ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยโยคะต่อความเหนื่อยล้า และคุณภาพชีวิตของมารดาหลังคลอดครรภ์แรก

ผู้แต่ง

  • พรรณยุพา เนาว์ศรีสอน
  • ศิริวรรณ แสงอินทร์
  • พิริยา ศุภศรี

คำสำคัญ:

ออกกำลังกายด้วยโยคะ, ความเหนื่อยล้า, คุณภาพชีวิต, มารดาหลังคลอดครรภ์แรก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยโยคะต่อความเหนื่อยล้าและคุณภาพชีวิต
ของมารดาหลังคลอดครรภ์แรก
แบบแผนการวิจัย: วิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาหลังคลอดครรภ์แรกที่พักฟื้น ณ หอผู้ป่วยสูติ-นรีเวชกรรม
โรงพยาบาลนครพนม คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 52 ราย แบ่งเป็น
กลุ่มควบคุม 26 ราย และกลุ่มทดลอง 26 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลอง
ได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยโยคะร่วมกับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม
ข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางสูติศาสตร์ แบบประเมินความเหนื่อยล้า
และแบบวัดคุณภาพชีวิต เอสเอฟ 12 เวอร์ชั่น 2 ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา
การทดสอบของฟิชเชอร์ การทดสอบค่าทีแบบอิสระ และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ
ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความเหนื่อยล้าน้อยกว่ากลุ่มควบคุม และมีคะแนนเฉลี่ยความเหนื่อยล้า
หลังการทดลองน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิต
ดีกว่ากลุ่มควบคุม และมีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตหลังการทดลองดีกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: ผลการวิจัยนี้ส่งผลให้มารดาหลังคลอดมีความเหนื่อยล้าลดลงและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ดังนั้น จึงควรนำ
โปรแกรมนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการกับความเหนื่อยล้าและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของมารดาหลังคลอด

References

Lowermilk DL.Maternal women’shealthcare.9th ed. China: Elsevier; 2007.

Costa DD, Dritsa M, Rippen N, Lowensteyn L, Khalife S. Health related quality of life in postpartum depressed women. Archives of Women’s Mental Health 2006;9(2):95-102.

Maloni JA, Park S. Postpartum symptoms after antepartum bed rest. Journal of Obstetric Gynecologic and Neonatal Nursing 2004;34(2):163-171.

Torkan B, Parsay S, Lamyian M, Kazenejad A,Montazeri A.Postnatal qualityinmother of life in women after normal vaginal deliveryand caesareansection.BioMed CentralPregnancyand Childbirth2009; 9(4):1-7.

Coyle SB. Health related quality of life ofmothersareview of theresearchhealth care for women international. Health Care for Women International 2009; 30(6):484–506.

Fhunpayom S, Kantaruksa K, Baosoung C. Systematicreviewoffatiguemanagement among postpartum women. NursingJournal 2014;41(3):60-69.(In Thai)

Ashrafinia F, Mirmohammadali M, Rajabi H, Kazemnejad A, Sadeghniiat Haghighi K, Amelvalizadeh M. Effect of pilatesexercises on postpartum maternal fatigue. Singapore Med Journa 2015; 56(3):169-173.

Ko YL, Yang CL, Chiang LC. Effects of postpartumexercise programonfatigue and depression during “doing the month” period. The Journalof Nursing Research 2008;16(3):178-186.

SuvarnarongK.The pathofYoga: thescience challenging nurse’s role. Journal of Nursing Science 2015;32(1):15-24. (In Thai)

Kaminoff L, Matthews A. Yoga anatomy. 2nd ed. California: Human kinetics; 2012.

Somsap Y, Harnprasertpong T, JongpaiboonwattanaW,PrugprathanonthK, Juthong W. Impact of Yoga Nidra

practice on postpartum women’s fatigue.Thai Journalof Nursing Council 2016;31(4):38-49.(In Thai)

Satyapriya M, Nagarathna R, Padmalatha V, Nagendra HR. Effect of integrated Yoga on anxiety, depression and well being in normal pregnancy. Complementary TherapiesClinicalPracticeanInternational

Journal 2013;19(4):230-236.

BahadoranP, AbbasiF,Yousefi AR,Kargarfard M. Evaluating the effect of exercise on the postpartum quality of life. Iranian JournalofNursingandMidwiferyResearch 2006:12(1):17-20.

Mahishale AV, Maria Vlorica, LPA, Patil HS. Effectof postnatalexerciseson quality of lifeinimmediate postpartummother: a clinical trail. Journal of South Asian FederationofObstetricaandGynaecology

;6(1):11-14.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-11

ฉบับ

บท

บทความวิจัย