การประเมินความเสี่ยงด้านระบบการจัดการ ของเสียอันตรายจากสารเคมีในห้องปฏิบัติการ จุลชีววิทยา

ผู้แต่ง

  • นันทวรรณ จินากุล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การชี้บ่งอันตราย, ประเมินความเสี่ยง, สารเคมี, ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยงด้านระบบการจัดการของเสียอันตรายจากสารเคมีในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา สำหรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาห้องปฏิบัติการปลอดภัยทางเคมี ของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วิธีการศึกษา ดำเนินการสำรวจห้องปฏิบัติการเพื่อชี้บ่งอันตรายโดยวิธี Checklist ตามแบบสำรวจ ESPReL Checklist ด้านระบบการจัดการของเสียสำหรับใช้ในมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ประเมินความเสี่ยงด้วยวิธี Checklist โดยพิจารณาถึงโอกาสและความรุนแรงในเหตุการณ์ต่างๆ โดยใช้เกณฑ์การประเมินความเสี่ยงตามแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพของศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (COSHEM) มหาวิทยาลัยมหิดล และจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง (แผนควบคุมความเสี่ยง สำหรับความเสี่ยงระดับ 2 แผนลดความเสี่ยง สำหรับความเสี่ยงระดับ 3 และ 4)

ผลการศึกษา พบว่า ไม่มีพื้นที่/บริเวณที่เก็บของเสียที่แน่นอนเป็นความเสี่ยงระดับ 2 เก็บของเสียประเภทไวไฟในห้องปฏิบัติการเกิน 10 gal (38 L) โดยไม่มีตู้สำหรับเก็บสารไวไฟโดยเฉพาะเป็นความเสี่ยงระดับ 4 ไม่กำหนดปริมาณรวมสูงสุดของของเสียที่อนุญาตให้เก็บได้ในห้องปฏิบัติการเป็นความเสี่ยงระดับ 3 ไม่ลดการเกิดของเสียด้วยการ reuse และ recycle เป็นระดับความเสี่ยงระดับ 2 และ ไม่มีการบำบัดของเสียก่อนทิ้งเป็นระดับความเสี่ยงระดับ 3 นำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ความเสี่ยงมาจัดทำแผนการควบคุมความเสี่ยง และแผนลดความเสี่ยง

สรุป แผนลดและความคุมความเสี่ยงระยะสั้น ได้แก่ แผนควบคุมเหตุฉุกเฉิน กำหนดมาตรการผจญเพลิง มาตรการจัดการกรณีเกิดอุบัติเหตุสารรั่วไหล การบันทึกและรายงานอุบัติเหตุ จัดทำคู่มือการกำจัดของเสียและประชาสัมพันธ์การทิ้งสารเคมีอันตราย จัดหาสถานที่รวบรวมของเสียส่วนกลาง ทำการประเมินผลทุกๆ 3 เดือน แผนลดและความคุมความเสี่ยงระยะยาว ได้แก่ การลดความเสี่ยงโดยวิธีการควบคุมเหตุฉุกเฉิน การเตรียมความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต การกำหนดกระบวนการแจ้งเหตุฉุกเฉิน (call Tree) กำหนดแนวทางการตอบสนองเหตุการณ์และกอบกู้กระบวนการ จัดทำแผนความต่อเนื่อง (business continuity plan -BCP) อบรมให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยในการปฏิบัติงานทางเคมี ส่งเสริมให้ลดการใช้และลดการครอบครองสารเคมีอันตราย ส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการปฏิบัติงานเพื่อลดการใช้สารเคมีอันตราย ส่งเสริมให้มีการนำสารเคมีกลับมาใช้ซ้ำและส่งเสริมให้มีระบบการกำจัดของเสียอย่างถูกต้อง จัดทำโครงการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม

References

1. นันทวรรณ จินากุล, กาญจนา ทิมอ่ำ, ดวงใจ จันทร์ต้น, กวีวุฒิ กนกแก้ว, สุรินทร์ อยู่ยง, ประดิษฐา รัตนวิจิตร์ และคณะ. ระบบบริหารจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร ฉบับพิเศษ สาขาพลังงานและสิ่งแวดล้อม การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลครั้งที่ 5. ฉบับพิเศษ; 175-182.

2. ส่วนของเสียอันตราย สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ. แนวทางการจัดการของเสียอันตรายจากห้องปฏิบัติการ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: หจก.มีเดีย เพรส; 2548.

3. Robert H. Hill, Jr., Jean A. Gaunce, and Pamela Whitehead. Chemical safety levels (CSLs): A proposal for chemical safety practices in microbiological and biomedical laboratories. Chemical Health & Safety. 1999; 6: 6-14.

4. World Health Organization. Laboratory biosafety manual. 3rd edition. Geneva; 2004.

5. Us Department of Health and Human Services. Biosafety in Microbiological and Biomedical Laboratories. 5th edition. Public Health Service, Centers for Disease Control and Prevention and the National Institutes of Health; 2009.

6. ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล. แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางเคมี. พิมพ์ครั้งที่ 1. ปทุมธานี: ทองสุขพริ้นท์; 2555.

7. โครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย. คู่มือการประเมินความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.

8. ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล. แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. ปทุมธานี: ทองสุขพริ้นท์; 2555.

9. กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. คู่มือปฏิบัติด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์บริการ. ม.ป.ท; 2558.

10. ชลภัทร สุขเกษม, สุดา ลุยศิริโรจนกุล, สหพัฒน์ บรัศว์รักษ์, วิทวัช วิริยะรัตน์. ความปลอดภัยและความมั่นคงทางชีวภาพ สำหรับห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และสัตวแพทย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสมัย (1999); 2555.

11. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.). ข้อกำหนดสำหรับการจัดเก็บสารไวไฟ. [Internet]. [accessed April 02, 2018]. Available from: http://labsafety.nrct.go.th/index.php/2014-05-19-04-38-41/2014-08-05-05-52-51/203-2014-09-23-08-26-03.

12. สำนักบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม. คู่มือ 3Rs กับการจัดการของเสียภายในโรงงาน. ม.ป.ท; 2555.

13. Elizabeth de Souza Nascimento and Alfredo Tenuta Filho. Chemical waste risk reduction and environmental impact generated by laboratory activities in research and teaching institutions. Brazilian Journal of Pharmaceutical Sciences. 2010; 46: 187-98.

14. ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล. แนวปฏิบัติอาชีว อนามัยและความปลอดภัย. พิมพ์ครั้งที่ 1. ปทุมธานี: ทองสุขพริ้นท์; 2555.

15. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.). การบำบัดและกำจัดของเสีย. [Internet]. [accessed April 02, 2018]. Available from: http://labsafety.nrct.go.th/index.php/2014-05-19-04-38-41/2014-08-05-05-53-02/106-2014-09-24-01-05-17.

16. ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล. แนวปฏิบัติด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย. พิมพ์ครั้งที่ 1. ปทุมธานี: ทองสุขพริ้นท์; 2555.

17. พรเพ็ญ ก๋ำนารายณ์. ผลการสำรวจชี้บ่งอันตรายและวิเคราะห์ความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2558; 23: 667-81.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-07