การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารทำ ความสะอาดบนพื้นห้องเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์

ผู้แต่ง

  • ดวงใจ จันทร์ต้น คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ ประเทศไทย
  • นันทวรรณ จินากุล
  • กานต์พิชชา นามจันทร์

คำสำคัญ:

สารทำความสะอาด, สารฆ่าเชื้อ, สารซักล้าง 0.5% Umonium38

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อของสารทำความสะอาดต่างชนิดกัน ในช่วงก่อน
และหลังการเข้าใช้ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์ของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วิธีการศึกษา สารทำความสะอาดที่ใช้ทดสอบ ได้แก่ ผงซักฟอกสูตรธรรมดา ผงซักฟอกสูตรเข้มข้น ผงซักฟอกผสม
นาโนซิลเวอร์ ผงซักฟอกสูตรยับยั้งแบคทีเรีย 1% Chloroxylenol 0.1% Chlorhexidine 0.2% Chlorhexidine
0.5% Umonium 38  และ น้ำประปา ทำการทดสอบโดยวิธี Swab นับผลการเจริญขึ้นของเชื้อจุลินทรีย์นำมาหา
ค่าทางสถิติความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)

ผลการศึกษา เมื่อใช้สารทำความสะอาดต่างชนิดกันในช่วงก่อน และหลังการเข้าใช้ห้องปฏิบัติการสามารถทำลาย
เชื้อจุลินทรีย์ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และเมื่อนำมาทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วย
วิธีของ Scheffe ผลวิเคราะห์ก่อนและหลังการเข้าใช้ห้องปฏิบัติการ พบว่า ผงซักฟอกสูตรธรรมดา ผงซักฟอกสูตร
เข้มข้น ผงซักฟอกผสมนาโนซิลเวอร์ ผงซักฟอกสูตรยับยั้งแบคทีเรีย 1% Chloroxylenol 0.1% Chlorhexidine
และ 0.2% Chlorhexidine สามารถทำลายเชื้อจุลินทรีย์ได้ไม่แตกต่างกัน ส่วน 0.5% Umonium38 มีความ
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนั้น 0.5% Umonium38 จึงมีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อ
ได้ดีที่สุด

สรุป สารฆ่าเชื้อ 0.5% Umonium38 เป็นสารที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดจึงควรกำหนดแนวปฏิบัติการใช้น้ำยาใน
ห้องปฏิบัติการให้เป็นแบบแผนในทิศทางเดียวกันในองค์กร

 

References

1. สุวัชร์ บัวแย้ม. สุขศาสตร์อุตสาหกรรม: การควบคุมหน่วยที่ 8 ห้องสะอาด. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2554.

2. กล่าวขวัญ ศรีสุข. หลักการและเทคนิคพื้นฐานการเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์; 2556.

3. สุภาภรณ์ ปิติพร. น้ำยาฆ่าเชื้อที่ใช้ในโรงพยาบาลโดยกลุ่มเภสัชกรภาคกลาง. ม.ป.พ; 2531.

4. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 78-2549. ผงซักฟอก. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: กระทรวงอุตสาหกรรม;2550.

5. อารัมภ์รัตน์ รัชดานุรักษ์. มาตรฐานผงซักฟอกกับการพัฒนาผงซักฟอก. สมอ สาร. 2548; 31: 6-7.

6. Nattamon Niyomdecha. Chlorhexidine Gluconate (CHG) : Antimicrobial activity and medical applications. Journal of the Medical Technologist Association of Thailand. 2015;43: 5113-26.

7. สำนักยา กระทรวงสาธารณสุข. บัญชียาหลักแห่งชาติ 5.6 Antiseptic (Chlorhexidine gluconate) [Internet]. [accessed June 22,2017]. Available from: https://drug.fda.moph.go.th:81/nlem.in.th/medicine/essential/list/102.

8. สำนักยา กระทรวงสาธารณสุข. บัญชียาหลักแห่งชาติ แผนปัจจุบัน. [Internet]. [accessedJune 22, 2017]. Available from: https://drug.fda.moph.go.th:81/nlem.in.th/search?keyword=chlorhexidine.

9. วรรณพร ศรีสุคนธรัตน์. สารต้านเชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข. นนทบุรี:สำนักงานอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข;2558.

10. Paolo Raffo, A.C. Salliez, Christian Collignon and Massimo Clementi. Antimicrobial activity of a formulation for the low temperature disinfection of critical and semi-critical medical equipment and surfaces. New Microbiologica. 2007; 30: 463-69.

11. เพ็ญนภา ศรีหริ่ง, กาญจนา สานุกูล, อวิรุทธิ์ สิงห์กุล และชุติมา วิจิตรานุวัตร. การผลิตยาปราศจากเชื้อและน้ำยาปราศจากเชื้อ. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี:โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก; 2554.

12. สำนักยา กระทรวงสาธารณสุข. Monitoring and Control of Clean room [Internet]. [accessed June 22, 2017]. Available from: https://drug.fda.moph.go.th/zone_gmp/files/sterile.pdf.

13. สุรสิทธิ์ วัชระสุขโพธิ์, กนกวรรณ ชัยนิรันดร์ และ กาญจนา นัยกิจ. การเปรียบเทียบประสิทธิภาพน้ำยาทำความสะอาดพื้น CHLOROXYLENOL กับ ผงซักฟอกในห้องผลิตยาฉีด โรงพยาบาลขอนแก่น.ขอนแก่นเวชสาร. 2539; 20: 1-12.

14. Laboratoire Huckert’s International. Innovation in Cold Disinfection. [Internet].[accessed October 04, 2017]. Available from: https://huckerts.net/en/umonium38/.

15. กัลยา เจือจันทร์, ขวัญเกศ กนิษฐานนท์, วราภรณ์ ศุกลพงศ์ และกิ่งกาญจน์ สาระชู. ประสิทธิภาพของน้ำยาฆ่าเชื้อ UMONIUN38 ต่อเชื้อไวรัสไข้หวัดนกและเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล. วารสารสัตวแพทยศาสตร์มข. 2553; 20: 62-70.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-03-08