ผลของการชี้แนะต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ฉีดอินซูลิน
Main Article Content
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการชี้แนะต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ฉีดอินซูลิน
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง
2.1 วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับการรักษาโดยการฉีดอินซูลิน อายุ 30-65 ปี ที่มีระดับ HbA1C ระหว่าง 7-9% มารับบริการที่หน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ คลินิกเบาหวานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา จำนวน 50 คน คัดเลือกโดยสุ่มอย่างง่าย จัดเข้าเป็นกลุ่มทดลอง 25 คน และกลุ่มควบคุม 25 คน กลุ่มทดลองได้รับการชี้แนะ คู่มือการจัดการตนเอง วงล้อมหัศจรรย์ และรู้ทันอินซูลิน กลุ่มควบคุมได้รับบริการตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการชี้แนะตามแนวคิดของ Haas จำนวน 5 ครั้ง ประกอบด้วย การชี้แนะที่คลินิก 2 ครั้ง ชี้แนะที่บ้าน 2 ครั้ง ชี้แนะทางโทรศัพท์ 1 ครั้ง รวมระยะเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเอง และแบบบันทึกผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (FBS) แบบสอบถามมีค่า CVI เท่ากับ 1 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ.86วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบที (t-test)
ผลการวิจัย: 1) กลุ่มที่ได้รับการชี้แนะมีค่าเฉลี่ยผลต่างคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเอง มากกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 10.67, p < .001)
2) กลุ่มที่ได้รับการชี้แนะมีค่าเฉลี่ยผลต่างระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -4.15, p < .001)
สรุป: การชี้แนะส่งผลให้ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ฉีดอินซูลินมีพฤติกรรมการจัดการตนเองทุกด้านดีขึ้น ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารลดลงArticle Details
ลิขสิทธิ์ของบทความที่ตีพิมพ์เป็นของวารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งฉบับตีพิมพ์เป็นรูปเล่มและเอกสารออนไลน์