ผลของการใช้สิ่งแวดล้อมบำบัดต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของ เด็กออทิสติกวัยเรียนอาการรุนแรง

ผู้แต่ง

  • ประจักษ์ พุกสุภา
  • จินตนา ยูนิพันธุ์

คำสำคัญ:

สิ่งแวดล้อมบำบัด, เด็กออทิสติกอาการรุนแรง, พฤติกรรมก้าวร้าว

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กออทิสติกวัยเรียนอาการรุนแรงก่อนและหลังได้รับการใช้สิ่งแวดล้อมบำบัด และเปรียบเทียบพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กออทิสติกวัยเรียนอาการรุนแรงระหว่างกลุ่มที่ได้รับการใช้สิ่งแวดล้อมบำบัดกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง

วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กออทิสติกที่อาการรุนแรง อายุ 6-12 ปี และผู้ดูแลหลักที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยใน สถาบันราชานุกูล ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ โดยได้รับการจับคู่ (Matched pair) และการสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 18 คู่ กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมการใช้สิ่งแวดล้อมบำบัดระยะเวลา 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กออทิสติกและผู้ดูแลหลัก 2) แบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวเด็กออทิสติก 3) แนวทางปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้สิ่งแวดล้อมบำบัดสำหรับเด็กออทิสติกวัยเรียนอาการรุนแรง 4) คู่มือการใช้สิ่งแวดล้อมบำบัดสำหรับเด็กออทิสติกวัยเรียนอาการรุนแรงสำหรับผู้ดูแล และ 5) แบบประเมินความสามารถการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวเด็กออทิสติกวัยเรียนอาการรุนแรงที่บ้านสำหรับผู้ดูแลหลัก เครื่องมือทุกฉบับได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน และได้ค่าความเที่ยงแบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวเท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที (t-test)

ผลการวิจัย: 1) พฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กออทิสติกวัยเรียนอาการรุนแรงหลังการได้รับการใช้สิ่งแวดล้อมบำบัดลดลงกว่าก่อนได้รับการบำบัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) พฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กออทิสติกวัยเรียนอาการรุนแรงกลุ่มที่ได้รับการใช้สิ่งแวดล้อมบำบัดลดลงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

สรุป: การใช้สิ่งแวดล้อมบำบัดในการปฏิบัติการพยาบาลเด็กออทิสติกวัยเรียนที่มีอาการรุนแรง ส่งผลให้พฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กลดลงได้

References

Barbaresi WJ, Katusic SK, Voigt RG. Autism: a

review of the state of the science for

pediatric primary health care clinicians.

Archives of Pediatric and Adolescent

Medicine 2006; 160(11): 1167-75.

Ruangtrakul S. Textbook Children and

Adolescent. 2nd ed. Bangkok: Ruen Kaew

Printing House; 2008.

Carter AS, Black DO, Tewani S, Connolly CE,

Kadlec MB, Tager-Flusberg H. Sex

differences in toddlers with autism

spectrum disorders. Journal of autism

and developmental disorders 2007;

(1): 86-97.

Trangkasombat U. Helping an autistic child.

nd ed. Bangkok: Research and

Development Center Family; 2008

Rimland B, Edelson SM. Autism Treatment

Evaluation Checklist (ATEC) [internet].

[Cited 2020 June 22]. Available

from: https://psycnet.apa.org/doi

Landing? doi=10.1037%2Ft03995-000

Medical Statistics of Rajanukul Institute.

Annual Report. Bangkok: Rajanukul

Institute, 2018.

Yudofsky SC, Silver JM, Jackson W, Endicott J,

Williams D. The Overt Aggression Scale

for the objective rating of verbal and

physical aggression. The American

journal of psychiatry 1986; 143(1): 35-9.

Doi: 10.1176/ajp.143.1.35

Kloosterman PH, Kelley EA, Parker JD, Craig

WM. Executive functioning as a predictor

of peer victimization in adolescents with

and without an Autism Spectrum

Disorder. Research in autism spectrum

disorders 2014; 8(3): 244-54.

Kanne SM, Mazurek MO. Aggression in children

and adolescents with ASD: Prevalence

and risk factors. Journal of Autism and

Developmental Disorders 2011; 41(7):

-37.

Hill AP, Zuckerman KE, Hagen AD, Kriz DJ,

Duvall SW, Van Santen J, et al. Aggressive

behavior problems in children with

autism spectrum disorders: Prevalence

and correlates in a large clinical sample.

Research in Autism Spectrum Disorders

; 8(9): 1121-33.

Isaranarug S. Emotional and social development

of children aged 6-12 years.

Journal of Public Health and Development

; 4(2): 89-100. (in Thai).

Borge L, Rossberg JI, Sverdrup S. Cognitive

milieu therapy and physical activity:

experiences of mastery and learning

among patients with dual diagnosis.

Journal of Psychiatric and Mental Health

Nursing 2013; 20(10): 932-42.

Mancil GR, Conroy MA, Haydon TF. Effects

of a modified milieu therapy intervention

on the social communicative behaviors

of young children with autism spectrum

disorders. Journal of Autism and

Developmental Disorders 2009; 39(1):

-63.

Yungsantia C, Yunibhan J. A study of nursing

care emphasizing milieu therapy on

aggressive behaviors of mentally

retarded children, Rajanukul Institute

[Master’s thesis in Nursing Program].

Bangkok: Chulalongkorn University;

Pangpromma N, Yunibhan J, Upasaen R.

The effect of behavior therapy with

family involvement on aggressive

behaviors of autistic children [Master’s

thesis in Nursing Program]. Bangkok:

Chulalongkorn University; 2015.

Leelanuntakit T. Management of aggressive

and violent patients with the safety of

patients and care takers. Bangkok:

Thammasat Printing House; 1998. p. 167.

Nightingale F. Notes on Nursing. Philadelphia:

J.B. Lippincott; 1992.

Skinner BF. Science and human behavior.

New York: The Free Press; 1953.

Thongpetch A, Yunibhan J. The effect

of behavior therapy on aggressive

behaviors of autistic children, out

patient department [Master’s thesis in

Nursing Program]. Bangkok: Chulalongkorn

University; 2011.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-27