การชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพ
คำสำคัญ:
การชี้บ่งอันตราย, ประเมินความเสี่ยงบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยงในห้องปฏิบัติการชีวภาพ สำหรับใช้เป็นแนวทางในการ
พัฒนาห้องปฏิบัติการปลอดภัยทางชีวภาพ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ศึกษาตามแนวทางเพื่อความ
ปลอดภัยทางชีวภาพ ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (COSHEM) มหาวิทยาลัยมหิดล
วิธีการศึกษา ทำการประเมินระดับความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการทางชีวภาพโดยใช้บัญชีรายชื่อเชื้อตามระดับ
ความเสี่ยง ดำเนินการสำรวจห้องปฏิบัติการเพื่อบ่งชี้อันตรายโดยวิธี Checklist และประเมินความเสี่ยงด้วยวิธี
What if analysis และจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง
ผลการศึกษา พบว่า ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อกาวน์ หน้ากากอนามัย ถุงมือ หรือชุดปฏิบัติการภายนอกห้องหรือ
บริเวณห้องปฏิบัติการ การควบคุมแมลงและหนูไม่มีประสิทธิภาพเป็นระดับความเสี่ยงระดับ 2 ก๊าซซึ่งอาจเป็น
อันตรายถูกใช้ในห้องที่มีการถ่ายเทอากาศไม่เพียงพอเป็นระดับความเสี่ยงระดับ 4 ไม่มีระบบทำความสะอาด
ห้องปฏิบัติการ เป็นระดับความเสี่ยงระดับ 3 ไม่มีคู่มือกำจัดขยะและคู่มือกำจัดสิ่งปนเปื้อนเป็นระดับความเสี่ยง
ระดับ 3 นำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ความเสี่ยงมาจัดทำแผนการควบคุมความเสี่ยงหากเกิดเพลิงไหม้จากการ
รั่วไหลของก๊าซอันตราย
สรุป ก๊าซซึ่งอาจเป็นอันตรายและถูกใช้ในห้องปฏิบัติการที่มีการถ่ายเทอากาศไม่เพียงพอจะมีความเสี่ยงสูงต่อ
ผู้ที่ใช้งานดังกล่าว จึงมีความจำเป็นที่ต้องดำเนินการแก้ไขและปรับปรุงเพื่อลดความเสี่ยงลง และสร้างวัฒนธรรม
ความปลอดภัยในองค์กร
References
2. ชลภัทร สุขเกษม, สุดา ลุยศิริโรจนกุล, สหพัฒน์บรัศว์รักษ์, วิทวัช วิริยะรัตน์. ความปลอดภัยและความมั่นคงทางชีวภาพ สำหรับห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และสัตวแพทย์. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสมัย (1999); 2555.
3. World Health Organization. Laboratory biosafety manual. 3rd edition. Geneva; 2004.
4. Us Department of Health and Human Services. Biosafety in Microbiological and Biomedical Laboratories. 5th edition. Public Health Service, Centers for Disease Control and Prevention and the National Institutes of Health; 2009.
5. ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล. แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. ปทุมธานี:ทองสุขพริ้นท์; 2555.
6. พิพัฒน์ ลักษมีจรัลกุล และเสาวลักษณ์ ลักษมีจรัลกุล. ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการและความปลอดภัยทางชีวภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: อิโมชั่น อาร์ต จำกัด; 2554.
7. พิพัฒน์ ลักษมีจรัลกุล. การประเมินความเสี่ยงทางจุลินทรีย์และการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:เจริญดีการพิมพ์; 2550.
8. เสน่ห์ แก้วนพรัตน์. จุลชีววิทยาทางเทคโนโลยีเภสัชกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1. สงขลา: ลิมบราเดอร์การพิมพ์ จำกัด; 2552.
9. ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล. แนวปฏิบัติอาชีวอนามัยและความปลอดภัย. พิมพ์ครั้งที่ 1.ปทุมธานี: ทองสุขพริ้นท์; 2555.
10. อะเคื้อ อุณหเลขกะ. หลักและแนวปฏิบัติในการทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อ. พิมพ์ครั้งที่ 3.เชียงใหม่: มิ่งเมืองนวรัตน์ จำกัด; 2556.
11. ศรีวรรณ สุขเจริญ, ประโชติ กราบกราน, ปิยาภัสร์ ชูแก้วงาม และอริศรา พงษ์เสดา. คู่มือการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานมูลฝอยติดเชื้อ หลักสูตรการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอยติดเชื้อ. นนทบุรี: สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม; ม.ป.ป..