ผลของโปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการดูแลของครอบครัวต่ออาการออทิสติกของเด็กออทิสติกวัยก่อนเรียน

Main Article Content

สุชาวลี พันธ์พงษ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบอาการออทิสติกของเด็กออทิสติกวัยก่อนเรียนก่อนและหลังได้รับโปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการดูแลของครอบครัว และเปรียบเทียบอาการออทิสติกของเด็กออทิสติกวัยก่อนเรียนที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการดูแลของครอบครัวกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ


รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง


วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กที่ออทิสติกอายุ 3-6 ปี และครอบครัวที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ โดยได้รับการจับคู่ (Matched pair) และการสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 20 คู่ กลุ่มทดลองได้รับการเข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการดูแลของครอบครัว เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินอาการรุนแรงของโรคออทิซึม แบบประเมินพลังอำนาจ โปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการดูแลของครอบครัว สำหรับพยาบาล และคู่มือการดูแลเด็กออทิสติก สำหรับครอบครัว เครื่องมือทุกฉบับได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคของแบบประเมินอาการรุนแรงของโรคออทิซึม เท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที (t-test)


ผลการวิจัยสรุปดังนี้:


       1.คะแนนเฉลี่ยอาการออทิสติกของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการดูแลของครอบครัวน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


  1. คะแนนเฉลี่ยอาการออทิสติกของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการดูแลของครอบครัวน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

สรุป: การใช้โปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการดูแลของครอบครัวสามารถทำให้อาการออทิสติกของเด็กออทิสติกวัยก่อนเรียนลดลงได้ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Zablotsky B, Black LI, Maenner MJ, Schieve LA, Blumberg SJ. Estimated prevalence of autism and other developmental disabilities following questionnaire changes in the 2014 National Health Interview Survey 2015 [20 Dec. 2017]. Available from: https://www.cdc.gov/ncbddd/autism/data.html.
2. American Psychiatric Association. Diagnostic and statistical manual of mental disorders (DSM-5®). 5th ed. Washington, D.C.: American Psychiatric Pub; 2013.
3. Rimland B, Edelson SM. Autism treatment evaluation checklist (ATEC). SanDiego: Autism Research Institute:; 2000 Retrieved October, 23, 2006.
4. เพ็ญแข ลิ่มศิลา. รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับออทิซึม. สมุทรปราการ ช.แสงงามการพิมพ์; 2541.
5. Steinman GD, Mankuta D, Zuckerman R, Gray F. The cause of autism: Concepts and Misconceptions. New York: Baffin Book Publishing; 2014.
6. Zablotsky B, Bramlett M, Blumberg SJ. Factors associated with parental rating of condition severity for children with autism spectrum disorder. Disability and Health Journal. 2015;8(4):626-34.
7. Missouri Autism Guidelines Initiative. Autism spectrum disorders: Guide to evidence-based interventions: Missouri Foundation for Health: St. Louis and Springfiled, MO; 2012.
8. ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. คู่มือออทิสติก สำหรับผู้ปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ 5 ed. กรุงเทพ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2555.
9. Oono IP, Honey EJ, McConachie H. Parent-mediated early intervention for young children with autism spectrum disorders (ASD). Evidence‐Based Child Health: A Cochrane Review Journal. 2013;8(6):2380-479.
10. Meirsschaut M, Roeyers H, Warreyn P. Parenting in families with a child with autism spectrum disorder and a typically developing child: Mothers’ experiences and cognitions. Research in Autism Spectrum Disorders. 2010;4(4):661-9.
11. Stillman W. Empowered autism parenting: celebrating (and defending) your child's place in the world. San Francisco: Jossey Bass; 2009.
12. Ebrahimi H, Malek A, Babapoor J, Abdorrahmani N. Empowerment of mothers in raising and caring of child with autism spectrum disorder. International research journal of applied and basic sciences. 2013;4(10):3109-13.
13. Miller JF. Coping with chronic illness: overcoming powerlessness. 2nd ed. Philadelphia: Davis; 2000.
14. Gibson CH. The process of empowerment in mothers of chronically ill children. Journal of advanced nursing. 1995;21(6):1201-10.
15. Musker M, Byrne M. Applying empowerment in mental health practice. Nursing standard (Royal College of Nursing (Great Britain): 1987). 1997;11(31):45-7.
16. Tamanaha A. C., J. P. Measures of time to speech and language therapy for children with autism spectrum disorder. Audiol Commun Res. 2014;19(3):258-63.
17. Pfeiffer BA, Koenig K, Kinnealey M, Sheppard M, Henderson L. Effectiveness of sensory integration interventions in children with autism spectrum disorders: A pilot study. American Journal of Occupational Therapy. 2011;65(1):76-85.
18. Scott M. Myers, Johnson CP. Management of Children With Autism Spectrum Disorders. Pediatrics. 2007;120(5).