ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับโมบายแอปพลิเคชันฉันชนะเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มเสี่ยง จังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • พลัฏฐ์ วัฒนา สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นนทบุรี
  • นภาเพ็ญ จันทขัมมา สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นนทบุรี
  • พรรณี ปานเทวัญ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก กรุงเทพฯ

คำสำคัญ:

การจัดการตนเอง, โมบายแอปพลิเคชัน, การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง, โรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ระดับความดันโลหิต และระดับโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ของกลุ่มทดลองก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับโมบายแอปพลิเคชันฉันชนะ และระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบหลังการใช้โปรแกรมฯ ตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองอายุ 35 - 70 ปี อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย จำนวน 76 คน เครื่องมือวิจัย คือ โปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับโมบายแอปพลิเคชันฉันชนะ แบบประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง (Thai CV risk score) รูปแบบแอปพลิเคชัน version 2016 และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหามีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .97 และค่าความเที่ยงโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .77 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบที Mann-Whitney U test และ Wilcoxon signed rank test

            ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าก่อนการทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าเฉลี่ยความดันโลหิต และค่าเฉลี่ยโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดต่ำกว่าก่อนการทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

            บุคลากรทางสุขภาพ ควรนำโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับโมบายแอปพลิเคชันฉันชนะ ไปใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่น ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาดูแลผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพและมุ่งเน้นผลลัพธ์ทางคลินิกที่เหมาะสมต่อไป

Downloads

References

Aekplakorn, W. (Ed.). (2016). Thai national health examination survey, NHES V. Bangkok: Aksorn graphic and design.

Best, J. W. (1997). Research in education (3rd ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Khamchata, L., Wattana, C., & Harnirattisai, T. (2017). The effects of a self-management program on self-management behaviors, waist circumference, blood sugar level, and cardiovascular disease risk among person with metabolic syndrome. Nursing Journal CMU, 44(3), 65-76.

Creer, T, L. (2000). Self-management of chronic illness. In Handbook of self-regulation. California, CA: Academic.

Division of Complementary and Alternative Medicine; Department of Thai Traditional and Alternative Medicine. (2021). DASH diet. Retrieved from https://thaicam.go.th

Division of Non Communicable Disease; Department of Disease Control. (2022). Non communicable disease data 2018-2020. Retrieved from http://thaincd.com/2016/

Hunsuwan, B. (2018). Effect of self-management program on hypertensive patients in Phetlakorn district health promoting hospital, Nongphai district, Phetchabun province (Master ofpublic health program). Naresuan University, Phitsanulok.

Komton, V. (2019). Stroke patients self-management: Application of empirical evidence, Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council, 31(1), 25-41.

Ministry of Public Health. (2021). Health data center (HDC). Retrieved fromhttp://hdc.ntwo.moph.go.th/hdc/main/index.php

Paz-Pacheco, E., Sandoval, M. A., Ardena, G. J. R., Paterno, E., Juban, N., Lanting-Ang, F. L., . . . Bongon, J. (2017). Effectiveness of a community-based diabetes self-management education (DSME) program in a rural agricultural setting. Primary Health Care Research, 18, 35-49. https://doi.org/10.1017/S1463423616000335

Ruamwong, N., Boonlue, O., Lekwong, S., & Soontronchi, S. (2020). An effect of the self-management program on health behaviors to decrease the CV risk score in patients with hypertension. Journal of The Police Nurse, 12(1), 128–137.

Sirimongkollertkul, N., Singmanee, C., Rattanawichai, T., & Pongleerat, S. (2020). The development of an application for monitoring diabetic patients in the community. Royal Thai Army Medical Journal, 73(3), 141-150.

Thai Hypertension Society. (2019). Thai guidelines on the treatment of hypertension. Chiangmai: Trickthink.

Vathesatogkit, P. (2016). Thai CV risk score application. Retrieved from https://med.mahidol.ac.th/cardio_vascular_risk/thai_cv_risk_score/

Wangtapan, K. (2019). Stroke prevention self-management program in patients with uncontrolled hypertension (Master of nursing science program, community nursing). Huachiew Chalermprakiet University, Bangkok.

Wankham, P., Wattana, C., & Khampalikit, S. (2015). The effects of a self-management program on hypertension controlling behaviors and mean arterial pressure among persons with hypertension. Nursing Journal, 42(1), 49-60.

World Stroke Organization. (2022). Global stroke fact sheet 2022. Retrieved from https://www.world-stroke.org

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

How to Cite

วัฒนา พ., จันทขัมมา น. ., & ปานเทวัญ พ. (2022). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับโมบายแอปพลิเคชันฉันชนะเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มเสี่ยง จังหวัดสุโขทัย. วารสารพยาบาลตำรวจและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 14(1), 92–104. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/policenurse/article/view/255631