ผลของการบันทึกการชั่งน้ำหนักประจำ สัปดาห์ที่มีผลต่อการลดน้ำหนักและการปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ที่เป็นโรคอ้วน
คำสำคัญ:
ผู้ที่เป็นโรคอ้วน, การบันทึกการชั่งน้ำหนักประจำสัปดาห์, การลดน้ำหนัก, โปรแกรมลดน้ำหนักบทคัดย่อ
บทนำ ทั่วโลกมีผู้ป่วยอย่างน้อย 2.8 ล้านคนต่อปี ที่ต้องมาเสียชีวิตจากโรคอ้วนหรือน้ำหนักเกิน อัตราการ
เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นตามดัชนีมวลกายที่เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่าโรคอ้วนเป็นปัญหาที่พบบ่อยและส่งผลเสีย
ระยะยาวต่อสุขภาพ การชั่งน้ำหนักเป็นประจำเป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ภายใต้ทฤษฎี
การจัดการตนเอง (self management) โดยมีจุดมุ่งหมายให้มีการเฝ้าติดตามดูตนเอง (self-monitoring) เห็น
การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนัก อันจะส่งผลต่อการสร้างแรงจูงใจภายในตนเอง เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและ
สามารถลดน้ำหนักได้ตามมา ดังนั้นงานวิจัยนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาผลการชั่งน้ำหนักประจำสัปดาห์ ที่มีผลต่อ
การลดน้ำหนักในคนอ้วน
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการบันทึกการชั่งน้ำหนักประจำสัปดาห์ ที่มีผลต่อการลดน้ำหนักและ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ที่เป็นโรคอ้วน
วิธีการศึกษา กลุ่มตัวอย่างแบ่งโดยวิธีสมัครใจแบบเจาะจงได้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลองจำนวน 28 คน และ
กลุ่มควบคุมจำนวน 29 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับความรู้และคำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมทั้งได้มี
การติดตามชั่งน้ำหนักประจำสัปดาห์โดยอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับโปรแกรมเหมือน
กับกลุ่มทดลอง แต่ไม่ได้มีการติดตามชั่งน้ำหนักทุกสัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square, Pair t-test และ Independent t-test
ผลการวิจัย ด้านความรู้ กลุ่มทดลองมีความรู้หลังทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(p-value = 0.004) ด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายหลังการทดลองนั้น กล่มุ ทดลองและ
กล่มุ ควบคุมมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายไม่แตกต่างกัน (p-value = 0.146, 0.438 ตาม
ลำดับ) ส่วนผลการลดน้ำหนักหลังการทดลองของทั้งสองกลุ่ม ลดลงไม่แตกต่างกัน (p-value = 0.85)
สรุป การชั่งหนักประจำสัปดาห์มีผลต่อการลดน้ำหนักไม่แตกต่างกับการชั่งน้ำหนักประจำเดือน
References
Identification , Evaluation , and Treatment of
Overweight and Obesity in Adults September
1998 No. 98-4083.
2. World Health Organization. Obesity and
overweight. [Internet]. Apr 6, 2008 Available
from: http://www.who.int/mediacentre/
factsheets/fs311/en/index.html
3. วิชัย เอกพลากร, บรรณาธิการ. รายงานการสำรวจ
สุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4
พ.ศ. 2551-2552: นนทบุรี: สำนักงานสำรวจสุขภาพ
ประชาชนไทย/ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข;
2553.
4. มนต์ชัย ชาลาประวรรตน์. การดูแลรักษาภาวะไข
มันในเลือดผิดปกติ. ตำราอายุรศาสตร์ 1: โรงพิมพ์
ยูนิตี้; 2539. p. 162-75.
5. WHO Expert Consultation. Appropriate
body-mass index for Asain population and
its implication for policy and intervention
strategies. Lancet. 2004; 363: 157-63.
6. วิชิต ศุเภเมธางกูร. การออกกำลังกายในภาวะอ้วน.
ธรรมศาสตร์เวชสาร. 2550; 7: 393-400.
7. Karoly P, Kanfer, F. H. . Self-Management and
Behavior Change: From Theory to Practice.
New York: Pergamon; 1982.
8. Welsh EM, Sherwood EN, VanWormer JJ,
Hotop AM, Jeffery RW. Is frequent selfweighing
associated with poorer body
satisfaction? Findings from a phone-based
weight loss trial. J Nutr Educ Behav. 2009;
41: 425–8.
9. VanWormer JJ, Linde JA, Harnack LJ, Stovitz
SD, Jeffery RW. Self-weighing Frequency
is Associated with Weight Gain Prevention
over Two Years among Working Adults. Int
J Behav Med. 2012; 19: 351–8.
10. Dori MS, Deborah FT, Gary GB, Susan
Ennett, Carmen SH et al. The efficacy of a
daily self-weighing weight loss intervention
using smart scales and email. NIH 2013;
21: 1789-97.
11. Heckerman CL, Browmell KD, Westlake RJ.
Self and external monitoring of weight.
Psychol Rep. 1978; 43: 375–8.
12. Jessica Gokee-LaRose, Amy AG and Wing RR.
Behavioral self-regulation for weight loss
in young adults: a randomized controlled
trial. Int J Behav Med. 2009; 6: 10.
13. Claire DM, Jolly Kate, Amanda LL, Paul
Auegard, Amanda JD. A randomised
controlled trial of the effectiveness of selfweighing
as a weight loss intervention. Int
J Behav Med. 2014; 11: 125.
14. เบญจมาศ สุรมิตรไมตรี, อำนาจ ค้ายาดี และคณะ.
ระบบการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพเพื่อปรับ
เปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงของกลุ่มปกติ/กลุ่มเสี่ยง/
กลุ่มป่วย โรคเบาหวาน
15. Butryn ML, Suzanne Phelan, James OH,
Wing RR. Consistent self-monitoring of
weight: a key component of successful
weight loss maintainance. In J Obes. 2007;
15.
16. Jolly Kate, Lewis Amanda, Beach Jane,
Amanda Deley, John Denley. Comparison
of range of commercial or primary care
led weight freduction programmes with
minimal intervention control for weight
loss in obesity: lighten up randomised
controlled trial. BMJ. 2011; 343: 1-16.
17. Bandura A. A self-efficacy: The Exercise of
Control. Freeman WH, editor. New York
1997.