ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่ปฏิบัติการบินในระหว่างการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด – 19

ผู้แต่ง

  • Rajcharit Komonsuk -

คำสำคัญ:

คุณภาพการนอนหลับ/ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน/ COVID – 19/ พยาบาลอาชีวอนามัย

บทคัดย่อ

คุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดีส่งผลเสียต่อร่างกาย รูปแบบการวิจัยนี้เป็นการวิจัย เชิงวิเคราะห์ แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับในพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ที่ปฏิบัติงานสายการบินระหว่างประเทศในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด – 19 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 140 ราย ได้จากการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามผ่าน QR - Code ในระบบ Google form ด้วยตนเอง วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยศึกษากับคุณภาพการนอนหลับ ด้วยสถิติวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกเชิงพหุ

ผลการวิจัยพบว่า พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินมีคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี ร้อยละ 36.7 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี ได้แก่ ภาวะเครียด (ORadj = 4.138; 95% CI = 1.704-10.050; p-value = .002) พฤติกรรมการใช้ยาหรือวิตามินเพื่อช่วยในการนอนหลับ (ORadj = 5.646; 95% CI = 1.018-31.315; p-value = .048) และระยะเวลาการเลิกใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และสื่อสังคมออนไลน์ก่อนการเข้านอน (ORadj = 2.820; 95% CI = 1.210-6.571; p-value = .016)

ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา สายการบินควรมีนโยบายการจัดการและการสนับสนุนในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพด้านจิตใจ ได้แก่ การคัดกรองความเครียด การให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตและปัญหาการนอนหลับ รวมทั้งการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับและการใช้สื่อออนไลน์ เพื่อลดปัญหาคุณภาพการนอนหลับไม่ดีในพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-02

How to Cite

Komonsuk, R. (2023). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่ปฏิบัติการบินในระหว่างการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด – 19. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 37(1), 34–51. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/263798