ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืดต่อความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมโรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
คำสำคัญ:
โรคข้อเข่าเสื่อม, ความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม, โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืด, กายภาพบำบัดตามปกติบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บริบท มีหลายการศึกษาพบว่าการออกกกำลังกายด้วยยางยืดส่งผลต่อความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกกำลังกายด้วยยางยืดต่อความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมระหว่างกลุ่มที่ได้รับการกายภาพบบำบัดตามปกติเพียงอย่างเดียวกับกลุ่มโปรแกรมการออกกกำลังกายด้วยยางยืดร่วมกับการกายภาพบำบัดตามปกติ ณ โรงพยาบาลดำเนินสะดวก
วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยกึ่งทดลองโดยกลุ่มควบคุม ได้รับการกายภาพบำบัดตามปกติเพียงอย่างเดียวและประเมินผลความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม สัปดาห์ที่ 1 และ 4 จนครบ 29 ราย หลังจากนั้นเริ่มเก็บข้อมูลกลุ่มทดลอง ซึ่งได้รับการกายภาพบำบัดตามปกติร่วมกับโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืด และประเมินผล
ความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมสัปดาห์ที่ 1 และ 4 จำนวน 30 ราย วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน independent t-test วิเคราะห์เปรียบเทียบสัดส่วนระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมระหว่าง 2 กลุ่มโดยใช้สถิติ McNemar Chi-Square test
ผลการวิจัย พบว่าความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมในกลุ่มควบคุม มีความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมก่อนเข้าร่วมการทดลองอยู่ในระดับ 3 (ร้อยละ 51.7), 2 (ร้อยละ 41.4), 1 (ร้อยละ 6.9), 4 (ร้อยละ 0.0) และหลังการทดลอง อยู่ในระดับ 3 (ร้อยละ 10.3), 2 (ร้อยละ 62.1), 1 (ร้อยละ 27.6), 4 (ร้อยละ 0.0) ตามลำดับ ส่วน
กลุ่มทดลองมีความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม ก่อนเข้าร่วมการทดลองอยู่ในระดับ 3 (ร้อยละ 43.3), 2 (ร้อยละ40.0), 1 (ร้อยละ 10.0), 4 (ร้อยละ 6.7) และหลังการทดลอง อยู่ในระดับ 3 (ร้อยละ 3.3), 2 (ร้อยละ 46.7), 1 (ร้อยละ 50.0), 4 (ร้อยละ 0.0) ตามลำดับ ซึ่งไม่พบความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง แต่หากพิจารณาแนวโน้ม พบว่ากลุ่มทดลองจะมีข้อเข่าเสื่อมระดับไม่รุนแรง (ระดับที่ 1) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10.0 ก่อนการทดลองเป็นร้อยละ 50.0 หลังการทดลอง เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมจะมีข้อเข่าเสื่อมระดับไม่รุนแรง (ระดับที่ 1) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.9 ก่อนการทดลองเป็นร้อยละ 27.6 หลังการทดลอง
สรุป โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืดร่วมกับการทำกายภาพบำบัดตามปกติมีแนวโน้มลดความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการกายภาพบำบัดตามปกติเพียงอย่างเดียว
References
ณัฐฐพล สุรัชต์หนาแน่น, ธิปไตย ศรีสมบูรณ์, พฤฒพงศ์ แสงจำรัส และพฤกษ์ ไชยกิจ. ผลของการเปลี่ยนแปลงความชันของกระดูกทิเบียส่วนบนต่อการงอเข่าในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบอนุรักษ์เอ็นไขว้หลังโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยผ่าตัด. บูรพาเวชสาร. 2564; 8: 42-54.
อุษา ตันทพงษ์. ปัจจัยคัดสรรที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมชนิดปฐมภูมิของครูในจังหวัดนครปฐม. 2562; 20: 316-23.
Grotle M, Hagen KB, Natvig B, Dahl FA, Kvien TK. Obesity and osteoarthritis in knee, hip and/or hand: an epidemiological study in the general population with 10 years follow-up. BMC Musculoskelet Disord. 2008; 132: 1-3.
วันทนียา วัชรีอุดมกาล. ความสามารถในการทำงานของข้อเข่าในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมรุนแรง. 2557.
รายงานสถิติเวชระเบียนประจำปี 2562. โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. 2562.
สุวรรณี สร้อยสงค์. การพยาบาลผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2562; 33: 197-210.
แสงอรุณ ดังก้อง. กายภาพบำบัดในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม. เวชบันทึกศิริราช. 2560; 10: 115-21.
สิริวรรณ ธรรมคงทอง. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืด ต่อความสามารถการใช้งานข้อต่อของขาและการเคลื่อนไหวข้อเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2562; 33: 51-66.
ปารวีร์ มั่นฟัก, ราตรี สุพรมมา, สุวัฒนา เกิดม่วง, อนุสรา คงบัว และอรนุช นุ่นละออง. ผลของโปรแกรมการบริหารกล้ามเนื้อเข่าด้วยยางยืดต่อการบรรเทาความรุนแรงของภาวะข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุอำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2561; 6: 93-109.
Polit DF, Beck CT. Nursing research: generating and assessing evidence for nursing practice Eighth Edition. Philadelphia, Pa: Lippincott Williams & Wilkins; 2008.
วิไล คุปต์นิรัติศัยกุล และมณี รัตนไชยานนท์. แบบประเมินความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม Modified WOMAC (Western Ontario and McMaster Universities Osteoarthritis is Indexฉบับภาษาไทย[อินเตอร์เน็ต]. 2550 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2564] เข้าถึงได้จากhttp://www.rcost.or.th/web/data/cpgoa2554.pdf.
Waleed S Mahmoud, Ragab K Elnaggar, Ahmed S Ahmed. Influence of isometric exercise training on quadriceps muscle architecture and strength in obese subjects with knee osteoarthritis. Int J Med Res Health Sci. 2017; 6: 1-9.
Suzuki Y. et al. Home exercise therapy to improve muscle strength and joint flexibility effectively treats pre-radiographic knee OA in community-dwelling elderly: a randomized controlled trial. Clin Rheumatol. 2019; 38: 133-41.
Huang L, Guo B, Xu F, Zhao J. Effects of quadriceps functional exercise with isometric contraction in the treatment of knee osteoarthritis. Int J Rheum Dis. 2018; 21: 952-9.
Chen SM, Shen FC, Chen JF, Chang WD, Chang NJ. Effects of resistance exercise on glycated Hemoglobin and functional performance in older patients with comorbid diabetes mellitus and knee osteoarthritis: a randomized trial. Int J Environ Res Public Health. 2019; 224: 1-13.
Chang TF, Liou TH, Chen CH, Huang YC, Chang KH. Effects of elastic-band exercise on
lower-extremity function among female patients with osteoarthritis of the knee. Disabil Rehabil. 2012; 34: 1727-35.
Dhar S, Agarwal S. Effectiveness of an elastic band exercise protocol in tri-compartmental osteoarthritis of the knee. Indian journal of physiotherapy and qccupational therapy. An International Journal. 2015; 9: 176-81.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 บูรพาเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.