการโครงสร้าง

          ข้อค้นพบการวิจัยแสดงว่า ภาวะผู้นำกลยุทธ์ มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของงานการพยาบาลผู้คลอด (gif.latex?\beta = .78) และความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กร ( gif.latex?\beta =.59) ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กรมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของงานการพยาบาลผู้คลอด (  gif.latex?\beta= .10) และภาวะผู้นำกลยุทธ์ร่วมกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กรมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของงานการพยาบาลผู้คลอด ( gif.latex?\beta =.84) โมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของประสิทธิผลของงานการพยาบาลผู้คลอดมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ค่า CMIN/df เท่ากับ 1.21, GFI เท่ากับ .95 AGFI เท่ากับ .92 CFI เท่ากับ  .99  SRMR  เท่ากับ  .01  และ RMSEA  เท่ากับ  .03) และโมเดลดังกล่าวสามารถอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผลของงานการพยาบาลผู้คลอดได้ร้อยละ 58.70 ข้อค้นพบจากงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าผู้บริหารกลุ่มการพยาบาลควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาภาวะผู้นำกลยุทธ์ของ    หัวหน้างานการพยาบาลผู้คลอด โดยควรพัฒนาในเรื่องการกำหนดทิศทางขององค์กรเป็นอันดับแรก ซึ่งควรมุ่งเน้น เรื่องการสนับสนุนให้บุคลากรปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับค่านิยมหลักของงานการพยาบาลผู้คลอด และชี้แจงเป้าหมายเพื่อให้บุคคลกรทุกคนปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน อีกทั้งควรกำหนดนโยบายในการส่งเสริมความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กรโดยมุ่งเน้นความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กรด้านบรรทัดฐานเป็นอันดับแรกสร้างเสริมให้เกิดความจงรักภักดี และการตอบแทนพระคุณขององค์กรตลอดจนผู้บริหารองค์กรการพยาบาลควรมีการกำหนดนโยบายการพัฒนาประสิทธิผลของงานการพยาบาลผู้คลอด ด้วยการให้ความสำคัญกับการพัฒนากระบวนการภายใน การจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ และการเตรียมความพร้อมในการรับสถานการณ์ฉุกเฉิน

References

จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง เนตรชนก ศรีทุมมา และนงลักษณ์ จินตนาดิลก. (2557). สมรรถนะภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารฝ่ายการพยาบาล สังกัดโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพและปริมณฑล. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 20(1), 1-15.

ฐิติมา จำนงค์เลิศ. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วย บรรยากาศองค์การกับประสิทธิผลของหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงกมล สจิรวัฒนากุล. (2554). จับตาปี 54 ขัดแย้งแพทย์-ผู้ป่วยยก 2: "ก.ม. คุ้มครองผู้เสียหาย". [ออนไลน์].สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2559, จาก http://www.bangkokbiznews.com.

ทิพย์สุดา ดวงแก้ว และสุชาดา รัชชุกูล. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วย การมีส่วนร่วมในงานของพยาบาลประจำการ กับประสิทธิผลของหอผู้ป่วย โรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เขตภาคเหนือ. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 4(1), 41-51.

ธิติพันธ์ จีนประชา .(2557) .โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลสถานีตำรวจ สังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติในประเทศไทย. วารสารวิจัย มสด. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(3), 165-180.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2556). การจัดการสมัยใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ลกรุ๊ป.

ปราณี มีหาญพงษ์ สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ และศากุล ช่างไม้. (2557). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลการดำเนินงานในหอผู้ป่วยโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารพยาบาลทหารบก,16(1),78-86.

ภรดี สีหบุตร พาณี สีตกะลิน และอารยา ประเสริฐชัย. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การกับประสิทธิผลองค์การ ตามการรับรู้ของผู้ให้บริการสถานพยาบาล สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย. ในการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 2. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2559, จาก http://www.stou.ac.th/thai/grad_stdy/Masters.

รังสรรค์ อ้วนวิจิตร และชวนชม ชินังกูร. (2554). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 3(2), 210-221.

สุนีย์พร แคล้วปลอดทุกข์ และสุชาดา รัชชุกูล. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วยการบริหารผลการปฏิบัติงานของกลุ่มการพยาบาลกับประสิทธิผลของหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลทั่วไป. วารสารกองการพยาบาล, 23(2), 15-28.

สุวิมล ติรกานันท์. (2551). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสาวนีย์ กานต์เดชารักษ์ ชิษณุพงศ์ ทองพวง เจือจันทน์ วัฒกีเจริญ และประภากร สุวรรณธาดา. (2558).โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลขององค์การของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง.วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 21(3), 557-572.

Adair, J. (2010). Strategic leadership: How to think and plan strategically and providedirection. London: Kogen page.

Allen, N.J., & Meyer, J.P. (1996). Affective continuance, and normative commitment to theorganization: An examination of construct validity. Journal of Vocational Behavior,9(3), 252-276.

Burns, N. & Grove, S.K. .(2001). The practice of nursing research, conduct, critique, and utilization. (4 ed). Philadelphia: W.B. Saunders Company.

Cohen, A. (2007). Commitment before and after: An evaluation and reconceptualization of organizational commitment. Human Resource Management Review, 17(3),336-354.

DeVellis, R.F. (2010). Scale development: Theory and application. (3 ed.). Newbury ParSage.

Gubta, K.K., Attri, J.P., Singh, A., Karu, H., & Karu, G.(2016). Basic concepts for sample size calculation: Critical step for any clinical trials. Saudi J Anaesth, 10(3), 328-331.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., & Anderson, R.E. (2010). Multivariate data analysis. 7 thed. NewJersy: Upper Sandle River, Prentice Hall.

Hitt, M.A., Ireland, R.D., & Hoskisson, R.E. (2007). Strategic management: competitiveness and globalization: Concepts. Mason Ohio: Thomson/ South-Western.

Hoyle, R.H. (Ed.). (2012). Handbook of structural equation modeling. New York: Guilford Press.
Kinicki, A., & Kreitner, R. (2008). Organizational behavior: Key concepts, skills and best prac tices. (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.

Kline, R.B. (2010). Principles and practice of structural equation modeling. (3 ed.). New York:The Guilford Press.

Kouzes, J.M., & Posner, B.J. (2002). Leadership challenge. (3 ed.). San Francisco: Jossey-Bass.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). "Determining sample size for research activities". Educa tional and Psychological Measurement, (30), 607-610.

Lussier, N.R., & Achua, F.C. (2007). Effective leadership. (3 ed.). Ohio: Thomson South-Western.

Meyer, J.P., Allen, N.J., & Smith, C.A. (1993). "Commitment to organizations and occupations: extension and test of three-component conceptualization". Journal of Applied Psychology, 78(4), 538-551.

Noor, J., & Banten, S. (2014). "The factors of strategic leadership on commitment: An empirical banking in Indonesia". International Research Journal of Business Studies, 6(3), 185-194.

Sullivan, E.J., & Decker, P.J. (1999). Effective leadership and management in nursing. (5 ed.). New Jersy: Prentice Hall.

Tseng, C.C. (2010). The Effects of learning organization practices on organizational commit ment andeffectiveness for small and medium-sized enterprises in Taiwan. Retrieved June 18, 2016 from http://conservancy.umn.edu/bitstream/handle/11299/94043/Tseng_umn_0130E_11122.pdf?sequence=1.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-31