ความต้องการข้อมูลและการได้รับข้อมูล ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบําบัดทดแทนไต

Main Article Content

วรรณพร มิ่งลดาพร
อรวมน ศรียุกตศุทธ
จงจิต เสน่หา

Abstract

วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบความต้องการข้อมูลและการได้รับข้อมูลของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัด ทดแทนไต
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงพรรณนาเปรียบเทียบ
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต ระยะที่ 3-5 จำานวน 120 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มตามความสะดวก เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความต้องการข้อมูล และแบบสอบถามการได้รับข้อมูลของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพรรณนา และสถิติทดสอบ Wilcoxon signed-rank test
ผลการวิจัย: ค่าเฉลี่ยความต้องการข้อมูลโดยรวมของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับสูง (Mean = 4.01, SD = 0.81) ค่าเฉลี่ยของความต้องการข้อมูลในเรื่องการควบคุมโรคหรือแนวทางการดูแลตนเองเพื่อชะลอความ เสื่อมของไตมีค่ามากที่สุด (Mean = 4.33, SD = 0.95) ขณะที่ค่าน้อยที่สุดเป็นของความต้องการข้อมูล เรื่องผลกระทบในเรื่องเพศสัมพันธ์/การมีบุตร (Mean = 3.08, SD = 1.45) ในทางตรงกันข้าม ค่าเฉลี่ย การได้รับข้อมูลโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 3.08, SD = 1.03) โดยการได้รับคำาอธิบายทุก ครั้งก่อนรับการรักษาหรือการพยาบาลเป็นข้อที่ถูกเลือกมากที่สุด (Mean = 3.45, SD = 1.21) และการ ได้รับข้อมูลเรื่องผลกระทบในเรื่องเพศสัมพันธ์/การมีบุตรเป็นข้อที่ถูกเลือกน้อยที่สุด (Mean = 2.30, SD = 1.42) เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างความต้องการข้อมูลและการได้รับข้อมูลพบว่าการได้รับข้อมูล มีค่าน้อยกว่าความต้องการข้อมูลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งด้านโดยรวม (Z = -7.33, p < .001) และ รายข้อในทุกข้อคำถาม (Z = -6.92 – 9.44, p < .01)
สรุป: บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญในการวางแผน และพัฒนาวิธีการให้ข้อมูล เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้รับข้อมูลที่เหมาะสม และตรงความต้องการของผู้ป่วยแต่ละบุคคล

Article Details

Section
Research articles