การมีส่วนร่วมเพื่อกำหนดสมรรถนะของเครือข่ายงานตรวจสอบภายใน ของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • พัชราภรณ์ ดวงชื่น คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, สมรรถนะของเครือข่ายงานตรวจสอบภายใน

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดสมรรถนะเครือข่ายงานตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นบุคลากรในมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม ที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 3 ปีขึ้นไปจำนวน 40 คนโดยผู้วิจัยเลือกใช้การวิจัยแบบสนทนากลุ่มเพื่อกำหนดสมรรถนะเครือข่ายงานตรวจสอบภายใน การสังเคราะห์แนวคิด ทฤษฏี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มาจัดทำแบบสอบถามเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำคะแนนที่ได้จากแบบสอบถามสมรรถนะการปฏิบัติงานเครือข่ายงานตรวจสอบภายในมาหาค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)

           ผลการวิจัย พบว่า สมรรถนะเครือข่ายงานตรวจสอบภายในประกอบด้วยสมรรถนะ 8 ด้าน ดังนี้ (1) ด้านมาตรฐานการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ การแสดงความคิดเห็นของตนตามหลักวิชาชีพ (2) สมรรถนะเฉพาะตามสายวิชาชีพ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ การมีความสามารถในการตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของข้อมูลและรายละเอียดต่างๆในงานที่รับผิดชอบ (3) ด้านจรรยาบรรณวิชาชีพ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ การมีความเคารพคุณค่า และสิทธิของผู้เป็นเจ้าของในข้อมูลที่ตนได้รับและไม่เปิดเผยข้อมูลโดยปราศจากอำนาจหน้าที่ที่เหมาะสมเว้นแต่เมื่อกฎหมายหรือวิชาชีพกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น และการที่ผู้ตรวจสอบภายในไม่ใช้ข้อมูลที่ได้มาเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนหรือเพื่อการใด ที่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อวัตถุประสงค์ที่ถูกต้องตามกฎหมายและหลักจริยธรรมขององค์กร (4) ด้านความรับผิดชอบในงาน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ การมีความสามารถในการกำหนดแผนการปฏิบัติงาน และเป้าหมายที่ต้องการจากทีมงาน (5) ด้านจิตสำนึกในการให้บริการ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ การมีความสามารถในการแสดงออกถึงความพร้อมและความเต็มใจในการให้บริการ และการมีความสามารถในการให้บริการหรือให้ความช่วยเหลือในเรื่องอื่นๆที่ไม่ใช่เรื่องงานที่รับผิดชอบทั้งนี้ต้องไม่กระทบต่อการปฏิบัติงานในความรับผิดชอบของตนเอง (6) ด้านความรู้ และทักษะทางเทคนิคเฉพาะทาง  ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ การมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี  เครื่องมือ (7) ด้านการสื่อสารด้วยลายลักษณ์อักษร ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ การมีความสามารถในการจัดทำเอกสารหรือจดหมายโต้ตอบเพื่อสื่อสารข้อมูลไปยังกลุ่มคนในระดับที่แตกต่างกัน และการมีเทคนิคและความสามารถในการจัดทำรายงานสรุปผลการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ และ (8) ด้านความคิดอย่างเป็นระบบ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ การมีความสามารถในการนำเสนอแนวทางใน การแก้ไขปัญหาของสมาชิกในทีมได้อย่างเป็นระบบ ซึ่งผู้บริหารสามารถนำสมรรถนะเครือข่ายงานตรวจสอบภายในไปเป็นแนวทางในการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรที่เป็นเครือข่ายงานตรวจสอบภายใน ในมหาวิทยาลัยต่อไป

References

กชพร รักอยู่.(2557). บทบาทของผู้ตรวจสอบภายในสมัยใหม่.[ออนไลน์].สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2560, จาก www.cgd.go.th/cs/Satellite?blobcol=urldata...Content...id...

กรมบัญชีกลาง. (2552). แนวปฏิบัติระบบการควบคุมภายในภาคราชการ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2560, จาก https://auditrmutl.ac.downlode2coso/internal.doc.

กระทรวงการคลัง. (2561). มาตรฐานการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2560 https://www.cgd.go.th/cs /Satellite?blobocl=urldata&bloheadername1 =Content- Type&blobheadername2= ContentDisposition&blobheadername3=filename&b lobhead rval

กรุงเทพธุรกิจ. (2556). ปรับตัวอย่างไรเมื่อองค์กรเปลี่ยน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2560, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/520192...

กลุ่มตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและจุลสารตรวจสอบภายในของกรมบัญชีกลาง.(2558). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2560, จากwww.cgd.go.th/cs/internet/internet/จุลสารตรวจสอบ.html .

จันทมณี ขวัญแก้วมณี. (2554). แนวคิดการพัฒนาองค์กรด้วยการบริหาร.กรุงเทพฯ: สุขุมวิทการพิมพ์.

ณรงค์วิทย์ แสนทอง.(2557). สมรรถนะในการทำงานของผู้ตรวจสอบภายใน.กรุงเทพฯ :สํานักงานโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและสมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย. (2558). แนวทางการตรวจสอบภายใน. กรุงเทพฯ:ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ธนา ประมุขกุล. (2554). เครือข่าย.วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 24 (3),15-17.

ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์. (2559). Competency ภาคปฏิบัติ......เขาทำกันอย่างไร?.กรุงเทพฯ: สมาคมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

บุญใจ ศรีสถิตยน์รากรู. (2551). ภาวะผู้นำและกลยุทธ์การจัดการองค์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พันธ์ทิพย์ รามสูตร.(2556). การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาการ สาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล.

เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย (2550). หลักการและการใช้วิจัยเชิงคุณภาพสำหรับทางการพยาบาลและสุขภาพ. สงขลา:ชานเมืองการพิมพ์.

มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์. (2547). งานตรวจสอบภายใน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม2560 จาก https://audit.pcru.ac.th/minimenu.php?wi_id=93

ละเอียด เอี่ยมสุวรรณ. (2553). การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายงานตรวจสอบภายในโดยประยุกต์ใช้กระบวนการแบบมีส่วนร่วม.[ออนไลน์].สืบค้นเมื่อ 10.ตุลาคม 2560 จาก audit.ddc.moph.go.th/index.php?lay=show&ac=article&Id...

วิทยา พรพัชรพงศ์. (2556). Modern Management. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2560 จาก https://www.gotoknow.org/blog/modernmanagement45627.

สมาคมผู้ตรวจสอบบัญชีภายในแห่งประเทศไทย. (2545). ประมวลจรรยาบรรณตามมาตรฐานสากลงานวิชาชีพตรวจสอบภายใน.[ออนไลน์].สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม2560 จาก https://www.internal-audit.chula.ac.th/ethich3-t.htm

สุพัฒน์ กาฬพันธ์. (2556). องค์ความรู้ในการสร้างเครือข่าย.กรุงเทพฯ :โครงการวิถีทรรศน์.

สุรพงศ์ ชูรังสฤทธิ์. (2557). บทบาทของผู้ตรวจสอบภายในจากตำรวจลับสู่ที่ปรึกษา. [ออนไลน์].สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2560. จาก kmcenter.rid.go.th/ kcaudit/data/docs/km_composite/doc_audit.doc

อเนก เทียนบูชา. (2553). การพัฒนาสมรรถนะหลักเพื่อเตรียมคนเข้าสู่งาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎี บัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

อัณณ์ชญาณ์ โสดา. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในกับผลการดำเนินงานบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Fey, M. K., &Miltner, R.S. (2000). A competency-based orientation program for new graduatenurses. Journal of Nursing Administration, 30(3), 126-132.

Kemmis, S; &Mc Taggart, R.(1990).The action research planner.3rd ed. Victoria :Deakin.University press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-03