การใช้สารเคมีกําจัดแมลง การรับรู้ภาวะสุขภาพกับภาวะ สุขภาพของเกษตรกรที่ทํางานสัมผัสสารเคมีกําจัดแมลง
Main Article Content
Abstract
วัตถุประสงค์การวิจัย: 1) เพื่อศึกษาปัจจัยเกี่ยวกับสุขภาพ การใช้สารเคมีกำาจัดแมลง ความเสี่ยงต่อการ สัมผัสสารเคมีกำาจัดแมลง การรับรู้ภาวะสุขภาพและภาวะสุขภาพของเกษตรกรที่ทำางานสัมผัสสารเคมี กำาจัดแมลง และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยเกี่ยวกับสุขภาพ การใช้สารเคมีกำาจัดแมลง ความ เสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมีกำาจัดแมลง การรับรู้ภาวะสุขภาพและภาวะสุขภาพของเกษตรกรที่ทำางานสัมผัส สารเคมีกำาจัดแมลง
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบพรรณนา
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรทำงานสัมผัสสารเคมีกำจัดแมลง 86 คนในชุมชนเขตพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองสามวัง 1 อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี เลือกตัวอย่างแบบ สะดวกตามเกณฑ์คัดเข้า เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ ผลการตรวจสุขภาพ และผลการตรวจทางห้องปฎิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพลาสมาโคลีนเอสเตอเรสอยู่ในระดับปกติ (ร้อยละ 95.3) ตัวอย่าง มากกว่าครึ่งมีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน (ร้อยละ 52.3) ด้วยเส้นรอบเอวปกติ (ร้อยละ 76.7) ระยะเวลา ทำางานสัมผัสสารเคมีกำจัดแมลง 1-10 ปีมากที่สุด (ร้อยละ 37.2) กลุ่มตัวอย่างใช้สารเคมีกำจัดแมลงกลุ่ม ไพรีทรอยด์ (ร้อยละ 81.4) กลุ่มคาร์บาเมท (ร้อยละ 63.9) และกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (ร้อยละ 27.9) นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้ผ้าปิดปากและจมูก (ร้อยละ 89.4) เพื่อป้องกันตนเองในการสัมผัส สารเคมีกำจัดแมลง มีความเสี่ยงสูงต่อการสัมผัสสารเคมีกำจัดแมลง มีการรับรู้ภาวะสุขภาพอยู่ในระดับดี(ร้อยละ 47.7) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับ พลาสมาโคลีนเอสเตอเรส ได้แก่ ระยะเวลาทำงานสัมผัสสารเคมีกำจัดแมลง (r = -.222), ดัชนีมวลกาย (r = .344) และเส้นรอบเอว (r = .260) การใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการ สัมผัสสารเคมีกำจัดแมลง (r = .941) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: บุคลากรสุขภาพควรประเมินติดตาม การใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการ สัมผัสสารเคมีกำจัดแมลง และติดตามภาวะอ้วนลงพุงของเกษตรกรที่ทำงานสัมผัสสารเคมีกำจัดแมลง ในระยะเวลานาน
Article Details
ลิขสิทธิ์ของบทความที่ตีพิมพ์เป็นของวารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งฉบับตีพิมพ์เป็นรูปเล่มและเอกสารออนไลน์