Publication Ethics

บทบาทและหน้าที่ของผู้เขียน
    1. ผู้เขียนต้องส่งเฉพาะบทความใหม่ที่ยังไม่เคยลงตีพิมพ์หรือกำลังรอตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ
    2. ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความที่ส่งมาลงตีพิมพ์ ต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินการผลิตผลงานนั้น ๆ จริง
    3. ผู้เขียนต้องเขียนรายงานการวิจัยในหัวข้อต่าง ๆ โดยมีหลักฐานรองรับ เขียนตามความเป็นจริง
ไม่บิดเบือนข้อมูล เช่น การเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัย ส่วนบทความวิชาการ ผู้เขียนต้องเขียนบนพื้นฐานขององค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง
    4. ผู้เขียนต้องจัดทำบทความที่ส่งมาลงตีพิมพ์โดยไม่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา เช่น ไม่คัดลอกผลงานผู้อื่น ไม่นำผลงานผู้อื่นมาเป็นของตน หากมีการนำผลงานผู้อื่นมาใช้ เช่น นำข้อความมาประกอบการอภิปรายผลการวิจัย ต้องมีการอ้างอิงอย่างถูกต้องและเหมาะสม
    5. ผู้เขียนต้องจัดเตรียมต้นฉบับบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้เขียน” เช่น เนื้อหาต่าง ๆ ข้อมูลในตาราง เอกสารอ้างอิงแต่ละรายการ
    6. ผู้เขียนต้องให้ความร่วมมือกับกองบรรณาธิการในการดำเนินการเพื่อการลงตีพิมพ์ทุกขั้นตอน
    7. ผู้เขียนต้องชี้แจงเหตุผลแก่บรรณาธิการกรณีมีความคิดเห็นแตกต่างจากผลการตัดสินใจของบรรณาธิการ หากไม่ชี้แจง ต้องยอมรับการตัดสินใจของบรรณาธิการ

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ
    1. บรรณาธิการต้องพิจารณาคุณภาพของบทความที่ส่งมาลงตีพิมพ์ในวารสารอย่างรอบคอบ บนพื้นฐานขององค์ความรู้ที่ถูกต้อง มีคุณค่า และทันสมัย โดยปราศจากอคติ
    2. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน/ส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียน ผู้ประเมิน และผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งไม่นำบทความไปเป็นส่วนหนึ่งของผลงานตนเอง หรือนำไปใช้ในเชิงธุรกิจ
    3. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนและผู้ประเมินแก่บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงเวลาของการประเมินบทความ รวมทั้งปกป้องข้อมูลของบุคคล/สถาบัน เช่น ข้อมูลผู้ป่วย ภาพถ่ายกลุ่มตัวอย่าง ยกเว้นกรณีได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร
    4. บรรณาธิการต้องตรวจสอบบทความที่ส่งมาลงตีพิมพ์ในประเด็นการคัดลอกผลงานผู้อื่น โดยใช้โปรแกรมหรือเครื่องมือที่เชื่อถือได้ เช่น CopyCatch หากตรวจพบว่าผู้เขียนมีการคัดลอกผลงานผู้อื่น บรรณาธิการต้องขอคำชี้แจงจากผู้เขียน เพื่อประกอบการตอบรับหรือปฏิเสธการลงตีพิมพ์บทความ
    5. บรรณาธิการต้องชี้แจงผลการตัดสินบทความแก่ผู้เขียนโดยใช้หลักเหตุผล และเปิดโอกาสให้ผู้เขียนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการตัดสินของบรรณาธิการ
    6. บรรณาธิการต้องตัดสินใจเลือกบทความมาลงตีพิมพ์ หลังจากบทความผ่านกระบวนการประเมินแล้ว โดยใช้เหตุผลทางวิชาการร่วมด้วย
    7. บรรณาธิการต้องไม่ปฏิเสธการลงตีพิมพ์บทความเพียงเพราะความสงสัยหรือไม่แน่ใจ โดยต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์ก่อนการตัดสินใจ
    8. บรรณาธิการต้องเป็นกัลยาณมิตรกับผู้เขียน มีความเมตตา ตรงต่อเวลา ยืดหยุ่นในกรณีจำเป็น รวมทั้งช่วยให้ผู้เขียนได้เรียนรู้และมีเจตคติทางบวกต่อการลงตีพิมพ์บทความในวารสาร
    9. บรรณาธิการต้องรักษามาตรฐานจริยธรรมในการพิจารณาบทความเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสาร และมีการพัฒนาคุณภาพวารสารอย่างต่อเนื่อง

บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมิน
    1. ผู้ประเมินต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความแก่บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงเวลาของการประเมินบทความ
    2. ผู้ประเมินต้องไม่แสวงหาประโยชน์จากบทความของผู้เขียน เช่น นำไปเป็นส่วนหนึ่งของผลงานตนเอง หรือนำไปใช้ในเชิงธุรกิจ
    3. หากผู้ประเมินตระหนักว่าตนเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อน/ส่วนได้ส่วนเสีย หรือมีอคติต่อบทความที่บรรณาธิการส่งให้ประเมิน ซึ่งทำให้ไม่สามารถประเมินได้อย่างอิสระ ผู้ประเมินควรชี้แจงเหตุผลแก่บรรณาธิการ และปฏิเสธการประเมินบทความนั้น
    4. ผู้ประเมินควรตอบรับการประเมินบทความในสาขาที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญ เพื่อความลุ่มลึกในการประเมินและเป็นประโยชน์ทางวิชาการ
    5. ผู้ประเมินต้องประเมินบทความโดยใช้องค์ความรู้และเหตุผลทางวิชาการ และไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัวเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความ
    6. ผู้ประเมินควรระบุข้อมูลที่สำคัญและสอดคล้องเข้าไปในบทความที่กำลังประเมิน หากผู้เขียนไม่ได้กล่าวถึงข้อมูลนั้น ๆ รวมถึงเสนอแนะแหล่งข้อมูล เพื่อให้ผู้เขียนค้นคว้าและนำมาปรับปรุงบทความ
    7. หากตรวจพบว่าผู้เขียนมีการละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา เช่น คัดลอกผลงานผู้อื่น ควรรีบแจ้งบรรณาธิการ

จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
    รายงานการวิจัยที่จะลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี เป็นการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นมนุษย์ ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารเห็นความสำคัญของความเป็นมนุษย์ จึงรับรายงานการวิจัยที่โครงร่างวิจัยผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ซึ่งจะได้รับการพิจารณาตามหลักความเคารพในบุคคล (Respect for person) หลักคุณประโยชน์ ไม่ก่ออันตราย (Beneficence) และหลักความยุติธรรม (Justice)

แนวทางการดำเนินการเมื่อพบปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา
    1. กรณีพบปัญหาในขั้นตอนการส่งบทความเข้ามาในระบบวารสารออนไลน์ หากผลการตรวจสอบบทความด้วย CopyCatch พบความซ้ำซ้อนเกิน 20% แต่ไม่เกิน 30% บรรณาธิการแจ้งผู้เขียนเพื่อขอคำชี้แจง และให้ปรับปรุงบทความ หากพบความซ้ำซ้อนเกิน 30% บรรณาธิการระงับบทความ และแจ้งผู้เขียนเพื่อขอคำชี้แจง
    2. กรณีพบปัญหาในขั้นตอนการพิจารณาโดยผู้ประเมิน เมื่อผู้ประเมินแจ้งปัญหา บรรณาธิการแจ้งผู้เขียนเพื่อขอคำชี้แจง และให้ปรับปรุงบทความ หากยังพบปัญหาอีก บรรณาธิการแจ้งผู้เขียน
กองบรรณาธิการถอนบทความ และตัดสิทธิ์การส่งบทความมาลงตีพิมพ์เป็นเวลา 2 ปี
    3. กรณีพบปัญหาภายหลังการเผยแพร่บทความในระบบออนไลน์ บรรณาธิการแจ้งผู้เขียน
กองบรรณาธิการถอนบทความ และตัดสิทธิ์การส่งบทความมาลงตีพิมพ์เป็นเวลา 2 ปี