ผลของการใช้โปรแกรมร่างกายสร้างจังหวะต่อความเร็วในการวิ่งระยะสั้นของนักกรีฑาเยาวชน
คำสำคัญ:
ร่างกายสร้างจังหวะ, ความเร็วในการวิ่งระยะสั้น, นักกรีฑาบทคัดย่อ
บริบท การวิ่งระยะสั้นถือเป็นสิ่งสำคัญของนักกรีฑา เนื่องจากเป็นช่วงที่นักกรีฑาต้องใช้ความจดจ่อใส่ใจอย่างสูงและรวบรวมสมาธิ เพื่อให้กลไกของร่างกายตอบสนองต่อสัญญาณในการออกตัวจนถึงการวิ่งอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเกิดจากการรวมกันของทักษะ และแบบแผนที่วางไว้ ส่งผลไปยังศักยภาพของนักกรีฑา การวิ่งระยะสั้นในงานวิจัยนี้ หมายถึง ขั้นตอนกลไกการตอบสนองของร่างกายเมื่อได้ยินสัญญาณในการออกตัวที่มีการหน่วงของเวลาในระดับมิลลิวินาทีในร่างกาย แล้วจึงมีการส่งแรงจากร่างกายไปสู่แท่นออกตัวและทำการวิ่งถึงระยะ 10 เมตร
วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความเร็วในการวิ่งระยะสั้นของนักกรีฑาเยาวชน กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมร่างกายสร้างจังหวะก่อนการทดลองและหลังการทดลอง และเปรียบเทียบความเร็วในการวิ่งระยะสั้นของนักกรีฑาเยาวชนหลังทดลองระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมร่างกายสร้างจังหวะและกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมร่างกายสร้างจังหวะ
วิธีการศึกษา งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักกรีฑาเยาวชนของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี อายุระหว่าง 12-18 ปี จำนวน 32 คน ด้วยการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 16 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ โปรแกรมร่างกายสร้างจังหวะเป็นโปรแกรมฝึกในกลุ่มทดลอง และเครื่อง Kinematic Measurement System (KMS) ใช้สำหรับเก็บข้อมูลความเร็วในการวิ่งระยะสั้นของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มทดลองได้รับการฝึกวิ่งตามปกติและเสริมด้วยโปรแกรมร่างกายสร้างจังหวะสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 20 นาที เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการฝึกวิ่งตามปกติและไม่ได้เสริมด้วยโปรแกรมร่างกายสร้างจังหวะ วิเคราะห์ข้อมูลค่าเฉลี่ยอายุระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ t-test independent ความเร็วในการวิ่งระยะสั้นภายในกลุ่มด้วยสถิติ t-test dependent และระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ t-test independent
ผลการศึกษา 1. กลุ่มทดลองมีความเร็วในการวิ่งระยะสั้นหลังการทดลอง ดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับลุ่มควบคุมมีความเร็วในการวิ่งระยะสั้นก่อนการทดลองและหลังการทดลองไม่แตกต่างกัน 2. ความเร็วในการวิ่งระยะสั้นระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม หลังการทดลอง พบว่าไม่แตกต่างกัน
สรุป โปรแกรมร่างกายสร้างจังหวะมีผลทำให้ความเร็วในการวิ่งระยะสั้น (10 เมตร) ลดลง
References
Athletic association of Thailand Patron : His hajesty the King. Athletics Championships Results of 37th National Youth Games 2022 “Phatthalung Games” the number of athletes and coaches. [Internet]. 2022 [accessed 20 July 2022]. Available from: http://www.aat.or.th/home/index. php?option=com_content&view=articl e&id=254:37&catid=55&Itemid=142 (in Thai)
Ahokas JR. Brain and body Percussion: The relationship between motor and cognitive functions. 2015.
3. Chagas DV, Ozmun J, Batista LA. The relationships between gross motor coordination and sport-specific skills in adolescent non -athletes. Human Movement. 2017; 18: 17-22.
Fitness Technology. Kinematic Measurement System – Overview [Internet]. 2015 [accessed 24 September 2023]. Available from: https://www.fittech. com.au/KMS/KMS.html
Gürses VV, Kamis O. The relationship between reaction time and 60M performance in elite athletes. Journal of Education and Training Studies. 2018; 6(n12a): 64-9.
Paradisis GP. Reaction time and performance in the short sprints. New Studies in Athletics. 2013; 28: 95-103.
Pavlović R. The importance of reaction time in athletics: Influence on the results of sprint runs of World Championships finalists. Central European Journal of Sport Sciences and Medicine. 2021; 34: 53-65.
Pilianidis T, Kasabalis A, Mantzouranis N, Mavvidis A. Start reaction time and performance at the sprint events in the Olympic Games. Kinesiology. 2012; 44: 67-72.
Romero-Naranjo AA, Jauset-Berrocal JA, Romero-Naranjo FJ, Liendo-Cárdenas A. Therapeutic benefits of body percussion using the BAPNE method. Procedia-Social and Behavioral Sciences. 2014; 152: 1171-7.
Romero-Naranjo AA, Romero-Naranjo FJ, Bofill LM, editors. Body percussion and team building through the BAPNE method. SHS Web of Conferences; 2016: EDP Sciences.
Romero-Naranjo FJ. Body percussion and memory for elderly people through the BAPNE method. Procedia-Social and Behavioral Sciences. 2014; 132: 533-7.
Romero-Naranjo FJ. Body percussion in the physical education and sports sciences. an approach to its systematization according to the BAPNE Method. International Journal of Innovation and Research in Educational Sciences. 2020; 7: 421-31.
Rosa GA, García CE, Martínez GH. Motor coordination and academic performance in primary school students. 2020.
Zhang J, Lin X-Y, Zhang S. Correlation analysis of sprint performance and reaction time based on double logarithm model. Complexity. 2021; 2021: 1-11.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Burapha University
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.