การส่งเสริมกิจกรรมเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเชิงสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วม ของชุมชนบ้านยาง จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ศิริณา จิตต์จรัส คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การส่งเสริมกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์, แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและความต้องการของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเชิงสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมของชุมชน 2) เพื่อศึกษาวิธีการและผลของการส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เชิงสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมของชุมชน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้นำกลุ่มที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการในชุมชนบ้านยาง จังหวัดนครปฐม จำนวน 15 คน และนักเรียนประถมศึกษา และอุดมศึกษา จำนวน 50 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก และความต้องการอยู่ในระดับมาก ส่วนกิจกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ใช้หลักแนวคิดการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ (learning.by.doing) ที่ประกอบด้วย ศาสตร์พระราชา ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งมี 7 ฐานการเรียนรู้ ได้แก่ การทำนา (Rice Field) ทำขนมไทย (Thai Dessert) ผ้ามัดย้อม (Handkerchief Design) เรียนรู้ศาสตร์พระราชา (The King's Philosophy Learning) 5) ภูมิปัญญาเล่าเรื่องเมืองยาง (Story line and Wisdom) ออกกำลังกายพอเพียง (Exercise Activity) และกิจกรรมสร้างสรรค์ (D.I.Y) โดยผลของการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมโดยมีระดับความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก

References

กฤช เพิ่มทันจิตต์. (2536). ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเกิดเป็นเมือง. กรุงเทพฯ: ครีเอทีฟ พับลิชชิ่ง จำกัด.

กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. (2560). Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน. สืบค้นจาก http://www.libarts.up.ac.th/v2/img/Thailand-4.0.pdf

คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สํานักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2548). เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจพอเพียง.

คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สํานักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจพอเพียง.

ชัยพจน์ รักงาม. (2543). การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย. วารสารข้าราชการครู, 11(2), 26–29.

พรรณี เสี่ยงบุญ ธีระวัฒน์ เยี่ยมแสง และศักดิ์พงศ์ หอมหวล. (2553). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาเพื่อจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนบ้านหนองบัวคู อำเภอนาดูน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, มหาสารคาม.

พาทิพย์ ชมคำ. (2551). การมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นครสวรรค์ เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี, ลพบุรี.

พิมวดี แก้วณรงค์. (2561). แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับความเป็นเมือง. สืบค้นจาก http://pimpimwadee. blogspot.com/2015/01/urbanization.html.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยใช้พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์. Veridian E-Journal. 8(1), 49-61.

วิษณุ หยกจินดา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน หมู่บ้านทุ่งกร่าง ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ศิริณา จิตต์จรัส. (2555). เศรษฐกิจชุมชน และภูมิปัญญาไทย. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. (เอกสารอัดสำเนา).

สุชล สุขเกษม. (2561) ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน (Smart Farmer)/สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 7 กรกฏาคม 2561: ศิริณา จิตต์จรัส.

สุดปฐพี เวียงสี. (2559). ประเทศไทย 4.0 โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจใหม่. สืบค้นจาก http://www.sudpatapee. com/index.php/2014-08-15-15-18-27/item/176-4-0.

สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2550). หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, กรุงเทพฯ: สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคณภาพการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2549). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. ปทุมธานี : สกายบุ๊กส์.

สำนักงานปลัด กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). ทักษะแสวงหาความรู้ด้วยตัวเอง. สืบค้นจาก http://www.ops. moe.go.th/ops2017/.

เสาวลักษณ์ นิกรพิทยา. (2552). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น กรณีศึกษา: องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ตำบลขามเรียงอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

อารมณ์ ฉนวนจิตร. (2556). เศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการเรียนรู้สู่ชุมชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

Brandes, D., & Ginnis, P. (1996). A Guide to Student-Centred Learning. United Kingdom: Nelson Thornes.

Cohen and Uphoff. (1976). Development Participation: Concept and Measure for Project Design Implementation and Evaluation. New York: Cornell University.

Edward de Bono. (1982). De Bono's Course in Thinking. Retrieved from https://positioningmag. com/6652.

Guilford, J.P. (1967). The Nature of Human Intelligence. McGraw-Hill, Book Company.

Torrance, E.P. (1963). Education and the Creative Potential. Minneapolis: The Lund Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-10-07