ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลจาก การพรากจากของเด็กวัยก่อนเรียนที่เข้ารับบริการ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

นุชจรี หิรัญบุตร
นฤมล ธีระรังสิกุล

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลจากการพรากจากของเด็กวัยก่อนเรียนที่เข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก


รูปแบบการวิจัย: เป็นการวิจัยแบบพรรณาเชิงหาความสัมพันธ์


วิธีดำเนินการวิจัย: เก็บรวบรวบข้อมูลจากครอบครัวผู้ดูแลหลักของเด็กที่เข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดจันทบุรี จำนวน 74 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มจำนวนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแบบ Cluster sampling ได้จำนวน 5 ศูนย์ หลังจากนั้นเลือกผู้ดูแลหลักของเด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามคุณสมบัติที่กำหนด เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2558 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกพฤติกรรมความวิตกกังวลจากการพรากจาก มีค่าความเชื่อมั่น (Kuder Richardson 20: KR20) เท่ากับ .93 แบบสอบถามพื้นฐานอารมณ์ของเด็กวัยก่อนเรียน แบบสอบถามสัมพันธภาพระหว่างเด็กกับผู้ดูแล และแบบสอบถามรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กของมารดา  มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .80,  .93 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


ผลการวิจัย: สัมพันธภาพระหว่างเด็กกับผู้ดูแลหลัก มีความสัมพันธ์ทางลบกับความวิตกกังวลจากการพรากจากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.23, p < .05) และมีความสัมพันธ์ทางลบกับความวิตกกังวลจากการพรากจากระยะประท้วงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.28, p = .01)  พื้นฐานอารมณ์ของเด็กและรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบตามใจมีความสัมพันธ์ทางลบกับความวิตกกังวลจากการพรากจากในระยะปฏิเสธอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.28, p = .01)  และ r = -.23 p < .05 ตามลำดับ) แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลจากการพรากจากในภาพรวม (p < .05) 


สรุป: พยาบาลและผู้เกี่ยวข้องในการดูแลเด็กควรส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างเด็กกับผู้ดูแลหลักและพื้นฐานอารมณ์ที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัยก่อนเรียน และส่งเสริมการเลี้ยงดูเด็กแบบให้ความรักมาก การควบคุมอยู่ในระดับปานกลาง มีการใช้เหตุผล ไม่ปล่อยตามใจ เพื่อลดความวิตกกังวลจากการพรากจากของเด็กวัยก่อนเรียนที่เข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

Article Details

Section
Research articles