การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง ระดับรุนแรง โดยใช้การจัดการรายกรณี

Main Article Content

อัญชลี โสภณ
ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์
ไพรวัลย์ พรมที
สุรกรานต์ ยุทธเกษมสันต์
อรไท โพธิ์ไชยแสน

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับรุนแรงโดยใช้ การจัดการรายกรณี
แบบแผนงานวิจัย: การวิจัยและพัฒนา
วิธีดำเนินการวิจัย: การศึกษาแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ วิเคราะห์สถานการณ์ ออกแบบการพัฒนารูปแบบ การทดลองใช้ และประเมินผล กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย บุคลากรสหสาขาวิชาชีพ ผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับรุนแรงและญาติผู้ป่วย จำนวน 60 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บข้อมูลประกอบไปด้วยแบบสอบถามความพึงพอใจของบุคลากรสหสาขาวิชาชีพและแบบสอบถาม ความพึงพอใจของญาติผู้ป่วย
ผลจากการวิจัย:
ระยะท่ี 1 จากการวิเคราะห์สถานการณ์ พบว่า ระยะเวลารอทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เฉลี่ย 95 นาที ระยะเวลาที่อยู่รักษาในโรงพยาบาล เฉลี่ย 6 วัน, การปฏิบัติการพยาบาลดูแลผู้ป่วยยังไม่ต่อเนื่อง
ระยะที่ 2 มีการจัดทีมพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับรุนแรงโดยใช้การจัดการรายกรณีและออกแบบแนวปฏิบัติการพยาบาลซึ่งมีทั้งหมด 9 หมวด ประกอบด้วย การประเมินผู้ป่วยแรกรับ การพยาบาลป้องกันการเกิดแผลกดทับ การพยาบาลบรรเทาความเจ็บปวด การพยาบาลป้องกันภาวะ ความดันในกะโหลกศีรษะสูง การรักษาอุณหภูมิร่างกาย การป้องกันการพลัดตกเตียง การป้องกันการติด เชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ การบันทึกน้ำาเข้า-ออก และ การประสานกับแพทย์เมื่อมีภาวะผิดปกติ


ระยะที่ 3 เมื่อนำรูปแบบการดูแลไปทดลองใช้กับผู้ป่วย จำนวน 30 คน พบว่า ระยะเวลารอทำ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ลดลงจากเดิมโดยเฉลี่ย 58 นาที ระยะเวลาที่อยู่รักษาในโรงพยาบาลเฉลี่ย 5 วัน
ระยะที่ 4 การประเมินการพัฒนารูปแบบ พบว่า ระดับความพึงพอใจของบุคลากรสหสาขาวิชาชีพ อยู่ที่มากที่สุด (X = 4.87 , SD = 0.34) และระดับความพึงพอใจของญาติอยู่ที่มากที่สุด (X = 4.93, SD = 0.24)
สรุป: การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับรุนแรงโดยใช้การจัดการรายกรณีครั้งนี้ ทำาให้เกิดรูปแบบการดูแลที่ชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางในการทำางานร่วมกับบุคลากรสหสาขาวิชาชีพ อย่างเป็นรูปธรรม

Article Details

Section
Research articles