การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการฝังเข็มที่จุดกดเจ็บกับจุดเลี่ยเชวียเพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อต้นคอ
คำสำคัญ:
การฝังเข็ม, จุดกดเจ็บ, จุดเลี่ยเชวีย, ปวดต้นคอบทคัดย่อ
บริบท ในสังคมปัจจุบันมีภาวะความกดดันสูงทำให้ผู้คนต้องทำงานหนักมากขึ้น โดยเฉพาะการทำงานออฟฟิศซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานานทำให้เกิดอาการปวดต้นคอได้ง่าย การฝังเข็มเป็นวิธีการรักษาอาการปวดเมื่อยที่ประหยัด มีประสิทธิภาพและได้รับการยอมรับวิธีหนึ่ง จึงเหมาะที่จะนำมาใช้ในสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษา
วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการฝังเข็มที่จุดกดเจ็บกับจุดเลี่ยเชวียเพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อต้นคอ
วิธีการศึกษา การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิธีกึ่งทดลองรูปแบบ Pretest -posttest control group design โดยเก็บข้อมูลไปข้างหน้า ในอาสาสมัครที่มีอาการปวดต้นคออันเนื่องมาจากการทำงาน ช่วงอายุ 15 - 65 ปี จากสถานพยาบาลการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จำนวน 40 คน แบ่งเป็น 2กลุ่ม คือกลุ่มที่ฝังเข็มโดยใช้จุดกดเจ็บและกลุ่มที่ฝังเข็มโดยใช้จุดเลี่ยเชวีย กลุ่มละ 20 คน โดย วัดค่าความเจ็บปวดก่อนและหลังการรักษาจาก 0-10ประมวลผลทางสถิติโดยใช้ independent t-test และ pair t-test
ผลการศึกษา ในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้วิธีฝังเข็มบริเวณจุดกดเจ็บ ค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวด (mean±S.D.) ก่อนการรักษาเท่ากับ 6.75±1.33 ค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวดหลัง (mean±S.D.) การรักษาเท่ากับ 1.9±0.79 ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวด ก่อนและหลังการรักษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ p<0.05 มีค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 และผลการทดสอบในผู้ป่วยที่ใช้วิธีฝังเข็มบริเวณจุดเลี่ยเชวีย ค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวด (mean±S.D.) ก่อนการรักษาเท่ากับ 6.55±1.36 ค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวด (mean±S.D) หลังการรักษาเท่ากับ 3.75±1.12 ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวด ก่อนและหลังการรักษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ p<0.05 และมีค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95 และเมื่อเปรียบเทียบผลต่างของระดับความเจ็บปวดก่อน และหลังการรักษาในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้วิธีฝังเข็มบริเวณจุดกดเจ็บ และ กลุ่มผู้ป่วยที่ใช้วิธีฝังเข็มบริเวณจุดเลี่ยเชวีย พบว่า ค่าเฉลี่ยผลต่างของระดับความเจ็บปวด (mean±S.D.) ก่อนและหลังการรักษาในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้วิธีฝังเข็มบริเวณจุดกดเจ็บเท่ากับ 4.85±0.99 ค่าเฉลี่ยผลต่างของระดับความเจ็บปวด (mean±S.D) ก่อนและหลังการรักษาในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้วิธีฝังเข็มบริเวณจุดเลี่ยเชวีย เท่ากับ 2.8±0.89 ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวด ก่อนและหลังการรักษาในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้วิธีฝังเข็มบริเวณจุดกดเจ็บ ลดลงมากกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ใช้วิธีฝังเข็มบริเวณจุดเลี่ยเชวีย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.05
สรุป การฝังเข็มที่จุดกดเจ็บและจุดเลี่ยเชวียสามารถบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อต้นคออันเนื่องมาจากการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งสองจุด โดยการฝังเข็มที่จุดกดเจ็บสามารถบรรเทาอาการปวดได้มากกว่าการฝังเข็มที่จุดเลี่ยเชวียอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าในผู้ป่วยที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อต้นคอจากการทำงานการฝังเข็มที่จุดกดเจ็บสามารถบรรเทาอาการปวดได้ดีกว่าการฝังเข็มที่จุดเลี่ยเชวีย
References
Veerathaworn W. Myofascial pain syndrome. [Internet]. 2021 [cited 2021 Nov 18]. Available from: http://www.rama. mahidol.ac.th/ortho/sites/default/files/ public/file/ pdf/Myofascial.pdf (in Thai)
Charoensuk J. Neck muscle pain: mechanisms and treatment approaches. J Public Health. 2020; 29: 227-34. (in Thai)
Taweekarn Vannajak P. and Vannajak K. Text Neck Syndrome. Bu J Med. 2021; 8: 112-118. (in Thai)
Pain Studies Association of Thailand. Recommendations for the Treatment of Myofascial Pain Syndrome & Fibromyalgia. Bangkok: Pentagon Advertising Partnership Limited; 2020. (in Thai)
Tiamkao S. Myofascial Pain Syndrome (MPS) [Internet]. 2019 [cited 2020 Dec 13]. Available from: http://haamor.com/th/กลุ่มอาการเอมพีเอส (in Thai)
Srisawang S. The effects of neck, shoulder, and back massage with medication on pain and stiffness in individuals with neck and shoulder pain from myofascial pain syndrome and fibromyalgia. J Nurs Coll Pramongkutklao Hosp. 2017; 28: 44. (in Thai)
Sarisuta S. Health and environmental hygiene promotion guidelines in workplaces PACKAGE 6 Conquer Office Syndrome. 1st ed. Bangkok: MD All Graphic Co., Ltd.; 2019. (in Thai)
Nainet A. Factors causing neck and shoulder pain in computer users at Charoenkrung Pracharak Hospital. J Charoenkrung Pracharak Hosp. 2020; 16: 61-74. (in Thai)
Meleger AL. Muscle Relaxants and Antispasticity Agents. Phys Med Rehabil Clin N Am. 2006; 17: 401-13.
Hazzanine T, Promkiem - OnB , Jirapinitchawong S. Acupuncture- Moxibustion Volume 2. Nonthaburi: Agricultural Cooperative Printing Association of Thailand Ltd.; 2010. (in Thai)
Wanrat L, Hazzanine T. Acupuncture- Moxibustion Volume 1. 1st ed. Nonthaburi: Veterans Affairs Printing Office; 2008. (in Thai)
Wannaviboon P, Danaisawat P, Kieatwich S, Silaphiphattham† U, Wannawiboolet B. Comparison of the effectiveness of manual acupuncture with electroacupuncture in patients with low back pain. Thai J Traditional Alternative Med. 2020; 18: 521-34. (in Thai)
Madsen MV, Gøtzsche PC, Hróbjartsson A. Acupuncture treatment for pain: systematic review of randomized clinical trials with acupuncture, placebo acupuncture, and no acupuncture groups. BMJ. 2009; 338: a3115.
14. Chen X, Coombes BK, Sjøgaard G, Jun D, O'Leary S, Johnston V. Workplace-based interventions for neck pain in office workers: systematic review and metaanalysis. Phys Ther. 2018; 98: 40-62.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Burapha University
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.