ก้อนเลือดที่เกิดขึ้นภายหลังจากการฉีดยาไดโคลฟีแนกเข้ากล้ามสามารถเลียนแบบอาการปวด ร้าวลงขาแบบเดียวกับอาการกระดูกหลังเสื่อม : รายงานผู้ป่วย

ผู้แต่ง

  • Yutthana Khanasuk โรงพยาบาลสมเด็จบรมราชเทวี ณ ศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย
  • Nattawut Sastravaha
  • Surapon Atiprayoon
  • Worasun Taweewuthisub

คำสำคัญ:

อาการปวดร้าวลงขา, การบาดเจ็บของเส้นประสาทไซอะติก, การฉีดยาไดโคลฟีแนก

บทคัดย่อ

บทนำ การบาดเจ็บของเส้นประสาทจากการฉีดยา เป็นภาวะที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะเส้นประสาทไซอะติก รายงาน
ฉบับนี้ นำเสนอผู้ป่วยที่เส้นประสาทไซอะติก ได้รับบาดเจ็บจากการฉีดยาไดโคลฟีแนกเข้ากล้าม
วิธีการและผลการศึกษา ผู้ป่วยชายอายุ 50 ปี มาพบแพทย์ด้วยอาการปวดหลังร้าวลงขา เขาได้รับการรักษา
ด้วยการฉีดยาไดโคลฟีแนกเข้ากล้ามที่บริเวณสะโพก 3 สัปดาห์ต่อมา เขามีอาการปวดแบบเดิมที่รุนแรงมาก
เขามาพบแพทย์อีกครั้งและได้รับการวินิจฉัยว่า มีก้อนไปกดทับเส้นประสาทไซอะติก และได้รับการผ่าตัดอย่าง
เร่งด่วน ซึ่งพบว่า ก้อนที่มากดนั้นเป็นก้อนเลือดขนาด 100 มิลลิลิตร อยู่ใต้ต่อชั้นกล้ามเนื้อบริเวณสะโพก โดยที่
ไม่ใช่ลักษณะของฝีหนอง และผลการเพาะเชื้อภายหลังยืนยันได้ผลลบ
อภิปราย ปัญหาความเจ็บปวดหลังการฉีดยาไดโคลฟีแนกเข้ากล้ามนั้น เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในทางคลินิก ซึ่งมี
รายงานทางการแพทย์มากมาย รายงานฉบับนี้ เป็นรายงานฉบับแรกๆ ที่แสดงว่า ก้อนเลือดที่เกิดหลังจากการ
ฉีดยาเข้ากล้าม ซึ่งอาจเกิดภายหลังการฉีดยา ทำให้เกิดการกดทับของเส้นประสาท เลียนแบบการบาดเจ็บที่พบ
ได้บ่อย คือการบาดเจ็บจากเข็มฉีดยาหรือตัวยาโดยตรง
สรุป ความเจ็บปวดหลังจากการฉีดยา ไดโคลฟีแนกเข้ากล้าม สามารถเกิดได้จากการบาดเจ็บโดยตรง หรือจาก
การที่มีก้อนเลือดมากดทับ ซึ่งก้อนเลือดนี้มาจากการบาดเจ็บของหลอดเลือดขนาดเล็กภายหลังการฉีดยา ซึ่ง
สามารถป้องกันได้ด้วยการเลือกตำแหน่งฉีดยาให้เหมาะสม รวมถึงการกดบริเวณที่ฉีดยาให้นานพอ

References

1. Mishra P, Stringer MD. Sciatic nerve injury
from intramuscular injection: A persistent
and global problem. Int Clin J Pract 2010; 64:
1573-9.

2. Ipp MM, Gold R, Goldbach M, Maresky
DC, Saunders N, Greenberg S, et al.
Adverse reactions to diphtheria, tetanus,
pertussis-polio vaccination at 18 months
of age: Affect of injection site and needle
length. Pediatrics 1989; 83: 679-82.

3. Ramthahai J, Ramlakhan S. Sciatic nerve
injury following intramuscular injection: a
case report and review of the literature. J
Neurosci Nurs 2006; 38: 238-40.

4. Jung Kim H, Hyun Park S. Sciatic nerve
injection injury. J Int Med Res 2014; 42:
887-97.

5. Ong MJ, Lim GH, Kei PL. Clinics in diagnostic
imaging (140). Iatrogenic sciatic nerve injury
secondary to intramuscular injection.
Singapore Med J 2012; 53: 551-4.

6. Yeremeyeva E, Kline DG, Kim DH. Iatrogenic
sciatic nerve injuries at buttock and thigh
levels: The Louisiana State University
experience review. Neurosurgery
2009; 65(suppl 4): A63-6.

7. Mackinnon SE, Hudson AR, Gentili F, Kline
DG, Hunter D. Peripheral nerve injection
injury with steroid agents. Plast Reconstr
Surg 1982; 69: 482-90.

8. Currin SS, Mirjalili SA, Meikle G, Stringer
MD. Revisiting the surface anatomy of
the sciatic nerve in the gluteal region. Clin
Anat 2015; 28: 144-9.

9. Cook IF, Murtagh J. Ventrogluteal area - A
suitable site for intramuscular vaccination
of infants and toddlers. Vaccine 2006; 24:
240-8.

10. Rodger MA, King L. Drawing up and
administering intramuscular injections: A
review of the literature. J Adv Nurs 2000; 31:
574-82.

11. Maqbool W, Sheikh S, Ahmed A. Clinical,
electrophysiological, and prognostic study
of postinjection sciatic nerve injury: an
avoidable cause of loss of limb in the
peripheral medical service. Ann Indian
Acad Neurol 2009; 12: 116-9.

12. Bhattacharjee S, Bannerjee TK, Bhattacharjee
AK, Ghosh I. Intramuscular injection: an
uncommon cause of ipsilateral foot drop.
Br J Hosp Med (Lond) 2013; 74:112-3.

13. Kline DG, Kim D, Midha R, Harsh C, Tiel R.
Management and results of sciatic nerve
injuries: A 24-year experience. J Neurosurg
1978; 89:13-23.

14. Gentili F, Hudson AR, Hunter D. Clinical and
experimental aspects of injection injuries
of peripheral nerves. Can J Neurol Sci
1980; 7: 143-51.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-27