ปัจจัยด้านความเครียดกับคุณภาพชีวิตของนิสิตแพทย์ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ปราจีนบุรี

ผู้แต่ง

  • วิทยา บุญเลิศเกิดไกร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี ประเทศไทย
  • ชาติชาย คล้ายสุบรรณ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี ประเทศไทย

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, นิสิตแพทย์, ปัจจัยด้านความเครียด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ ศึกษาปัจจัยด้านความเครียดกับคุณภาพชีวิตของนิสิตแพทย์ ชั้นปีที่ 4 และ 5 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษา
ชั้นคลินิก โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ปราจีนบุรี
วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางและใช้เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก
ชุดย่อ ฉบับภาษาไทย แบบตอบด้วยตนเอง (WHOQOL-BREF-THAI) สำรวจในนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4 และปีที่ 5
ทุกคน จำนวน 32 ราย เป็นเพศชาย 20 ราย และเพศหญิง 12 ราย ทั้งหมดสอบเข้าผ่านทางโครงการ CPIRD
และสถานภาพโสด
ผลการศึกษา นิสิตส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตโดยรวมในระดับปานกลาง (ร้อยละ 62.5) รองลงมามีคุณภาพชีวิตดี
(ร้อยละ 37.5) คุณภาพชีวิตไม่สัมพันธ์กับเพศ ปีที่ศึกษา ศาสนาที่นับถือ ภูมิลำเนา อายุ สำหรับปัจจัยความเครียด
โดยรวมมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตโดยรวม โดยปัจจัยความเครียดส่วนตัวมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตโดยรวม
ส่วนปัจจัยความเครียดด้านการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต
สรุป ปัจจัยความเครียดส่วนตัวมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต ดังนั้นควรมีการจัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุนทักษะ
การปรับตัวเข้ากับระบบการศึกษาและการค้นหาเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อีกทั้งควรทำการศึกษาเพื่อ
ค้นหาปัจจัยเพิ่มเติมที่สัมพันธ์และสนับสนุนให้นิสิตแพทย์มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงติดตามระดับคุณภาพชีวิต
อย่างต่อเนื่อง

References

1. Murphy B, Herrman H, Hawthorne G, Pinzone
T, Evert H. Australian WHOQoL instruments:
User’s manual and interpretation guide.
Melbourne, Australia: Australian WHOQoL
Field Study Centre; 2000.

2. วินิทรา นวลละออง. ความเครียดในนักศึกษาแพทย์
ชั้นคลินิก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ธรรมศาสตร์
เวชสาร. 2553; 10: 95-102.

3. สุกัญญา รักษ์ขจีกุล ธวัชชัย กฤษณะประกรกิจ.
การศึกษาภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาแพทย์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารสมาคมจิตแพทย์
แห่งประเทศไทย 2551; 53: 31-40.

4. วันเพ็ญ ธุรกิตต์วัณณการ. การสำรวจสุขภาพจิตของ
นิสิตแพทย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสาร
สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2540; 42: 88-99.

5. สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิต
ขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย
(WHOQOL–BREF–THAI). โครงการจัดทำโปรแกรม
สำเร็จรูปในการสำรวจสุขภาพจิตในพื้นที่ ปี พ.ศ.2545.

6. วินิทรา นวลละออง. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพ
ชีวิตของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1. วารสารสมาคม
จิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2555; 57: 225-34.

7. Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample
size for research activities. Educational and
psychological measurement. 1970; 30-608.

8. ชัยวัชร์ อภิวาทนสิริ, กฤติยา โสมะเกษตรินทร์,
กิตติศักดิ์ สุรประยูร, ไกรวุฒิ เลื่อมประเสริฐ, นุชวดี
วันแก้ว, ภากรณ์ หอมจำปา, และคณะ. ความเครียด
และการจัดการความเครียด ของนักศึกษาแพทย์ชั้น
คลินิก มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร
2550; 22: 416-24.

9. เธียรชัย งามทิพย์วัฒนา, สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์, มาลัย
เฉลิมชัยนุกูล. ความเครียดและรูปแบบการแก้ปัญหา
ของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 3 คณะแพทยศาสตร์
ศิริราชพยาบาล. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่ง
ประเทศไทย. 2543; 45: 59-69.

10. มุสิกา คำล่า. ผลของโปรแกรมนันทนาการ
เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตที่มีต่อนิสิตจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย [อินเทอร์เน็ต] [Thesis]. จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย; 2548 [อ้างถึง 28 สิงหาคม 2014].
สืบค้นจาก: http://cuir.car.chula.ac.th/
handle/123456789/7292.

11. Shiralkar MT, Harris TB, Eddins-Folensbee
FF, Coverdale JH. A systematic review of
stress-management programs for medical
students. Acad Psychiatry. 2013; 37: 158–64.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-19