ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในพระสงฆ์สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2

ผู้แต่ง

  • กรศศิ ชัยเดช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • โรจนี จินตนาวัฒน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พนิดา จันทโสภีพันธ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การจัดการตนเอง, พระสงฆ์สูงอายุ, โรคเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับการจัดการตนเองในพระสงฆ์สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นพระสงฆ์สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลสงฆ์แห่งหนึ่งในภาคเหนือ และโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 4 แห่ง รวมจำนวน 82 รูป เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพในพระสงฆ์สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีค่าความเชื่อมั่น .83 และแบบวัดการจัดการตนเองในพระสงฆ์สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ค่าความเชื่อมั่น .99 เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า พระสงฆ์สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวม และคะแนนเฉลี่ยการจัดการตนเองโดยรวม ในระดับปานกลาง (M = 40.54, SD = 5.06 และ M = 65.91, SD = 4.16 ตามลำดับ) และความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการจัดการตนเองในพระสงฆ์สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .483, p < .01)

จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรสุขภาพควรมีการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพของพระสงฆ์สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และส่งเสริมการจัดการตนเอง โดยเฉพาะการออกกำลังกายและการฉันภัตตาหารที่เหมาะสม

References

คณิศฉัตร์ วุฒิศักดิ์สกุล. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์ในเขตอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ, 24(1), 71–83.

จริยา นพเคราะห์, โรจนี จินตนาวัฒน์, และทศพร คำผลศิริ. (2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. พยาบาลสาร, 47(2), 251–261.

ชนัญญา ปัญจพล. (2558). การเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (ส่วนกลาง) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เบญจมาศ สุรมิตรไมตรี. (2556). การศึกษาความฉลาดทางสุขภาพ (Health Literacy) และสถานการณ์การดำเนินงานสร้างเสริมความฉลาดทางสุขภาพของคนไทย เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. สืบค้นจาก http://www.mfa.go.th/dvifa/contents/filemanager/files/nbt/nbt5/IS/IS5073.pdf

พระมหาสาทร ธมฺมาทโร, พระมหาวีรธิษณ์ วรินฺโท, กฤติยา ถ้ำทอง, พระมหาศุภวัฒน์ ฐานวุฑฺโฒ, และพระมหาราเชนทร์ เขมาสโภ. (2562). การอุปัฏฐากภิกษุอาพาธ: บทวิเคราะห์ในมิติพระพุทธศาสนา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(10), 4686–4696.

พระราชวรมุนี, พระมงคลวชิรากร, พระมงคลธรรมวิธาน, และวีระศักดิ์ พุทธาศรี. (บ.ก.). (2560). ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

พัชรี อ่างบุญตา, ลินจง โปธิบาล, และณัฐพงศ์ โฆษชุณหนันท์. (2555). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. พยาบาลสาร, 39(3), 93–104.

โรงพยาบาลสงฆ์ กรมการแพทย์. (2561). เผยพระสงฆ์อาพาธด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น. สืบค้นจาก https://www.hfocus.org/content/2018/05/15876

ลือรัตน์ อนุรัตน์พานิช, ปริญดา พีรธรรมานนท์, มนทยา สุนันทิวัฒน์, ภนิตา สรรพกิจภิญโญ, ภัณฑิลา สุภัทรศักดา, และศรัณย์ กอสนาน. (2561). ความแตกฉานทางสุขภาพของพระภิกษุสูงอายุในโรงพยาบาลสงฆ์. Veridian E-Journal Silpakorn University, 11(1), 2643–2656.

วรรณศิริ นิลเนตร. (2557). ความฉลาดทางสุขภาพของผู้สูงอายุไทยในชมรมผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัฒนพล ติ่งซุ่ยกุล บัวแก้ว, วารี กังใจ, และพรชัย จูลเมตต์. (2555). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการด้วยตนเองต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และค่าดัชนีมวลกายของพระภิกษุสูงอายุที่มีภาวะอ้วน. วารสารสภาการพยาบาล, 27(1), 92–108.

วินัย ไตรนาทถวัลย์, วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์, และดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความแตกฉานด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 13(2), 41–51.

สุทธินันท์ แก่นจันทร์. (2562). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในพระสงฆ์สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อามานี แดมะยุ, ศิริรัตน์ ปานอุทัย, และพนิดา จันทโสภีพันธ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในผู้สูงอายุไทยมุสลิมที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. วารสารสภาการพยาบาล, 35(3), 87–107.

Amarya, S., Singh, K., & Sabharwal, M. (2018). Ageing process and physiological changes. Retrieved from www.researchgate.net/publication/326215802_Ageing_Process_and_Physiological_Changes

Ishikawa, H., Takeuchi, T., & Yano, E. (2008). Measuring functional, communicative, and critical health literacy among diabetic patients. Diabetes Care, 31(5), 874–879. doi:10.2337/dc07-1932

Kanan, P., Piaseu, N., Malathum, P., & Belza, B. (2019). Predictors of diabetes self-management in older adults with poorly controlled type 2 diabetes mellitus. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 23(4), 357–367. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/PRIJNR/article/view/158994/150340

Lee, P. G., & Halter, J. B. (2017). The pathophysiology of hyperglycemia in older adults: Clinical considerations. Diabetes Care, 40(4), 444–452. doi:10.2337/dc16–1732

Lorig, K. R., & Holman, H. R. (2003). Self-management education: History, definition, outcome, and mechanisms. Annals of Behavioral Medicine, 26(1), 1–7. doi:10.1207/S15324796ABM2601_01

Nutbeam, D. (2000). Health literacy as a public health goal: A challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International, 15(3), 259–267. doi:10.1093/heapro/15.3.259

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29

How to Cite

ชัยเดช ก., จินตนาวัฒน์ โ., & จันทโสภีพันธ์ พ. (2022). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในพระสงฆ์สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 33(2), 40–52. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pnc/article/view/258801

ฉบับ

บท

รายงานการวิจัย (Research Report)