การดูแลเด็กปฐมวัยในศูนย์เด็กเล็ก : บทบาทของผู้ดูแลเด็ก
คำสำคัญ:
การดูแล, เด็กปฐมวัย, บทบาทของผู้ดูแลเด็กบทคัดย่อ
การอบรมและเลี้ยงดูแก่เด็กปฐมวัยมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากช่วงวัยนี้เป็นช่วงโอกาสของการเรียนรู้จากการเลียนแบบบุคคลรอบข้าง ดังนั้นการส่งเสริมการเจริญเติบโต พัฒนาการ และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ จึงมีความจำเป็นเพื่อให้เด็กเติบโตเป็นคนดี เฉลียวฉลาด และมีความสุข ผู้ดูแลเด็กศูนย์เด็กเล็กมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์เด็กเล็ก ตามกรอบมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ 6 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านบุคลากร (2) ด้านการเจริญเติบโต สุขภาพช่องปากและการจัดอาหาร (3) ด้านพัฒนาการและการเรียนรู้ตามช่วงวัย (4) ด้านจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (5) ด้านการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ (6) ด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน ท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ดูแลเด็กสามารถนำไปใช้ในการดูแลเด็กในศูนย์เด็กเล็กเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการสมวัย มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน ไม่มีฟันผุ และเด็กที่พัฒนาการล่าช้าได้รับการส่งต่อไปยังสถานบริการสาธารณสุข
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2561). คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Developmental Surveillance and Promotion Manual :DSPM) ขยายอายุ 5 - 6 ปี. สืบค้นจาก https://nich. anamai.moph.go.th/ewt_news.php?nid=169&filename=download
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2557). คู่มือมาตรฐานศูนย์เด็กเล็ก. กรุงเทพฯ : สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2559). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.(2561). แผนยุทธศาสตร์ระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข (2560-2579). สืบค้นจาก https://planning.anamai.moph.go.th/ main.php?filename=Menu_Down1.
นิตยา คชภักดี .(2554). พัฒนาการเด็ก, ใน ทิพวรรณ หรรษคุณาชัย.(บ.ก.), ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก สำหรับเวชปฏิบัติทั่วไป. (น.1-25). กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์.
นพวรรณ ศรีวงค์พานิช และ อดิศร์สุดา เฟื่องฟู .(2554). ปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อยในเด็กปฐมวัยและการฝึกวินัยเชิงบวก ใน ทิพวรรณ หรรษคุณาชัย. (บ.ก.), ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก สำหรับเวชปฏิบัติทั่วไป. (น.209-227).กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์.
ทัศนียา วังสะจันทานนท์, สุคนธ์ วรรธนะอมร, และนุชนารถ บรรทุมพร. (2557). บทบาทผู้ดูแลเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยในการคัดกรองและการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 6(12),114-121.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. (2551). ตำรับอาหารมาตรฐานสำหรับเด็กปฐมวัย.กรุงเทพ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย.(2561). คู่มือสำหรับพ่อแม่เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็กตอน วัยเด็กเล็ก 0-3 ปี, 3-5 ปี. สืบค้นจาก https://www.thaipediatrics.org/Media/media-20171010123112.pdf.
วชิระ เพ็งจันทร์.(2560). การขับเคลื่อน DOH 4.0 สู่ MOPH 4.0. สืบค้นจาก https://www.planning. anamai.moph.go.th /.../2.การขับเคลื่อน 20DOH 204.0 20160360%20(3)_อธิบ.ppt
วิจารณ์ พานิช. (2559). เลี้ยงลูกยิ่งใหญ่. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสยามกัมมาจล.
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. (2560) . รายงานประจำปี 2560 สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ. กรุงเทพ : สามเจริญพาณิชย์.
สายรุ้ง ปั้นเพ็ง และนันทิยา น้อยจันทร์. (2559). แนวทางการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กด้านวิชาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลอำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์
Deborah J. N. (2017). Comparing language and literacy environments in two types of infant–toddler child care centers. Early childhood education Journal. 45, 95–101.