ผลของยาพอกสมุนไพรต่อการลดความเจ็บปวดที่หัวแม่มือของหมอนวดไทย คลินิกแพทย์แผนไทยสุโขทัยธรรมาธิราช อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บริบท การพอกยาสมุนไพร เป็นวิธีหนึ่งในหัตถการตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย เพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อและข้อต่าง ๆ
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของยาพอกสมุนไพรต่ออาการเจ็บปวดนิ้วหัวแม่มือของหมอนวดไทย
ในคลินิกแพทย์แผนไทยสุโขทัยธรรมาธิราช อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
วิธีการศึกษา ศึกษาในหมอนวดไทย คลินิกแพทย์แผนไทยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่มีอาการเจ็บปวดนิ้วหัวแม่มือ
จำนวน 32 คน ได้รับการพอกยาสมุนไพรบริเวณหัวแม่มือที่ปวด พอกช่วงเวลาเช้า ครั้งละ 15 กรัม พอกไว้เป็นเวลา 15 นาที วันเว้นวัน จำนวน 3 ครั้ง ภายใน 1 สัปดาห์ ประเมินความรุนแรงของอาการและความสามารถในการใช้มือและแบบประเมินอาการเจ็บปวดที่หัวแม่มือ ก่อนและหลังการพอกยาสมุนไพร โดยใช้สถิติ Paired t – test
ผลการศึกษา พบว่าหลังการพอกยาสมุนไพร ระดับความรุนแรงของอาการ (±S.D. = 0.83±0.54) ความยากลำบากในการใช้มือทำกิจกรรมต่าง ๆ (±S.D. = 1.19±1.61) และความเจ็บปวดที่หัวแม่มือ (±S.D. = 2.69±1.45) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p < 0.001
สรุป การพอกสมุนไพร ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดนิ้วหัวแม่มือของหมอนวดไทยได้
คำสำคัญ ปวดนิ้วมือ ยาพอกสมุนไพร
References
ณัฏฐพร ประดิษพจน์, สันทณี เครือขอน, กาญจนา ควรพึ่ง, นรัฐ ปัญญาศักดิ์ และสุชาติ ทองอาจ. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของพนักงานขายผลไม้ จังหวัดปทุมธานี. ธรรมศาสตร์เวชสาร. 2560; 17: 60-9.
คุณาวุฒิ วรรณจักร และพิมลพรรณ ทวีการ วรรณจักร. อาการปวดต้นคอจากการใช้สมาร์ทโฟน. บูรพาเวชสาร. 2564; 8: 112-8.
สุรเกียรติ อาชานุภาพ. ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2 350 โรคกับการดูแลรักษาและการป้องกัน ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: บริษัทโฮลิสติก พับลิชชิ่ง จำกัด; 2551.
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. การดูแลสุขภาพตามวัยด้วยการแพทย์แผนไทยสำหรับประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 1.นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2559.
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. แบบรายงานข้อมูลบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกปีงบประมาณ 2562. [อินเทอร์เนต].2562 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/HR_report2562.pdf
ธีระ ผิวเงิน และขนิษฐา ทุมา, 2563 การเปรียบเทียบผลของการใช้ลูกประคบไพลและลูกประคบเถาวัลย์เปรียงต่ออาการปวดในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก.2563; 18: 76-84.
สิทธิพงษ์ อุปถัมภ์ และวิภู กําเหนิดดี. ความน่าเชื่อถือของแบบสอบถามบอสตัน ฉบับภาษาไทย [อินเทอร์เนต]. 2551 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จากhttps://www.thaiscience.info/Journals/Article/JMAT/10402614.pdf
ไข่มุก นิลเพ็ชร์, วีระชาติ อำนาจวรรณพร, สโรชา พฤกษวัน และพุทศรี จุลจรูญ. ประสิทธิผลของสมุนไพรพอกเข่าต่อระดับความปวดเข่าในผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้าน
ฟ้าห่วน ตำบลไร่ขี อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ [อินเทอร์เนต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก http://www.amno.moph.go.th/amno_new/files/3p15.pdf
กนกอร บุญพิทักษ์. นิ้วล็อกกับโรคของกระดูกและเเอ็น. กรุงเทพฯ: บริษัทฐานบัณฑิตจำกัด; 2555.
ปิยะพล พูลสุข, สุชาดา ทรงผาสุข, เมริษา จันทา, เนตรยา นิ่มพิทักษ์พงศ์ และกิตรวี จิรรัตน์สถิต. ประสิทธิผลของการพอกยาสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม. ธรรมศาสตร์เวชสาร. 2561; 18: 104-11.
สุพัตราพร คุ้มทรัพย์, ยงยุทธ วัชรดุล และศุภะลักษณ์ ฟักคำ. การศึกษาผลของการพอกยาสมุนไพรต่อการรักษาอาการปวดในโรคข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 2563; 17: 275-84.
ปรารถนา เกตุนุต. การนวดราชสำนักร่วมกับน้ำมันนวดขิงเพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังนนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2561.
เกียรติสุดา เชื้อสุพรรณ, วิชัย โชควิวัฒน, ศุภะลักษณ์ ฟักคำ และธวัชชัย กมลธรรม. ประสิทธิผลของการพอกยาสมุนไพรต่ออาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านภูมิ อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2563; 6: 155-67.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 บูรพาเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.