ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิกลุ่มที่มีความบกพร่องของเม็ดเลือดขาวชนิดบีชนิดที่มีการสร้างแอนติบอดีผิดปกติในผู้ป่วยเด็ก 12 ปีที่มีอาการไซนัสอักเสบเรื้อรัง: รายงานผู้ป่วย

Main Article Content

เบญจารัตน์ ทรรทรานนท์
สุภารัตน์ จีวรตานนท์

บทคัดย่อ

บริบท ผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิ มักมีประวัติติดเชื้อทางเดินหายใจซ้ำโดยเฉพาะโรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง


วัตถุประสงค์ ศึกษาอาการทางคลินิกของผู้ป่วยเด็กอายุ 12 ปีที่มีภาวะไซนัสอักเสบเรื้อรังตั้งแต่อายุ 4 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิกลุ่มที่มีความบกพร่องของเม็ดเลือดขาวชนิดบีชนิดที่มีการสร้างแอนติบอดีผิดปกติ


กรณีศึกษา ผู้ป่วยเด็กชายอายุ 12 ปี มีโรคประจำตัวเป็นโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ มีภาวะไซนัสอักเสบเรื้อรัง ตั้งแต่อายุ 4 ปี ไม่ตอบสนองต่อรักษาด้วยยาสเตียรอยด์ชนิดพ่นจมูกและยาปฏิชีวนะหลายกลุ่ม ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดและระดับอิมมูโนโกลบูลินอยู่ในเกณฑ์ปกติ IgG 705 มก./ดล., IgA 108 มก./ดล., IgM 54 มก./ดล.การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง ให้ผลบวกต่อหญ้า Bermuda, วัชพืชผักโขม,เชื้อรา Cladosporium และไรฝุ่นชนิด Dermatophagoides pteronyssinus (Dp) วัดความสามารถในการตอบสนองต่อแอนติเจนที่เป็นpolysaccharide โดยการฉีดวัคซีน 23-valent unconjugated polysaccharide ต่อเชื้อ Streptococcal pneumoniae โดยตรวจซีรัมก่อนได้รับวัคซีน และหลังได้รับวัคซีน 4 สัปดาห์ พบว่าระดับแอนติบอดีน้อยกว่า 1.3 มคก./มล. สัดส่วนน้อยกว่าร้อยละ 50 ของ serotype ทั้งหมด ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิกลุ่มที่มีความบกพร่องของเม็ดเลือดขาวชนิดบีชนิดที่มีการสร้างแอนติบอดีผิดปกติ รักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำและรับ pneumococcal polysaccharide conjugated vaccine (13-valent) ไม่พบการกลับเป็นซ้ำของภาวะไซนัสอักเสบเรื้อรังอีก


สรุป ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิกลุ่มที่มีความบกพร่องของเม็ดเลือดขาวชนิดบีชนิดที่มีการสร้างแอนติบอดีผิดปกติพบได้ในผู้ป่วยมีภาวะไซนัสอักเสบเรื้อรัง หากได้ทราบการวินิจฉัยที่ชัดเจนในเวลารวดเร็วจะช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสได้รับการรักษาที่เฉพาะที่ทำให้หายขาดจากโรคได้  

Article Details

บท
รายงานผู้ป่วย

References

Peters AT, Spector S, Hsu J. Diagnosis and management of rhinosinusitis: a practice parameter update. Ann Allergy Asthma Immunol. 2014; 113: 347–85.

Beswick DM, Ramadan H, Baroody FM, Hwang PH. Practice patterns in pediatric chronic rhinosinusitis: A survey of the American Rhinologic Society. Am J Rhinol Allergy 30: 418-23.

Sorensen RU, Edgar D. Specific antibody deficiencies in clinical practice. J Allergy Clin Immunol. 2019; 7: 801-8.

Boyle RJ, Le C, Balloch A, Tang ML. The clinical syndrome of specific antibody deficiency in children. Clin Exp Immunol. 2006; 146: 486 -92. doi:10.1111/j.1365-2249.2006.03242.x

Epstein MM, Gruskay F. Selective deficiency in pneumococcal antibody response in children with recurrent infections. Ann Allergy Asthma Immunol. 1995; 75: 125–31.

Sanders LA, Rijkers GT, Kuis W, Tenbergen- Meekes AJ, de Graeff-Meeder BR,Hiemstra I, et al. Defective antipneumococcal polysaccharide antibody response in children with recurrent respiratory tract infections. J Allergy Clin Immunol. 1993; 91: 110–9. doi:10.1016/0091-6749(93)90303-W

Benjasupattananan P,Simasathein T,Vichyanond P,Leungwedchakarn V,Visitsunthorn N,& Pacharn P, et al. Clinical Characteristics and Outcomes of Primary Immunodeficiencies in Thai Children: An 18-year Experience from a Tertiary Care Center. J Clin Immunol. 2009; 29: 357–64. DOI 10.1007/s10875-008-9273-5.

Dardaranonda B, Tansavatdi T, Tattiyakul P. Patterns of aeroallergen sensitization among children with allergic rhinitis in Eastern Thailand). Bu J Med. 2022; 9: 28- 41. (in Thai)

Kliegman R, Bonita S, Joseph W, Nina FS, Richard EB, Waldo EN.Nelson textbook of pediatrics edition 21 ed. Philadelphia PA. 2020; 2466. e6.

Stiehm ER, Fudenberg H. Serum levels of immune globulins in health and disease. A survey. Pediatrics. 1966; 37: 715–27.

SchurP, Rosen F, Norman M. Immunoglobulin subclasses in normal children. Pediatr Res. 1979; 13: 181-3. https://doi.org/10.1203/00006450-197903000-00010

Orange JS, Ballow M, Stiehm ER. Use and interpretation of diagnostic vaccination in primary immunodeficiency: a working group report of the basic and clinical immunology interest section of the American Academy of Allergy, Asthma & Immunology. J Allergy Clin Immunol. 2012; 130: S1–24.