การพัฒนารูปแบบการดูแลภาวะข้อเข่าเสื่อมในชุมชน โดยพยาบาลเวชปฏิบัติ นักการแพทย์แผนไทย และหมอนวดแผนไทยชุมชน ในชุมชน

ผู้แต่ง

  • รวินันท์ นุชศิลป์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราม คําแหง
  • เพชรธยา แป้นวงษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • ปริยฉัตร สิงหาบุตร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลอง
  • พัชรินทร์ จันทร์หอม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดจันทร์

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบการดูแลภาวะข้อเข่าเสื่อม, พยาบาลเวชปฏิบัติ, นักการแพทย์แผนไทย, หมอนวดแผนไทยชุมชน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบการดูแลภาวะข้อเข่าเสื่อมในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของพยาบาลเวชปฏิบัติ นักการแพทย์แผนไทย และหมอนวดแผนไทยชุมชน

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยและพัฒนา

วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยแบบสำรวจสัดส่วนและความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 1) บุคคลที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป จำนวน 136 คน เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการดูแล 2) พยาบาลเวชปฏิบัติ นักการแพทย์แผนไทย และหมอนวดแผนไทยชุมชน รวม 18 คน เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลฯ 3) บุคคลที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม จำนวน 40 คน ถูกเลือกแบบเจาะจง เพื่อใช้ในการดำเนินและประเมินผลรูปแบบการดูแลภาวะข้อเข่าเสื่อมในชุมชน เครื่องมือที่ใช้ 1) แบบประเมินคัดกรองภาวะข้อเข่าเสื่อม 2) แบบประเมินระดับความรุนแรงข้อเข่าเสื่อม 3) แบบประเมินผลรูปแบบการดูแลภาวะข้อเข่าเสื่อมในชุมชน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.85, 0.87 และ 0.81 ตามลำดับ มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.82, 0.84 และ 0.79 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และทดสอบค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติทดสอบที

ผลการวิจัย: พฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระดับความปวดและระดับความรุนแรงของภาวะข้อเข่าเสื่อมลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

สรุป: ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า รูปแบบการดูแลภาวะข้อเข่าเสื่อมในชุมชนที่มีพยาบาลเวชปฏิบัติ นักการแพทย์แผนไทย หมอนวดแผนไทยชุมชน ร่วมกันพัฒนาตามข้อมูลจากกระบวนการสร้างหุ้นส่วนสุขภาพส่งผลต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองดีขึ้น ระดับความปวดและระดับความรุนแรงลดลง

References

Watthanawut V., & Buacharoen B. The Process of Health Partnership for the Elderly Osteoarthritis in Phitaktham Community, Tumbon Samrongtai, Prapadaeng District, Samut Prakarn Province. HCU Journal 2017; 20(40), 53-65. (in Thai)

National Statistical Office. Report of Survey of the Elderly in Thailand 2017. Bangkok: National Statistical Office; 2017. (in Thai).

Nimitanan N. Epidemiological situation and rheumatology risk assessment osteoarthritis of the knee in Thai people. Royal Thai Army Nursing Journal 2014; 15(3): 185-94. (in Thai)

Iwamoto J, Takeda T, Sato Y. Effect of muscle strengthening exercises on the muscle strength in patients with osteoarthritis of the knee. Knee. 2007; 14 (3): 224-30. doi:10.1016/j.knee.2007.03.002.

Karaket S. A comparative study of pain levels before and after treatment with cold herbal mud and Thai massage in elderly patients with knee pain. CMJ 2017; 9(2): 115-24. (in Thai)

Klinsrisuk S. Effects of applied Thai massage on pain and function of knee joints in patients with primary osteoarthritis: A randomized comparative study. Journal of Medical Technology and Physical Therapy 2017; 19(3), 248-260. (in Thai)

Wanna M, Khumpang M. The effectiveness of massage combined with herbal compress in patients with osteoarthritis Muang Suang Hospital Roi Et Province Koch Cha Sarn Journal of Science 2018; 40(1): 120-30. (in Thai)

Huber DL. Leadership and nursing care management. 3rd ed. Philadelphia: Saunders; 2006.

Srisaard B. (2017). Preliminary Research. 3rd ed. Bangkok: Suwiriyasan; 2017.

Kongwiang N. Efficacy in treating osteoarthritis patients with operative science “burning hot drugs”. Uthai Thani: Sawang Arom Hospital; 2017. (in Thai)

Aksaranukroh S. special article modified WOMAC Scale Knee Pain Department of Rehabit Faculyt of Medicine Chulalongkorn University. J Thai Rehabit 2000; 9(3): 82-85. (in Thai)

Thongdaeng S. Factors related to health promotion behaviors in patients with osteoarthritis in: Annual National Academic Conference Documents 2014 (National Research Conference 2014). Patumthani: Rungsit University; 2014. (in Thai)

Singha S. Factors Affecting Self-Care Behaviors of Elderly with Osteoarthritis in Phraeksa Sub-district Municipality, Muang District, Samut Prakan Province by Applying King's Theory of Trying. [Master’s thesis, Nursing program, Community Nursing Branch]. Samut Prakan: Huachiew Chalermprakiat University; 2014. (in Thai)

Phithanthananukul P. Management of chronic pain among the elderly living in the community. Journal of nurses Association of Thailand Northern office 2013; 29(4), 58-67. (in Thai)

Chuaychan T. The Development of Management Model for Knee Osteoarthritis in Community by Collaboration Between Nurse Practitioners and Village Health Volunteers. Songklangarind Journal of Nursing 2018; 38(2), 43-59. (in Thai)

Butt G, Markle-Reid M, Browne G. Interprofessional partnerships in chronic illness care: A conceptual model for measuring partnership effectiveness. International Journal of Integrated Care [internet]. 2008 [Cited 2022 Dec 16]. 8:1-14. Available from:http://www.ijic.org/.

Thangkratok P.,& Petchsuk P. Care Management Model for Older Adults with Chronic Diseases in the Community. Royal Thai Navy Medical Journal 2020; 47(1), 234-248. (in Thai)

Methabutr C. Development of Management Model for Osteoarthritis among Elderly in Chumphuang District, Nakhon Ratchasima Province. Regional Health Promotion Center 9 Journal 2022; 16(3), 969-985. (in Thai)

Pukdeesamai, R., & Panichacheewakul, P. Improving care for elderly with knee pain at Ban Bak Tambol health promotion hospital, Changhan District, Roi Et province. Journal of Nursing Science & Health 2011; 34(4), 46-55. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-17