บทบาทพยาบาลกับการรักษาขั้นต้นและดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยที่ถูกงูพิษกัด

ผู้แต่ง

  • ชัชวาล วงค์สารี อาจารย์กลุ่มวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

บทบาทพยาบาล, การรักษาขั้นต้นและดูแลต่อเนื่อง, ผู้ป่วยที่ถูกงูพิษกัด

บทคัดย่อ

         ประเทศไทยพบผู้ป่วยที่ถูกงูกัดกว่าปีละประมาณ 6,000 คน ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตและอีกหลายคนเกิดความพิการถาวรจากพิษงู สาเหตุส่วนใหญ่ของการถูกงูพิษกัด เกิดจากคนบุกรุกที่อยู่อาศัยของงูพิษและผลจากจำนวนป่าไม้ที่เป็นที่อาศัยของงูพิษลดน้อยลงทำให้งูพิษบุกรุก ที่พักอาศัยของมนุษย์มากกว่ากึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่ถูกงูพิษกัด เป็นผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมในชนบทและในเขตพื้นที่ชุมชนกึ่งเมือง หลังถูกงูพิษกัดจะเข้ารับการรักษาขั้นต้น ที่สถานพยาบาลระดับปฐมภูมิเป็นที่แรก ก่อนถูกส่งตัวไปรักษาที่สถานพยาบาลที่มีศักยภาพสูงเพื่อการดูแลรักษา  ต่อเนื่องที่มีประสิทธิภาพ ปัจจุบันเเนวโน้มการกระจายตัวของบ้านเรือนมีการบุกรุกพื้นที่ป่าที่เป็นที่อาศัยของงู มากยิ่งขึ้น จึงพบปัญหางูพิษกัดคนอยู่เรื่อยๆ ดังนั้นเพื่อการรักษาขั้นต้นและการดูเเลต่อเนื่องที่มีประสิทธิภาพพยาบาลที่ปฏิบัติงานในระบบสุขภาพต้องสามารถดูแลผู้ป่วยที่ถูกงูพิษกัดได้ โดยปฏิบัติดังนี้ 1) การปฐมพยาบาลผู้ที่ถูกงูพิษกัด ณ จุดเกิดเหตุ ด้วยการประเมินสภาพ จัดการดาม อวัยวะที่ถูกงูพิษกัดให้อยู่นิ่งและรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที 2) การจำแนกระดับความรุนแรงตามอาการและอาการแสดง 3) การให้การบำบัดทางการพยาบาลตามอาการที่วิกฤตชีวิต เช่น หายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ภาวะกล้ามเนื้อลายสลายตัวเฉียบพลัน ภาวะไตวายเฉียบพลัน และการบำบัดทางการพยาบาลด้วยการให้เซรุ่มต้านพิษงู 4) การดูแลผู้ป่วยในระยะต่อเนื่องตามพยาธิสรีรวิทยา ของพิษงูแต่ละชนิด และให้การฟื้นฟูสภาพร่างกายผู้ป่วย 5) การให้คำแนะนำ เพื่อป้องกันการถูกงูพิษกัดและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อถูกงูพิษกัด

References

จตุพร ศิริกุล. (2555). Venomous Snake Bite. วารสารอุบัติเหตุ. 31(1), 5-14.

จำปา สำรวม. (2559). เเตกตื่น ผู้ป่วยถูกงูกัดหิ้วซากงูยักษ์บุกโรงพยาบาล ขอความช่วยเหลือ. [ออนไลน์].สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2560, จาก https://news.mthai.com.

ชัชวาล วงค์สารี, และอุทัยวรรณ พงษ์บริบูรณ์. (2557). กฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น พี เพรส.

ชัชวาล วงค์สารี. (2559). การพยาบาลอายุรศาสตร์-ศัลยศาสตร์โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ. กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น พี เพรส.

ชำนาญ ม่วงเเดง. (2558). งูพิษกัด. ใน แสงโฉม ศิริพานิช (บรรณาธิการ), สรุปรายงานการเฝ้าระวัง ประจำปี 2558.[ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2560, จาก http://boe.moph.go.th.

บุณฑริกา สุวรรณวิบูลย์. (2553). Disseminated Intravascular Coagulation (DIC): Where are we now?.วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต. 20(1), 7-10.

วิชญา เวชยันต์ศฤงคาร. (2555). รายงานผู้ป่วย: Exertional Rhabdomyolysis. J Prapokklao Hosp Clin Med Educat Center. 29(3), 229-235.

วิลาภรณ์ บุญเชียง และวิลาวัณย์ เตือนราษฎร์. (2557). การรักษาพยาบาลโรคเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3.เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุชัย สุเทพารักษ์. (2556). เซรุ่มต้านพิษงู. ใน จารุวรรณ ศรีอาภา (บรรณาธิการ), ยาต้านพิษ 3. สมาคมพิษวิทยา กรุงเทพ : บริษัท สแกนแอนด์ พริ้นท์ จำกัด.

สุชัย สุเทพารักษ์. (2557). ปัญหาที่พบบ่อยจากการดูแลผู้ป่วยที่ถูกงูพิษกัด. ใน จารุวรรณ ศรีอาภา (บรรณาธิการ), ยาต้านพิษ 4. สมาคมพิษวิทยา กรุงเทพฯ : บริษัท สแกนแอนด์ พริ้นท์ จำกัด.

สุชัย สุเทพารักษ์. (2559). การดูแลผู้ป่วยถูกงูพิษกัดในประเทศไทยและแนวทางการรักษาโดยองค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. Plenary lecture 1, 21-22 September,2016: Thailand the 7 National Conferrence in Toxicology.

สํานักพัฒนาวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2547). แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยถูกงูพิษกัด.นนทบุรี : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

อานุภาพ เลขะกุล. (2557). การดูแลรักษาผู้ป่วยที่ถูกงูกะปะกัด. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต.24(2), 163-173.

Rojnuckarin, P., Suteparuk S, & Sibunruang, S. (2002). Diagnosis and management of venomous snakebites in Southeast Asia. Asian Biomedicine. 6(6), 795-805.

Tintinalli, Judith E., J. Stephan Stapczynski, O. John Ma, Donald M. Yealy, Garth D. Meckler , & David M. Cline. (2016). Tintinalli's Emergency Medicine: A Comprehensive Study Guide. 8 edition. American Collage of Emergency Physicians : McGraw-Hill.

World Health Organization regional Office for Africa. (2010). Guidelines for Prevention and Clinical Management of snakebites in Africa. [Online]. Retrieved August 7,2018, from http://www. who.int/news-room/search-results?.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-09-30