ปัจจัยพฤติกรรมที่มีผลต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

ผู้แต่ง

  • วิทยา บุญเลิศเกิดไกร กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ปราจีนบุรี ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ปัจจัยด้านพฤติกรรม, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด

บทคัดย่อ

บทนำ การป่วยและเสียชีวิตของโรคเบาหวานเป็นผลมาจากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่ไม่ดี ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด เป็นดัชนีการควบคุมเบาหวานใน 3 เดือน ซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยต่าง ๆ การควบคุมปัจจัยด้านพฤติกรรมที่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด จะช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่ดีขึ้น

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยด้านพฤติกรรมที่มีผลต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด

วิธีการศึกษา การศึกษาภาคตัดขวางโดยเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งมารับบริการที่โรงพยาบาล และคลินิกเครือข่ายของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ปราจีนบุรี ในอำเภอเมืองและพื้นที่ใกล้เคียง ไม่มี โรคประจำตัวร้ายแรง หรือโรคอื่น ๆ ในระยะท้ายที่ไม่สามารถดำรงชีวิตเป็นปกติได้ ระหว่างเดือนมิถุนายนถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560 คำนวณกลุ่มตัวอย่างได้ 140 ราย จากจำนวนประชากร 6,500 ราย ทำการสุ่มแบบเจาะจงแบ่งตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม สัดส่วน 2 ต่อ 1 คือ กลุ่มศึกษา 94 ราย มีระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดมากกว่า 7% และ กลุ่มเปรียบเทียบ 48 ราย ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 7% เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานในการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการศึกษา จากการศึกษาพบว่า กลุ่มศึกษาที่มีระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด มากกว่า 7% มีการใช้ยาไม่ถูกต้องออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ ร่วมกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารหวานและน้ำหวาน ในขณะที่ปัจจัยอื่น ๆ เช่น ปัจจัยส่วนบุคคล ความเครียด การมีส่วนร่วมของผู้ดูแลในการรักษาและการเดินทางไปรับการรักษาที่สถานพยาบาลไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดทั้งนี้การงดอาหารหวานและน้ำหวานร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการเคร่งครัดในการรักษาสามารถทำนายระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด ที่เหมาะสมได้อย่างมีนัยสำคัญ (Nagelkerke R Square = 0.65) โดยเฉพาะการรับประทานอาหารหวานและการออกกำลังกายมีบทบาทสำคัญมากกว่าการดูแลรักษาด้วยยาอย่างถูกต้อง

สรุป ปัจจัยด้านพฤติกรรมที่มีผลต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดมากกว่า 7% ในกลุ่มศึกษาที่เป็นเบาหวาน ได้แก่ การใช้ยาไม่ถูกต้อง ร่วมกับการออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ และการรับประทานอาหารหวานและน้ำหวาน

References

Hfocus.org. The International Diabetes Federation. [Internet]. [accessed Apr 1, 2023]. Available from: http://www.hfocus.org/content/2019/11/18054. (in Thai)

Department of Disease Control. Global Diabetes Situation [Internet]. [accessed Apr 1, 2023]. Available from: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/181256/. (in Thai)

Bangkok Hospital Phuket. Diabetes [Internet]. [accessed Apr 1, 2023]. Available from: https://www.phukethospital.com/th/news-events/diabetes/. (in Thai)

Fletcher B, Gulanick M, Lamendola C. Risk factors for type 2 diabetes mellitus. J Cardiovasc Nurs. 2002; 16: 17-23.

Colditz GA, Willett WC, Rotnitzky A, Manson JE. Weight gain as a risk factor for clinical diabetes mellitus in women. Ann Intern Med. 1995; 122: 481-6.

Suwattanakul T. Factors related to blood sugar control among diabetes mellitus type 2 patients. Journal of Health Systems Research. 2018; 12: 515–22. (in Thai)

Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statis Med. 1998; 17: 1623-34.

Yenipinar A, Koc S, Canga D, Kaya F. Determining sample size in logistic regression with G-power. BSJ Eng Sci. 2019; 2: 16-22.

Kanglee K. Factors associated with glycemic control among people with type 2 diabetes mellitus at Phramongkutklao Hospital, Bangkok. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 2014; 15: 256–68. (in Thai)

Suthipol K. Factors associated to glycemic control in adults with type 2 diabetes, Prachanu-Khro PCU, Ratchaburi Hospital. Maharaj Nakhon Si Thammarat Medical Journal. 2022; 5: 1–12. (in Thai)

Jesrichai A. Factors predicting self-care behaviors among the elderly with diabetes in Phichit province. Phichit Public Health Research and Academic Journal. 2020; 1: 24–34. (in Thai)

Hayeepachi N, Pouyfung P. Effective factors associated with controlling blood sugar among diabetes mellitus type 2 patients on follow-up at medical division, Chiang Rai Municipality. Journal of Nursing, Public Health and Education. 2019; 20: 83–94. (in Thai)

Dube P. BMI – A significant risk factor for type 2 diabetes. In: HealthifyMe [Internet]. [accessed Apr 2, 2023]. Available from: https://www.healthifyme.com/blog/bmitype- 2-diabetes/.

Chantharathiratikun S, Hancharoen K, Charoenpitak R, Pandii W, Chongsuwat R. Factors related to blood sugar control in type 2 diabetic patients at Hospital, Bangkok [Dissertation]. Bangkok: Mahidol

University; 2007. (in Thai)

Buraphunt R, Muangsom N. Factors affecting uncontrolled type 2 diabetes mellitus of patients in Sangkhom Hospital, Udonthani Province. KKU Journal for Public Health Research. 2013; 6: 102–9. (in Thai)

Sridama V. Diabetic diets. Chula Med J. 1996; 40: 417–23. (in Thai)

Peirce NS. Diabetes and exercise. Br J Sports Med. 1999; 33: 161–72.

Asche C, LaFleur J, Conner C. A Review of diabetes treatment adherence and the association with clinical and economic outcomes. Clin Ther. 2011; 33: 74–109.

Wongsunopparat B, Ngarmukos C, Saibuathong N. Glycemic control in persons with diabetes after attending a group educational program for diabetes self-management. Rama Nurs J. 2008; 14: 289–97. (in Thai)

Pennim K, Poonkerd S. The effect of behavior modification program on type 2 diabetes patients with HbA1c value more than 7 percent on accumulated blood sugar level: A case study of Laem Ton Subdistrict Health Promotion Hospital, Khuan Khanun District, Phatthalung Province [Research report]. Phatthalung:

Provincial Public Health Office; 2017. (in Thai)

Saotong T, Pichayapinyo P, Lagampan S. Effects of behavior change on glycemic control in type 2 diabetes patients with uncontrolled blood sugar. Journal of Health and Nursing Research. 2030; 36: 19–32. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27