รูปแบบการจัดการอาชีวอนามัยโดยการสร้างความมีส่วนร่วม ของโรงงานอุตสาหกรรมในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวอนามัยของโรงงานอุตสาหกรรมในเขตนิคมอุตสาหกรรม ภาคตะวันออก โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษา สภาพปัญหา 2) พัฒนารูปแบบการจัดการและปฏิบัติ 3) ประเมินผล กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 384 คน จากประชากร 85,487 คน ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังชลบุรี อมตะซิตี้ระยอง และเวลโกรว์ ฉะเชิงเทรา เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าที (t-test) และความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า พนักงานต้องการความมีส่วนร่วมในการจัดการอาชีวอนามัยมากที่สุด ในประเด็นปัญหาสำคัญ คือ การประเมินภาวะสุขภาพของพนักงาน ( = 4.76, SD = 0.54) ความต้องการและ การตอบสนองที่ได้รับด้านการประเมินภาวะสุขภาพมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดย กลุ่มพนักงานที่ยินดีเข้าร่วมโครงการ จำนวน 98 คน ได้ร่วมพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวอนามัย ดังนี้ 1) สำรวจ สภาพแวดล้อมในการทำงาน 2) สำรวจภาวะสุขภาพของพนักงาน 3) ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และ 4) การเกิด อุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บจากการทำงาน ผลประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้รูปแบบอยู่ในระดับมาก ( = 4.17, SD = 0.59) โดยพบว่า รูปแบบมีความเป็นไปได้ ( = 4.82, SD = 0.59) และรูปแบบมีความเหมาะสมมากที่สุด ( = 4.68, SD = 0.84)
References
of occupational diseases. Geneva: World
Health Organization; 1986: 207-40.
2. อดุลย์ บัณฑุกุล. ตำราอาชีวเวชศาสตร์. โรงพยาบาล
นพรัตนราชธานี. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลนพรัตราชธานี;
2542.
3. ณัฐริกา ซื่อมาก, รตน หิรัญ, ประภาพร แก้วสุกใส.
เอกสารการเรียนการสอน “รายวิชาอาชีวอนามัย
และความปลอดภัยในโรงงาน” วิชาอาชีวอนามัยและ
ความปลอดภัยในโรงงาน สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป.
กรุงเทพฯ: คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทร
วิโรฒ; 2540.
4. กุหลาบ รัตนสัจจธรรม. ตัวแปรการทำนายการป้องกัน
โรคและการส่งเสริมสุขภาพคนงานในโรงงานอุตสา-
หกรรมภาคตะวันออก.ชลบรี:คณะสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา; 2542.
5. Krejcie RV, Morgan DV. Small sample techniques.
The NEA Research Bulletin. 1960; 38: 99.
6. การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. แผนแม่บท
ยกระดับเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศนิคมอุตสาหกรรม
แหลมฉบัง.ชลบุรี:การนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง;
2554.
7. การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. แผนแม่บท
ยกระดับเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศนิคมอุตสาหกรรม
อมตะซิตี้. ระยอง: การนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้;
2555.
8. ชื่นกมล สุขดี, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, วันเพ็ญ
ทรงคำ. ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมปกป้องสุขภาพ
ของคนงานผลิตเครื่องเรือนไม้ในอุตสาหกรรมขนาด
กลางและขนาดย่อม. วารสารสภาการพยาบาล.2553;
25:121-39.
9. ดำรง ขันชาลี. การสำรวจสภาวะสุขภาพคนงาน
โรงงานเซรามิกส์ จังหวัดสระบุรี.วารสารควบคุมโรค.
2548; 31: 22-8.
10. พันธ์ทิพย์ รามสูตร. การวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม.
กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง; 2540.
11. Liang J, Whitelaw N. Assessing the physical
and mental health of the elderly. In the
seminar on research on ageing in Asia and
the Pacific. Singapore. 1987.
12. นริสรา พึ่งโพธิ์สภ, สุวาณี สุรเสียงสังข์, นวพรรณ
จารุรักษ์, เกื้อ วงศ์บุญสิน. สถานะสุขภาพของ
ผู้หญิงวัยทำงาน.การประชุมวิชาการประชากรศาสตร์
แห่งชาติ; 23-24 พฤศจิกายน 2549. โรงแรมเดอะ-
เทวินทาวเวอร์. กรุงเทพมหานคร: สมาคมนักประชากร
ไทย; 2549.
13. วิทยา เมฆขำ. การพัฒนารูปแบบการจัดการความ
ปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมการทำงาน
งานศิลปหัตถกรรมโลหะที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
กรุงรัตนโกสินทร์. วารสารศึกษาศาสตร์. 2551; 2:
33-44.