ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของนวัตกรรมทางธุรกิจที่มีต่อประสิทธิผลองค์การ ของธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม

ผู้แต่ง

  • ชิษณุพงษ์ ทองพวง อาจารย์ประจำ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

นวัตกรรมทางธุรกิจ, ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของนวัตกรรมทางธุรกิจด้านภาวะผู้นำ การวางแผน สารสนเทศ คน และกระบวนการที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลองค์การของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในนวัตกรรมทางธุรกิจด้านภาวะผู้นำ การวางแผน สารสนเทศ คน กระบวนการ และประสิทธิผลองค์การของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและจังหวัดราชบุรีที่จดทะเบียนลักษณะธุรกิจประเภทนิติบุคคล ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2561 จำนวน 2,657 คน จำนวน 375 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น (Structural equation modeling: SEM) เป็นสถิติ ประเภทตัวแปรพหุ (Multivariate Statistics) ที่บูรณาการเทคนิคการวิเคราะห์ด้วย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis) และการวิเคราะห์เส้นทาง (Path analysis) ข้อค้นพบจากการวิจัย แสดงว่า

          1. นวัตกรรมทางธุรกิจด้านภาวะผู้นำ การวางแผน สารสนเทศ คน กระบวนการและประสิทธิผลองค์การของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีความสัมพันธ์กัน

          2. นวัตกรรมทางธุรกิจด้านภาวะผู้นำมีอิทธิพลโดยตรงต่อประสิทธิผลองค์การของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (gif.latex?\beta= 0. 29, p<.05), นวัตกรรมทางธุรกิจด้านการวางแผนมีอิทธิพลโดยตรงต่อประสิทธิผลองค์การ ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (gif.latex?\beta= 0.65, p<.05), นวัตกรรมทางธุรกิจด้านสารสนเทศมีอิทธิพลโดยตรงต่อประสิทธิผลองค์การของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (gif.latex?\beta= 0.68, p< .05), นวัตกรรมทางธุรกิจด้านคนมีอิทธิพลโดยตรงต่อประสิทธิผลองค์การของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (gif.latex?\beta= 0.62, p<.05), นวัตกรรมทางธุรกิจด้านกระบวนการมีอิทธิพลโดยตรงต่อประสิทธิผลองค์การของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (gif.latex?\beta= 0.66, p<.05), นวัตกรรมทางธุรกิจด้านภาวะผู้นำมีอิทธิพลโดยอ้อมต่อ ประสิทธิผลองค์การของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  ใน 4 ลักษณะ คือ ผ่านการวางแผน (gif.latex?\beta=0.25, p<.05) ผ่านสารสนเทศ (gif.latex?\beta= 0.22, p<.05) ผ่านคน (gif.latex?\beta= 0.27, p<.05) และผ่านกระบวนการ (gif.latex?\beta=0.35,p<.05) โดยรูปแบบดังกล่าวสามารถอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผลได้ร้อยละ 65 ข้อค้นพบจากการวิจัย สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการนวัตกรรมในองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้สามารถพัฒนาและเติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไป

References

กาญจนา เกษร. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

กาญจนา สุคัณธสิริกุล. (2554). ผลกระทบของธุรกิจแห่งนวัตกรรมที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2561). ข้อมูลธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 3 มิถุยายน 2561 จาก: https://www.dbd.go.th/main.php?filename=index.

ปิ่นปินัทธ์ นฤบากบุญทรัพย์. (2553). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุประสิทธิผลการบริหาร โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร. ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

ประจักษ์ ทรัพย์อุดม. (2541). แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วย Competency. กรุงเทพฯ:ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์.

พัฒนะ สีหานู. (2553). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

พัฒนชัย กุลสิริสวัสดิ์. (2551). การเตรียมองค์กรเพื่อรับการตรวจประเมินตามแนวทาง TQA. กรุงเทพฯ:บริษัท พงษ์วรินการพิมพ์ จำกัด.

ธวัชชัย ตั้งอุทัยเรือง. (2557). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลของโรงเรียนประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคกลางของประเทศไทย.ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

รังสรรค์ อ้วนวิจิตร. (2554). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก.ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

รุจิราพรรณ คงช่วย. (2556). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการจัดการการศึกษาระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภูมิศาสตร์ภาคใต้. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ลัดดาวัลย์ บุญเลิศ. (2554). การวางแผนกลยุทธ์กับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ. (2554). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: บริษัท ศิวา โกลด์มิเดีย จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2553). ยุทธศาสตร์อุดมศึกษาไทยในการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด บางกอกบล๊อก.

สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2561). ข้อมูลธุรกิจ SMEs. [ออนไลน์ ]. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุยายน 2561 จาก:https://www.ismed.or.th/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A1-smes/.

Andrea Banto. (2011). Effect of Organizational Culture Traits on Perceived Organizational Effectiveness for American Subsidiaries in Romania. Dissertation for the Degree of Doctor of Business Administration. Argosy University.

Carl D. Glickman, Stephen P. Gordon and Javita M. Ross-Gordon. (2010). Super Vision and Instructional Leadership. 8 ed. Boston: Pearson Education Inc.

Cooper, J.D. (2010). Collective efficacy, organizational citizenship behavior, and school effectiveness in Alabama public high schools. Dissertation for the Degree of Doctor of Education in the department of Educational Leadership, Policy, and Technology Studies. In the Graduate School of the University of Alabama.

Eleanor A. Henry. (2011). Is the Influence of Organizational Culture on Ornganizational Effectiveness Universal? An Examination of the Relationaship in the Electronic Media(Radio) Service Sector in the English Speaking Caribbean. Degree of Doctor of Business Administration in H. Wayne Huizenga School of Business and Entrepreneurship of Nova Southeastern University.

Jehad Aldehayyat and Adel Al Khattab. (2013). Strategic Planning and Organisational Effectiveness in Jordanian Hotels. International journal of Business and Management. 8(1), 11-25.

Jonathan Bart Reeves. (2010). Academic optimism and organizational climate: An elementary school effectiveness test of two measures. Degree of Doctor of Education in the Department of Educational Leadership, Policy, and Technology Studies. In the Graduate School of the University of Alabama.

Quinn, R.E. and Rohrbaugh, J. (1983). A Spatial Model of Effectiveness Criteria: Towards A Competing Values Approach to Organizational Analysis. Management Science. 29(3), 363-377.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-14