ผลของโปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อความรู้และการปฏิบัติในการประเมินภาวะแทรกซ้อนที่เท้าจากโรคเบาหวานในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ผู้แต่ง

  • พิมพ์พิชชา รักษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ศิวพร อึ้งวัฒนา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • เดชา ทำดี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การเรียนรู้เชิงประสบการณ์, การประเมินภาวะแทรกซ้อนที่เท้าจากโรคเบาหวาน, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อความรู้และการปฏิบัติในการประเมินภาวะแทรกซ้อนที่เท้าจากโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 36 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 18 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน แบบสอบถามความรู้ในการประเมินภาวะแทรกซ้อนที่เท้าจากโรคเบาหวานในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีค่าความเชื่อมั่น .78 และแบบสังเกตการปฏิบัติในการประเมินภาวะแทรกซ้อนที่เท้าจากโรคเบาหวานในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีค่าความเชื่อมั่น .83 ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test และ independent t-test

ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการประเมินภาวะแทรกซ้อนที่เท้าจากโรคเบาหวานสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 5.420, p < .001 และ t = 5.090, p < .001 ตามลำดับ) และ 2) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติในการประเมินภาวะแทรกซ้อนที่เท้าจากโรคเบาหวานสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 6.430, p < .001 และ t = 4.370, p < .001 ตามลำดับ)

จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลชุมชนควรนำโปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ไปใช้ในการพัฒนาความรู้และการปฏิบัติในการประเมินภาวะแทรกซ้อนที่เท้าจากโรคเบาหวานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เท้าในผู้ที่เป็นเบาหวาน

References

จิรปรียา บุญสงค์, จีระศักดิ์ เจริญพันธ์, และจิราพร วรวงศ์. (2559). ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางเท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงขวาง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น, 23(2), 46–59.

ชยพล ศิรินิยมชัย. (2561). การจัดการแผลเท้าเบาหวาน: บทบาทของพยาบาล. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ, 24(1), 1–14.

ชยพล ศิรินิยมชัย, ณัฏฐนิช บุญหนัก, ศรีพรรณ ศรีวงศ์วรรณ, และพิชยา วรรณชัย. (2562). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งโดยชุมชนเป็นฐาน เพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ที่มีภาวะเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม ตำบลสันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 12(1), 14–32.

ตวงพร กตัญญุตานนท์, อมลวรรณ อนุการ, เบญจมาศ โนวัฒน์, ทศนีย์ คงคล้าย, ศรีจิตรา อินสว่าง, วชิราภรณ์ บรรหาร, และปิยาภรณ์ เวชการ. (2561). การปฏิบัติงานเกี่ยวกับโรคเบาหวานตามบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มฉก.วิชาการ, 21(42), 1–12.

นิดา มีทิพย์, เดชา ทำดี, และประพิมพ์ พุทธิรักษ์กุล. (2559). ผลของการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อความรู้และการปฏิบัติการคัดกรองและการให้คำแนะนำโรคความดันโลหิตสูงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. พยาบาลสาร, 43(พิเศษ), 104–115.

วิชัย เอกพลากร. (บ.ก.). (2553). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551–2. นนทบุรี: เดอะ กราฟิโก ซิสเต็มส์.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2557). คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2558 เล่มที่ 4: การบริหารงบบริการควบคุมป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง (บริการควบคุมป้องกันและรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง). นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2560). แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560–2564). กรุงเทพฯ: อิโมชั่น อาร์ต.

สุประภา ยะรังษี. (2560). ผลของโปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อความรู้และทักษะงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์อาหารของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง (งานวิจัยปริญญาบัณฑิต). วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง.

อัจฉรา สุวรรณนาคินทร์. (2559). คู่มือการพยาบาลการดูแลเท้าเพื่อป้องกันการเกิดแผลในผู้เป็นเบาหวาน. กรุงเทพฯ: ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช.

Burns, N., & Grove, S. K. (2009). The practice of nursing research: Appraisal, synthesis, and generation of evidence (6th ed.). St. Louis, MO: Saunders Elsevier.

Kolb, D. A. (1984). Experiential learning: Experience as the source of learning and development. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Polit, D. F., & Hungler, B. P. (1999). Nursing research: Principles and methods (6th ed.). Philadelphia: Lippincott.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29

How to Cite

รักษา พ., อึ้งวัฒนา ศ., & ทำดี เ. (2022). ผลของโปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อความรู้และการปฏิบัติในการประเมินภาวะแทรกซ้อนที่เท้าจากโรคเบาหวานในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 33(2), 233–245. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pnc/article/view/258575

ฉบับ

บท

รายงานการวิจัย (Research Report)