การศึกษาคุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, นักศึกษาพยาบาล, มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive research) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของ นักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1-4 มหาวิทยาลัย อีสเทิร์นเอเชีย ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 280 คน จากการคำนวณด้วยโปรแกรม G*Power สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล และส่วนที่ 2 แบบสอบถามคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI) เครื่องมือวิจัยผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้วยการวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นตามวิธีของครอนบาค (Cronbach's Alpha Coefficiency) ได้ค่าเท่ากับ 0.923 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และเมื่อพบความแตกต่างทำการทดสอบรายคู่ด้วยวิธี LSD (Least Significant Difference)
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า คะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมของนักศึกษาพยาบาลพบว่า มีคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมปานกลาง และเมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตของนักศึกษาแต่ละชั้นปีทั้งรายด้านและโดยรวมพบว่า นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกาย ด้านสุขภาพจิต ด้านสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตโดยรวมมากที่สุด ส่วนนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตด้านความสัมพันธ์ทางสังคมมากที่สุด ในขณะที่นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพจิต ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตโดยรวมน้อยที่สุด และนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกายน้อยที่สุด เมื่อทดสอบสมมติฐานพบว่า นักศึกษาพยาบาลอย่างน้อย 2 ชั้นปีมีระดับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกาย ด้านสุขภาพจิต และคุณภาพชีวิตโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ที่ปรึกษา และคณะพยาบาลศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักศึกษาพยาบาล มีคุณภาพชีวิตที่ดีในรั้วมหาวิทยาลัยต่อไป
References
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. (2559). เอกลักษณ์คณะพยาบาล มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.[ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2560, จาก http://faculty.eau.ac.th/ Faculty_of_Nursing.
ชัชชัย อนุสรณ์ธีรกุล, การย์กวิน ภัทรธีรนาถ, จุฑารัตน์ ชัยวีรพันธ์เดช, ภัสสร์วัลย์ รังสิปราการ, มานพ คณะโต,และนฤมล สินสุพรรณ. (2551). การศึกษาเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตของนักศึกษาแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับประชาชนที่ชุมชนสามเหลี่ยมในช่วงอายุเดียวกัน. ศรีนครินทร์เวชสาร,23(2), 200-206.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2555). วิธีการที่ถูกต้องและทันสมัยในการกำหนดขนาดตัวอย่าง. เอกสารประกอบการบรรยายในโครงการ Research Zone. สำนักงานวิจัยแห่งชาติ.
พรรณิการ์ พุ่มจันทร์. (2560). การศึกษาคุณภาพชีวิตของนักศึกษาแพทย์ชั้นปรีคลินิก คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล. เวชบันทึกศิริราช, 10(1), 10-17.
พิชฌาย์วีร์ สินสวัสดิ์ และเบญจวรรณ พิททาร์ด. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับคุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี. วารสารเกื้อการุณย์, 23(1), 7-20.
พิชฌาย์ สินสวัสดิ์ และเบญจวรรณ พิททาร์ด. (2557). คุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยบรมราชชนนี ราชบุรี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 7(1), 97-108.
ลัดดาวัลย์ แดงเถิน. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของนิสิตพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ ระหว่างฝึกปฏิบัติงาน. พิษณุโลก: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วัฒนีย์ เย็นจิตร, พัชรินทร์ พลอยสิทธิ์, โทน แห้วเพชร และเอกชัย โภไคยศสวรรค์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด คุณภาพชีวิต ค่าใช้จ่ายกับผลการศึกษาของนักศึกษาทัศนมาตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 25(3), 477-486.
วินิทรา นวลละออง. (2555). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1. วารสารสมาคจิตแพทย์ แห่งประเทศไทย, 57(2), 225-234.
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต, เฉลิมพล แจ่มจันทร์, กาญจนา ตั้งชลทิพย์, และจรัมพร โห้ลํายอง. (2557). คุณภาพชีวิตการทํางานและความสุข. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุวัฒน์ มหัตนิรันทร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, กรองจิตต์ วงศ์สุวรรณ, และวราณี พรมานะรังกุล. (2545). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI) [ออนไลน์]. โครงการจัดทำโปรแกรมสำเร็จรูปในการสำรวจสุขภาพจิตในพื้นที่ ปี พ.ศ. 2545 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2561, จาก https://www.dmh.go.th/test/whoqol/.
Moritz, A. R., Pereira, E. M., Borba, K. P., Clapis, M. J., Gevert, V. G., & Mantovani, M. F. (2016).Quality of life of undergraduate nursing students at a Brazilian public university.Investigaci n y Educaci n en Enfermeria, 34(3), 564-572.
Moura, I. H., Nobre, R. S., Cortez, R. M. A., Campelo, V., Mac?do, S. F., & Silva, A. R. V. (2016).Quality of life of undergraduate nursing students. Revista Ga cha de Enfermagem,37(2), 1-7.
Francisco Rosemiro Guimara?es Ximenes Neto, Francisco Diogenes dos Santos, Luiza Jocymara Lima Freire et al. (2018). Analysis of the quality of life of nursing students in a university of Northeast Brazil. International Journal of Development Research,8(3), 19563-19565.
Selye, H. (1976). The stress of life. New York: McGraw-Hill.
Shareef, M. A., AlAmodi, A. A., Al-Khateeb, A. A., Abudan, Z., Alkhani, M. A., Zebian, S. I., . . .abrizi, M. J. (2015). The interplay between academic performance and quality of life among preclinical students. BMC Medical Education, 15(193). doi:DOI 10.1186/s12909-015-0476-1.
World Health Organization. (1998). The World Health Organization Quality of Life User Manual.Switzerland: Division of Mental health and prevention of substance abuse, World Health Organization.
Zhang, Y., Qu, B., Lun, S., Wang, D., Guo, Y., & Liu, J. (2012). Quality of life of medical students in China: A study using the WHOQOL-BREF. PLOS ONE, 7(11), 1-9.