ผลของโปรแกรมการส่งเสริมเจตคติต่อผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาลต่อพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุอย่างเอื้ออาทร

ผู้แต่ง

  • รจนาถ หอมดี สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพ 10110
  • กาญจนา ภัทราวิวัฒน์ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพ 10110
  • ฐาศุกร์ จันประเสริฐ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพ 10110

คำสำคัญ:

เจตคติ, พฤติกรรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทร, ผู้สูงอายุ, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง วัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมเจตคติต่อผู้สูงอายุกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติตามมาตรฐานของรายวิชาปฏิบัติการพยาบาล และ 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาลในกลุ่มทดลอง ระหว่างก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล ตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลตำรวจ วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ จำนวน 56 คน สุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการส่งเสริมเจตคติต่อผู้สูงอายุ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุอย่างเอื้ออาทร มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน อยู่ระหว่าง .67 - 1.00 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและสถิติอ้างอิง ได้แก่ Independent t-test และ Repeated Measure ANOVA

           ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาพยาบาลตำรวจกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมและระยะติดตามผลมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุอย่างเอื้ออาทรสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และภายในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุอย่างเอื้ออาทรแตกต่างกันตามช่วงเวลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเพิ่มมากที่สุดในระยะติดตามผล

           ดังนั้น โปรแกรมการส่งเสริมเจตคติต่อผู้สูงอายุสามารถนำไปพัฒนาพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรในนักศึกษาพยาบาล หรือผู้มีหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยเรื้อรัง เช่น ผู้ดูแลผู้สูงอายุใน Nursing Home ศูนย์ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เป็นต้น

Downloads

References

Celik, S. S., Kapucu, S., Tuna, Z., & Akkus, Y. (2017). Views and attitudes of nursing students towards ageing and older patients. Australian Journal of Advanced Nursing, 27(4), 24-30.

Ghimire, S., Shrestha, N., Callahan, K. E., Nath, D., Baral, B. K., Lethak, N., & Singh, D. R. (2019). Undergraduate nursing student’ knowledge of aging, attitudes toward and perception of working with older adults in Kathmandu Nepal. International Journal of Nursing Sciences, 6, 204-210.

Jang, I., Oh, D., & Kim, Y. S. (2019). Factors associated with nursing student’ willingness to care for older adults in Korea and the United States. International Journal of Nursing Sciences, 426-431.

Khamwan, A., Malathum, P., & Jianvitayakij, S. (2021). Factors predicting professional nurses’ caring behavior for older persons in a university hospital. Ramathibodi Nursing Journal, 27(1), 108-121.

Kosolchuenvijit, J. (2008). A development of the instructional model through integrating Buddhist concepts to nurture caring behaviors in nursing students (Doctor of education degree in research and development). Srinakarinwirot University, Bangkok.

Kumanjan, W., Kongkllo, K., Wattanasrisin, J., & Sukhumwang, K. (2017). Age friendly service in tambon health promoting hospital of Khuntalae, Suratthani province. Journal of the Ministry of Public Health, 27(Special Issue), 145-157.

Leethong-in, M., & Piyawattanapong, S. (2015). Predicting factors of age-friendly nursing care behavior by nursing students-nursing practice subject. Journal of Nursing and Health Care, 33(3), 70-79.

McGuire, W. J. (1985). Attitude and attitude change. In The handbook of social psychology (3rd ed.). New York, NY: Random House.

Nawsuwan, K., Singhasem, P., & Naksrisang, W. (2019). Essential competencies of registered nurses for the care of the elderly in an aging society. Nursing Journal of The Ministry of Public Health, 27(1), 1-12.

Summawong, K., Somanusorn, S., & Sumngern, C. (2017). Factors related to elder abuse from perspective of older adults and family member. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok, 33(1), 90-103.

Swanson, K. M. (1993). Nursing as informed caring for the well-being of others. The Journal of nursing Scholarship, 25(42), 352-357.

Wannakul, S. (2019). The study of age-friendly primary health care: Case study of primary care cluster, Ban Si Muat Klao sub district health promoting hospital, Mueang district, Lampang province. Journal of Health Sciences Scholarship, 6(2), 43-65.

Caring Elderly

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27

How to Cite

หอมดี ร. ., ภัทราวิวัฒน์ ก. ., & จันประเสริฐ ฐ. . (2023). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมเจตคติต่อผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาลต่อพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุอย่างเอื้ออาทร. วารสารพยาบาลตำรวจและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 15(2), 329–337. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/264554