The ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนเพื่อลดอาการปวดหลังส่วนล่าง ของพนักงานกลุ่มสำนักงาน โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง เขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ปวดหลังส่วนล่างบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) โดยศึกษาแบบการทดลองเป็นสองกลุ่มวัดผลก่อน-หลังการทดลอง (Two group Pre test-Post test Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการป้องกันอาการปวดหลังส่วนล่าง ต่อพฤติกรรมการป้องกันอาการปวดหลังส่วนล่าง ระดับอาการปวดหลังส่วนล่าง ระดับความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหลังและระดับความเสี่ยงทางการยศาสตร์ ของพนักงานกลุ่มสำนักงาน โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง เขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานกลุ่มสำนักงาน ในโรงพยาบาลเอกชน จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 30 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจงที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง โดยกลุ่มทดลอง เข้าร่วมโปรแกรมเป็นเวลา 4 สัปดาห์ เป็นการจัดกิจกรรมกลุ่ม 2 ครั้ง ประกอบด้วยกิจกรรมการให้ความรู้เรื่องอาการปวดหลังส่วนล่าง การยศาสตร์กับการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ การจัดสถานีงาน และ กิจกรรมการฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายกล้ามเนื้อหลังที่ถูกต้องและกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมินความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและแบบประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ Rapid Office Strain Assessment (ROSA) วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Wilcoxon signed rank test และ Mann Witney U test
ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการลดอาการปวดหลังส่วนล่าง พฤติกรรมการป้องกันอาการปวดหลังส่วนล่าง และ ระดับความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหลัง สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) แต่ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยระดับอาการปวดหลังส่วนล่างและระดับความเสี่ยงทางการยศาสตร์ ไม่แตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบ จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนเพื่อป้องกันอาการปวดหลังส่วนล่าง มีประสิทธิผลสามารถทำให้ผู้ป่วยที่มีภาวะปวดหลังส่วนล่างมีพฤติกรรมในการดูแลตัวเองดีขึ้น สามารถนำโปรแกรมไปประยุกต์ใช้กับลักษณะงานที่คล้ายคลึงกันได้
คำสำคัญ ปวดหลังส่วนล่าง/พนักงานกลุ่มสำนักงาน/โปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน/ความยืดหยุ่นกล้ามเนื้อหลัง/ความเสี่ยงทางการยศาสาตร์
References
Farideh S, David C, Georgia N, Samaneh H . Predictors of low back pain in a longitudinalstudy of Iranian nurses and office workers. J Europe PMC. 2015; 51(2) : 239-244.
Laxmaiah M, Vijay S, Frank J , Ramsin M B, Joshua A H. Epidemiology of low back pain in adults. JINS. 2014; 17 (2) :3-10.
Department of Labor Protection and Welfare. The Importance of ergonomics [Internet].2019 [cited 2019 May 2]. Available from https://www.labour.go.th/index.php.
Thiphanan T, Phattharapan B, Wiphada S, Nithipong S, Kingkaew S, Eakpop J, et al. Factors Affected to Muscle Pain among Electronics Industries Industries Workers in Klongluang District Pathumthani Province. JEAU Heritage. 2019; 13(2):254-266. (in Thai)
Narkorn P, Somsamorn R, Komon B, Anupong S. The physical symtoms that occur from using computer of supporting staffs of Nakhon Phanom University. JSWU. 2014; 6(12): 26-38. (in Thai)
Wilawan C, Chawapornpan C, Thanee K. Ergonomic Factors and Prevalence Rate of Musculoskeletal Pain Among Workers in Semiconductor Industry in the Northern Region Industrial Estate. [Master’s thesis in Occupational Health Nursing program]. Chaing Mai, Chaing Mai University, 2006.
Usanee Fongsri. The effect of a self-empowerment program for the prevention of low back pain for patient transporters Siriraj Hospital. [Master’s thesis in Occupational Health Nursing program]. Nakhon Pathom, Mahidol University, 2006.
Sangsaikaew, A., Korcharoenyos, C., Donprapeng, B., & Sirisawat, M. The effects of promoting physical activity in daily life program on pain and disability in patients with non–specific low back pain. JPSU. 2019; 39(1), 93-104. (in Thai)
Burns, N. A.,Grove, S. K. Study guide for the practice of nursing research: Conduct, critique,and utilization. Open Access Library Journal. 2005; 3(10).
Bandura, A. Self-Efficacy: Toward unifying theory of behavioral change. Phychological Review. 1977b; 84(2): 191-215.
Anuda T, Warisara B. Effects of Ergonomics Health Promotion Program for behavioral modification to reduce the risk of work-related musculoskeletal disorders among the work of employees in an establishment Nongkhai. Journal of Environmental and Community Health. 2021; 6(3):38-44. (in Thai)
Piyaporn P, Weeraporn S, Thanee K. Effects of Ergonomic Intervention on Muscle Flexibility and Back Pain of Wood Carvers. Nursing Journal CMU. 2017; 44(3):77-89. (in Thai)
Maytinee K, Sunisa C. Ergonomic Risk Assessment in University Office Workers. Journal of KKU. 2014; 19(5):696-707. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สมาคมพยาบาลสาธารณสุขไทยฯ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์และแผนภูมิรูปภาพถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาธารณสุข (Thai Public Health Nurses Association)