การบูรณาการมิติเพศภาวะในการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรค: ประสบการณ์จากบุคลากรด้านสุขภาพ
Main Article Content
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสบการณ์ของบุคลากรทางด้านสุขภาพ ที่ประยุกต์ใช้การบูรณาการมิติเพศภาวะในการปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยวัณโรค
แบบแผนการวิจัย: การวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) เพื่อศึกษาการบูรณาการมิติเพศภาวะในการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคจากประสบการณ์ของบุคลากรด้านสุขภาพ
วิธีดำเนินการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูล คือ บุคลากรด้านสุขภาพที่ดูแล รักษาผู้ป่วยวัณโรค คัดเลือกแบบเจาะจงจากโรงพยาบาลรัฐใน 5 จังหวัด จำนวน 78 ราย เก็บข้อมูลด้วยการสังเกต สัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลและตีความผ่านการให้รหัสเปิด (Open coding) เพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัย
ผลการวิจัย: ประสบการณ์ของบุคลากรด้านสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคโดยใช้การบูรณาการมิติเพศภาวะ แบ่งออกได้ 4 ประเด็น ดังนี้ 1) ประสบการณ์การวิเคราะห์เพศภาวะในการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรค 2) ประสบการณ์การบูรณาการมิติเพศภาวะในความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรด้านสุขภาพกับผู้ป่วย เพื่อลดการใช้อำนาจกับผู้ป่วย และเสริมพลังอำนาจให้ผู้ป่วย 3) ประสบการณ์การบูรณาการมิติเพศภาวะในการทำงานระดับชุมชน เพื่อลดการตีตราผู้ป่วยในชุมชน และ 4) ประสบการณ์การบูรณาการมิติเพศภาวะในการจัดระบบบริการสุขภาพ
สรุป: การบูรณาการมิติเพศภาวะในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคนั้นมีความสำคัญต่อการทำงานของบุคลากรด้านสุขภาพอย่างยิ่งทั้งช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อผู้ป่วยวัณโรคที่มีความต้องการ และข้อจำกัดที่แตกต่างกันจนสามารถนำไปสู่การให้บริการ การวางแผนการรักษาที่เหมาะสมจนเกิดให้เกิดผลสำเร็จในการรักษาได้ ซึ่งบุคลากรด้านสุขภาพสามารถนำไปประยุกต์ใช้ และวางแผนด้านการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยวัณโรค และผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านสุขภาพอื่น ๆ ต่อไปได้
Article Details
ลิขสิทธิ์ของบทความที่ตีพิมพ์เป็นของวารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งฉบับตีพิมพ์เป็นรูปเล่มและเอกสารออนไลน์